Skip to main content

 

โลกไม่แคบ ใจไม่แคบ

แต่เราคับแคบที่จะเรียนรู้ความต่างของกันและกัน!

 

 

(ว่าด้วยประเด็นร้อนในปัตตานี)

เผื่ออาจารย์ ม.อ.ปัตตานี ที่ทำเรื่องสิทธิสตรีเพศวิถี พลัดหลงมาอ่าน

สวัสดีคับอาจารย์ที่เคารพ

ผมได้ดูคลิปอาจารย์แล้วน่ะครับ

รายการ ก(ล)างเมือง เรื่อง "ห้องเรียนเพศวิถี"

ผมชอบนะครับที่อาจารย์จับกลุ่มเด็กๆ เพื่อทำกิจการ จัดระบบกระบวนการคิดและสร้างทักษะต่าง ๆ

ผมมองว่า

"เด็กผู้หญิงเตะฟุตบอลไม่ผิดครับ จะทำอะไรต่อมิอะไรก็ไม่ผิด มีสิทธิ์ครับ ไม่มีใครยัดเยียดกรอบอะไรให้ เพราะมนุษย์มีค่าเท่าเทียมกัน"

ผมอยากจะบอกอาจารย์ว่า

สังคมไม่ได้สอนให้ผู้หญิงอ่อนแอและเป็นเพศผู้ตาม

แต่ความจริงคือผู้หญิงถูกสร้างมาให้เป็นเพศที่อ่อนแอตั้งแต่ต้น

มีประเด็นดังต่อไปนี้

1. ผู้หญิงมีเลือดประจำเดือนเกือบทุกคน (บางคนไม่มีเพราะผิดปกติ หรือบางคนไม่มีเป็นเป็นสาวสะอาดตั้งแต่กำเนิด เช่น ทางหญิงฟาติมะฮฺ) ประจำเดือนของหญิงสาวทุกคนจะมีเมื่ออายุครบ 9 บริบูรณ์ตามปฏิทินแบบจันทรคติ (ซึ่งจะเร็วกว่าปีละ 11 วันโดยประมาณ)

ประจำเดือนจะมาเดือนละ 24 ชม. อย่างต่ำ 6-7 วันอย่างปกติของคนทั่วไป และ 15 วัน 15 คืนเป็นอย่างมาก หากเกิน 15 วันถือเป็นเลือดเสีย (จะต้องทำการละหมาดเป็นปกติหลังเลย 15 วัน)

ก่อนจะทำการนมัสการพระเจ้าหลังมีเลือดประจำเดือนจะต้องอาบน้ำยกฮาดัษชำระล้างร่างกาย พร้อมการตั้งเจตและทำความสะอาดจนทั่วร่างกาย หากสตรีนางใดไม่อาบน้ำตามหลักเงื่อนไขทางศาสนา ก็ถือว่าสกปรก (แม้จะอาบน้ำกี่รอบแล้วก็ตาม)

ด้วยเหตุนี้สิ่งจำเป็นสำหรับสตรีเพศจะต้องเรียนรู้คือ รายละเอียดเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน (วันนี้เรารับรู้เรื่องเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน เพราะสตรีทุกคนมีเลือดประจำเดือนต่างกัน ระยะเวลาไม่เหมือนกัน สีแดงดำหรือแดงอ่อนต่างกัน การปฏิบัติจึงไม่เหมือนกัน)

ด้วยเหตุนี้ กรณีเลือดประจำเดือนของสตรีเพศ ไม่ว่าจะมีหลักความเชื่อใด ศาสนาใด มีประจำเดือนเหมือนกัน แต่วิธีทำความสะอาดต่างกัน และหลักการศาสนาก็ไม่เหมือนกัน (ผมก็อยากรู้นะว่าหลักการศาสนาของเพื่อนที่ไม่ใช่เป็นอิสลามสอนเรื่องแบบนี้อย่างไร มีรายละเอียดแบบไหน?)

นี่คือความอ่อนแอประการแรกของสตรีเพศ ซึ่งในหมู่ผู้ชาย "ไม่มีประจำเดือนครับ"

หลักฐานข้อนี้จึงยืนยันโดยธรรมชาติแห่งการสรรสร้างของพระเจ้าว่า สตรีกับบุรุษถูกสร้างมาต่างกันเพื่อหน้าที่ในการเป็นมนุษย์คนละอย่างกัน ไม่มีใครถูกครอบงำโดยใครว่า สตรีถูกสอนมาว่าเป็นเพศที่อ่อนแอ เพราะสตรีพระเจ้าสร้างเพื่อให้อ่อนแอและบอบบางตามธรรม และเพศชายคือเพศที่หยาบคายและแข็งกระด้าง การใช้ชีวิตในแต่ละวันของสตรีเพศจึงต่างกับผู้ชายอย่างไม่ต้องสงสัย เหตุผลของสรีระ เรือนร่าง และประจำเดือนคือสัญญาณที่บ่งชี้อย่างชัดเจนที่สุด เพราะธรรมชาติของสตรีจะใช้อารมณ์นำเหตุผลเมื่อมีประจำเดือน ลองสังเกตตัวเองและคนรอบข้างแล้วจะเจอว่า สิ่งนี้คือเรื่องจริง

2. สตรีเป็นเพศแม่และสามารถตั้งครรภ์ ประเด็นนี้ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า สตรีอ่อนแอเพียงอย่างเดียวแต่จะบ่งบอกว่าสตรีคือเพศที่อ่อนโยน เข้มแข็ง ใส่ใจในรายละเอียดและรักษาสิ่งที่ถูกมอบหมายได้ดี ที่สำคัญคือ เป็นเพศที่ชอบสงสารมากกว่าผู้ชาย

อุปนิสัยเหล่านี้ไม่มีในบุรุษเพศ เพราะโดยมากของบุรุษเพศ ใจร้อน หยาบกระด้าง ไม่ค่อยใส่ใจและไร้ความรับผิดชอบเมื่อเทียบกับสตรีเพศ

พระเจ้าจึงฝากทารกน้อยไว้ในอ้อมกอดสตรีเพศ

สิ่งนี้ก็ไม่ได้สอนให้ผู้หญิงรู้สึกว่าตนต้องเป็นเพศแม่โดยสังคม หรือเป็นเพศที่ต้องทำหน้าที่ตั้งท้องโดยกรอบคิดที่ถูกสอนโดยคนส่วนใหญ่ แต่มันคือธรรมชาติของสตรีที่ถูกสร้างมาเพื่อเป็นเพศแม่

วันนี้เพศแม่ถูกคุกคามเพราะเราทิ้งหลักคำสอน ต่างคนต่างปฏิบัติตามค่านิยมสังคม

หากอ่านหลักคำสอนอย่างจริงจังและถือปฏิบัติ เคร่งเพศแม่จะถูกให้เกียรติเป็นอย่างมากเพราะท่านศาสดากล่าวถึงสิทธิของลูกที่มีต่อ "แม่" ถึง 3 ครั้ง แต่สำหรับพ่อแค่เพียงครั้งเดียว

เมื่อหลักคำสอนดี แต่ไม่มีคนปฏิบัติก็ต้องหาทางแก้ที่คน ให้การศึกษา ให้ความรู้กับผู้คนให้รับทราบถึงหน้าที่ของตน

สิทธิมนุษยชนของทุกคนอยู่ในหลักความเชื่อของศาสนา เมื่อคนนั้นมีศาสนาก็ใช้หลักศาสนา ไม่ใช่ยึดค่านิยมสังคมแล้วมากล่าวหาว่าหลักศาสนาอิสลามใจแคบ

"หลักจารีตสังคมจีนก่อนปีคริสต์ศักราชนิยมฝังบ่าวรับใช้ทั้งเป็นพร้อมเจ้านาย"

สังคมฮินดูไม่ปลื้มกับการมีลูกสาว จนมีการคำโฆษณาออกมาว่า

"Let Her Die"

(ปล่อยให้หล่อนตายห่าไปเหอะ)

คำสั้นๆ เห็นแล้วรู้สึกเจ็บปวด คำนี้เริ่มโด่งดังในสังคมโลกสมัยใหม่เมื่อปี 1993 โดยการนำเสนอของ BBC Documentary ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เมื่อมีรายงานออกมาจาก Emetic Buchanan หญิงสาวอังกฤษผู้เดินทางมายังอินเดีย พร้อมฉายภาพสังคมอินเดียว่า

มีการฆ่าบุตรสาวของตนเองวันละไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ซึ่งปีละไม่ต่ำกว่า 1,000,000 คน

ในสังคมฮินดู การมีบุตรสาวนั้นถือเป็นความอัปยศของครอบครัว จนมีคำสั้นๆ ได้ใจความออกมาส่า "ยอมเสีย 500 แล้วจะประหยัดเงินอีก 500,000" คือเอาลูกออกหรือฆ่าให้ตายตั้งแต่เกิดแค่เพียง 500 ไม่ต้องจ่ายแพงเท่า 500,000 ตอนโตเพราะค่าสินสอดแต่งงาน

ในปี 1990 องค์กร UNICEF รายงานว่า "ผู้หญิงในอินเดียสูญหายกว่า 50-60 ล้านคนในประ 1990"

การรณรงค์ให้ตรีเพศรู้จักสิทธิตามวิถีของหลักสิทธิมนุษยชนถือเป็นเรื่องดี แต่เมื่อสิทธิที่ตนจะได้รับ กรณีสตรีผู้นั้นมีกรอบของศาสนาที่มันคือ ความเชื่อและวิถีชีวิต ก็ต้องให้โอกาสเขาได้เลือกว่า "ศาสนากับค่านิยมสังคมอย่างไหนสำคัญกว่า"

หากเขาเลือกไปตามค่านิยม มันก็คือ สิทธิของเขา เพราะศาสนา ไม่มีการบังคับกัน แค่เพียงตักเตือนกัน

แต่หากเขายังยืนยันจะเป็นศาสนิก เขาก็จะต้องปฏิบัติในสิ่งที่ศาสนากำหนด

อย่ามาสรุปแบบดื้อๆ ว่าศาสนาใจแคบ แล้วอาศัยตรรกะต่างๆ เพื่ออธิบาย ให้เห็นคล้อยตาม เช่น

- ทำไมต้องมีกรอบมากมาย (ผมอยากจะบอกว่า กรอบคือการควบคุม ไม่ใช่ห้าม มันระบุว่าอะไรได้ ได้แบบแบบไหน อะไรไม่ได้ ไม่ได้ยังไง)

- ทำไมผู้หญิงต้องส่งเสียงดังไม่ได้ ( ผมอยากจะบอกว่า ส่งเสียงดังได้ แต่หลักศาสนาระบุว่าได้อย่างไร )

- ทำไมผู้หญิงต้องแต่งกับผู้ชาย เธอไม่มีสิทธิที่จะชอบกับผู้หญิงเหรอ บางทีก็ต้องคิดใหม่นะ ผู้หญิงก็ชอบผู้หญิงได้นิ (ผมจะบอกว่า มันเป็นคำถามและชวนคุยที่แสดงให้เห็นว่าองค์ความรู้ในการทำงานข้ามความต่างยังบกพร่อง เพราะเมื่อคนที่เราทำงานด้วยต่างกับเรา แน่นอนความเชื่อเขาจะต้องไม่เหมือน แล้วอะไรละคือความไม่เหมือนของความศรัทธา อันนี้มากกว่าที่นักกิจกรรมรณรงค์เรื่องสิทธิจะต้องไขปริศนา)

- แล้วผู้ชายจะชอบผู้ชายไม่ได้เหรอ เพราะทุกคนมีสิทธิ สังคมเป็นแค่คนมากำหนดและตั้งค่านิยมเอง

- แล้วผู้หญิงจะแต่งแต่งตัวแบบชายไม่ได้เหรอ ผิดตรงไหนมันคือสิทธิ เราเคยชินกับการถูกสอนมาว่าผู้หญิงต้องใส่กระโปร่ง

คำถามที่อาจารย์ตั้งมานั้น มันคือการแลกเปลี่ยน ชี้นำไปในเวลาเดียวกัน

สิทธิทั้งหมดนั้นที่ต่อมอยากรู้กระตุกขึ้นมา มันไม่ได้ถูกทำให้หายไป ในอิสลามทั้งหมดเหล่านี้มันมีรายละเอียดอธิบาย

ว่าแต่เราเข้าถึงรายละเอียดเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน

บางทีความหวังดีเรื่องสิทธิเพศทางเลือกที่กำลังโด่งดังใน ปัตตานีอาจเป็นอีกหนึ่งความเกลียดชังของเส้นพรหมแดนความเชื่อ และลุกลามจนต้องมีบาดแผลครั้งใหญ่

"ความหวังดีท่ามกลางความไม่รู้คือ การทำร้ายชนิดหนึ่ง"

เผื่ออาจารย์พลัดหลงเข้ามาอ่าน

อยากให้อาจารย์ที่ทำงานทางด้านนี้ ศึกษาสังคมและความเป็นไปของวิถีชีวิตมุสลิมให้ละเอียดกว่านี้ เพราะประเด็นที่อาจารย์กำลังเคลื่อนไหวคือ "ความอ่อนไหวและความเปราะบางท่ามกลางไฟใต้"

หากหลักศาสนาอิสลามใจแคบกับสตรีเพศ

แน่นอน ศาสนาคงไม่ออกมาห้ามประเพณีการฝังลูกสาวทั้งเป็นในสังคมอาหรับ แต่เมื่อท่านศาสดาประกาศศาสนา ท่านก็เปลี่ยนค่านิยมเหล่านั้นจนหมดสิ้น จนมีสตรียืนยิ้มอยู่ทุกวันนี้อย่างที่เห็น นั่นแหละคือสิทธิของพวกเธอน้องสาวทั้งหลาย

โชคดีแค่ไหนแล้วที่พวกเธอมีสิทธิเกิดมาบนโลกใบนี้

ป.ล. สิ่งที่พวกเธอต้องรับรู้ให้มากในเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องสิทธิของตน แต่เป็นเรื่องหน้าที่ของตนมากกว่า โดยเฉพาะหน้าที่การเป็นบ่าว สมบูรณ์แค่ไหนแล้ว "ยกฮาดัษเป็นหรือยัง" หรือ "รู้เรื่องประจำเดือนและการปฏิบัติตนในช่วงนั้นมากน้อยแค่ไหน ?"

##หาครูสอนเรื่องแบบนี้ให้น้องๆ สักคนสิ ปัตตานีแผ่นดินปราชญ์และระเบียงมักกะฮฺไม่ใช่เหรอ?##

ไม่รู้สิ ผมรู้สึกว่า เรากำลังเดินหลงประเด็น มุมเด็กมุสลิมหลายคน ใช้วิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ จนบางทีของบางเรื่องความเป็นสมัยใหม่กับอิสลามมันขวางทางกัน อิสลามคือเครื่องกรองวิถีชีวิตอย่างดี หากยังมีศรัทธาและศาสนา ใช้เครื่องกรองมาทำหน้าที่ดีที่สุด แต่เมื่อมุสลิมไม่ใช้เครื่องกรอง ก็ไร้ความหมาย

โลกแคบใจคนก็ไม่แคบ แต่วันนี้เรากว้างจนเกินไป จนลืมว่า ตัวตนของเราที่เป็นเราและแบบที่เราเชื่อคืออะไร เมื่อหาจุดยืนตรงนี้ไม่ได้ เราจึงโอนอ่อนตามกระแสสังคมและความนิยมของยุคสมัย

 

ด้วยความรักและความเคารพ

เอ. อาร์. มูเก็ม

รัฐศาสตร์

ศิษย์ ม.อ. ปัตตานี รหัส 4730801