เกาะติดกระแสทรัมป์กับโลกมุสลิม จากนโยบายสู่การปฏิบัติ ตอนที่ 5 :
ตุลาการภิวัฒน์ฉบับอเมริกา
“วันนี้รัฐธรรมนูญชนะ...ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย แม้แต่ประธานาธิบดี”
ดร.มาโนชญ์ อารีย์
โครงการศึกษาอิสลามการเมืองและโลกมุสลิม ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เกาะติดกระแสทรัมป์กับโลกมุสลิม จากนโยบายสู่การปฏิบัติ ตอนที่ 5 : ตุลาการภิวัฒน์ฉบับอเมริกา
“วันนี้รัฐธรรมนูญชนะ...ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย แม้แต่ประธานาธิบดี”
หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้อำนาจฝ่ายบริหารห้ามพลเมือง 7 ประเทศมุสลิมและผู้ลี้ภัยเข้าสหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม จนนำไปสู่ปัญหาการชุมนุมประท้วง ต่อต้าน และสร้างโกลาหลตามสนามิบนต่าง ๆ ทั่วประเทศจากปัญหาผู้โดยสารตกค้างและอื่น ๆ
ในที่สุดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ผู้พิพากษาเจมส์ โรบาร์ต แห่งศาลรัฐวอชิงตัน ได้สั่งระงับคำสั่งพิเศษของทรัมป์ เป็นการคุ้มครองชั่วคราว โดยมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ เท่ากับว่าพลเมืองของทั้ง 7 ประเทศที่ถูกแบนสามารถเดินทางเข้าออกสหรัฐได้ตามปกติหากในรับอนุมัติวีซ่าอย่างถูกกฎหมาย ฝ่ายบริหารของทรัมป์อาจมองว่าเป็นการแข็งข้อหรือฝ่ายตุลาการกำลังงัดข้อกับฝ่ายบริหาร แต่สำหรับกลุ่มที่คัดค้านคำสั่งของทรัมป์มองว่ากลไกการตรวจสอบถ่วงดุลของประเทศยังใช้งานได้และยังเป็นที่พึงของประชาชน ที่สำคัญคืออาจกล่าวได้ว่าเป็นตุลาการภิวัฒน์รูปแบบหนึ่งที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นมากนักในอเมริกา
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารอาจเดินหน้านโยบายนี้ได้ต่อไปในระหว่างยื่นอุธรณ์
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาอาจมีคำสั่งคุ้มครองในลักษณะนี้เกิดขึ้นในบ้างรัฐที่มีการยื่นฟ้อง แต่ความแตกต่างของคำสั่งศาลวอชิงตันคือมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ
คำสั่งศาลเป็นผลมาจากการยื่นคำร้องให้ศาลพิจารณา โดยอัยการสูงสุดของรัฐวอชิงตัน บ๊อบ เฟอร์กูสัน ที่เห็นว่าคำสั่งของประธานาธิบดีขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นการกีดกันพลเมืองด้วยเหตุแห่งการนับถือศาสนา หลังศาลมีคำสั่งระงับออกมา นายเฟอร์กูสัน กล่าวด้วยความยินดีจนเป็นวลีโด่งดังไปทั่วว่า “วันนี้รัฐธรรมนูญชนะ.. ไม่มีใครมีอำนาจเหนือกฎหมาย แม้แต่ประธานาธิบดี”
อย่างไรก็ตาม ในทางทางกฎหมายถือว่ายังไม่สิ้นสุดและฝ่ายบริหารเองก็เดินหน้าอุธรณ์คำสั่งต่อไป ซึ่งหมายความว่าในระหว่างอุธรณ์ก็เดินหน้านโยบายนี้ได้ แต่ในขณะเดียวกันผลจากคำสั่งคุ้มครองของศาลก็ทำให้สำนักงานศุลกากรและป้องกันชายแดน แจ้งสายการบินต่าง ๆ แล้วว่าสามารถนำนักเดินทางที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งห้ามนี้และเป็นผู้ที่มีเอกสารเข้าเมืองถูกกฎหมายเดินทางเข้าสหรัฐได้ ซึ่งหลายสายการบินก็ตอบรับและเปิดรับผู้โดยสารที่มีเอกสารถูกต้องตามเดิมแล้ว
คำสั่งศาลถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับทีมบริหารของทรัมป์ ที่ต่อไปนี้คงใช้อำนาจฝ่ายบริหารออกคำสั่งได้ไม่เต็มทีอีกแล้วหากไม่รอบคอบหรือในประเด็นที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง
ทีมบริหารของทรัมป์โดยเฉพาะกระทรวงยุติธรรม ยังพยายามยืนยันว่าคำสั่งของทรัมป์นั้นชอบด้วยกฎหมายและเหมาะสม เป็นไปเพื่อปกป้องมาตุภูมิ แม้กระทั้งโยงไปถึงเรื่องเหตุการณ์ 9/11 ยิ่งไปกว่านั้นโฆษกทำเนียบขาวยังได้ใช้คำรุนแรงตอบโต้คำสั่งศาลที่มาระงับคำสั่งของฝ่ายบริหารว่า “บังอาจ” (ต่อมาได้ตัดคำนี้ออกไปจากคำแถลงการณ์) ส่วนประธานาธิบดีทรัมป์ สวนกลับสั้น ๆ ว่า “เหลวไหลสิ้นดี โดยเขาบอกว่าจะเดินหน้าทำให้คำสั่งของเขากลับมามีผลบังคับใช้ให้ได้”
ไม่ว่าคำสั่งทรัมป์หรือคำสั่งศาลจะลงเอยในลักษณะใด คำสั่งแบนอาจถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง หรืออาจมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียด หรืออาจตกไป แต่ก็ทำให้เห็นถึงความเป็นไปของสถานการณ์ทางการเมืองและการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่านตุลาการกับฝ่ายบริหารของทรัมป์ได้บ้าง และสามารถสรุปเป็นข้อสังเกต ได้อย่างน้อย 3 ประการ
1) ไม่ว่าคำสั่งนี้จะมีผลหรือเป็นหมั้น แต่อย่างน้อยทรัมป์ก็มีคำตอบให้มวลชนที่เลือกหรือสนับสนุนเขาด้วยเหตุผลที่มาจากการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องการห้ามมุสลิมเข้าประเทศแล้ว ถ้าห้ามได้ก็กลายเป็นเครดิตความน่าเชื่อถือ เป็นผลงานที่สำคัญ แต่ถ้าคำสั่งตกไปทรัมป์ก็อาจจะบอกว่า เขาได้ทำตามสัญญาแล้ว แต่มันมีอุปสรรค รอยเตอร์ทำการสำรวจความคิดเห็นคนอเมริกันหลังคำสั่งมีผลบังคับใช้ในช่วงแรก ๆ ปรากฏว่า ประชาชนกว่าร้อยละ 49 เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยรอยละ 41 และสำรวจในกลุ่มผู้สนับสนุนพรรครีลิกัน พบว่า เห็นด้วยร้อยละ 51 ส่วนฝ่ายที่สนับสนุนเดโมแครตไม่เห็นด้วยร้อยละ 53 ดังนั้น ในแง่คะแนนนิยมน่าจะเป็นผลดีต่อทรัมป์
2) ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากทำให้เกิดการประท้วง ชุมนุมต่อต้านและคัดค้านในรูปแบบต่าง ๆ แล้ว ยังทำให้เห็นถึงการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ อย่างเข้มข้นตั้งแต่เริ่มต้นการทำงานในฐานะประธานาธิบดีของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ฝ่ายบริหารของทรัมป์ที่มีแนวคิดชาตินิยมขวาจัดอาจต้องคิดหนักเมื่อเจอโจทย์ใหญ่คือตุลาการภิวัฒน์
3) การถ่วงดุลอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลมลรัฐ ต่าง ๆ ที่แข็งขืนระหว่างกัน ซึ่งอาจทำให้รัฐบาลกลางไม่สามารถทำอะไรได้มาก ตรงนี้ก็สะท้อนถึงรากฐานที่มาของอเมริกาที่มาจากการรวมรัฐ เพราะฉะนั้นแต่ละรัฐก็ยังคงรักษาอำนาจและศักดิ์ศรีของตัวเองอย่างมีอิสระในระดับหนึ่ง แต่ก็น่าจับตาว่าท่ามกลางกระแสขวาจัดที่ปรากฎในโลกตะวันตกขณะนี้ อย่างทำให้เกิดการเรียกร้องแยกตัวของรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐ เหมือน เช่น ที่เคยเกิดเป็นข่าวว่าแคริฟอร์เนียแคลิฟอร์เนียอยากแยกตัวออกมา หรืออย่างกรณีอังกฤษแยกออกจากอียู
4) หากมองในแง่ Americanization หรือการทำให้เหมือนอเมริกา สิ่งที่เกิดขึ้นในอเมริกาจากคำสั่งของทรัมป์อาจเป็นบทเรียนให้กับกลุ่มที่สนับสนุนทรัมป์ในยุโรป โดยเฉพาะพวกพรรคการเมืองฝ่ายขวา ที่มีแนวโน้มหรือใช้นโยบายเดียวกับทรัมป์ อาจพบอุปสรรคและแรงต้านในระหว่างหาเสียง ในขณะเดียวกันในแง่ของกฎหมายและตุลาการ คำสั่งระงับของผู้พิพากษารัฐบาลกลางวอชิงตันก็น่าจะมีอิทธิพลต่อยุโรปไม่มากกว่าน้อย ถ้าชัยชนะของทรัมป์หรือมาตรการห้ามมุสลิมเข้าประเทศและไม่รับผู้ลี้ภัยถูกกลุ่มสนับหนุนฝ่ายขวาในยุโรปหยิบยกไปโหมกระพือในลักษณะของการตอกย้ำความถูกต้องชอบธรรมได้แล้ว ในทำนองเดียวกัน การประท้วง ต่อต้าน การแข็งขืนของมลรัฐต่าง ๆ และตุลาการภิวัฒน์ในอเมริกา ก็น่าจะเป็นต้นแบบที่หนุนเสริมกลุ่มเสรีนิยมให้ลุกขึ้นต่อสู้หรือหยุดยั้งพรรคการเมืองขวาจัดในยุโรป
การถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายตุลาการในสหรัฐอเมริกาจากนี้ไปคงจะเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ต้องจับตามองต่อไปครับ
อ่านตอนที่แล้ว
เกาะติดกระแสทรัมป์กับโลกมุสลิม จากนโยบายสู่การปฏิบัติ ตอนที่ 1: Executive Order สะเทือนโลก (มุสลิม)