Skip to main content

ข้อเสนอถึงมิตรสหายทุกท่าน

กรณี : ก(ล)างเมือง ห้องเรียนเพศวิถี

“หากนักเคลื่อนไหวทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ สันติภาพบนแผ่นดินเกิด”

แน่นอนความขัดแย้ง (ไม่ใช่สิ ความไม่เข้าใจกันมากกว่า) ที่กำลังงอกงามบนโลกโซเชียล ถือเป็นหนึ่งนิมิตรหมายอันดีสำหรับ “นักฝันทุกคน” ได้หันหน้ามาคุยกันอย่างจริงจัง

อย่าเพิ่งเบื่อในประเด็น เพราะประสบการณ์มากมายหลายปีที่ทับซ้อน ไม่เคยมีแนวทางอย่างเป็นจริงเป็นจังในการจัดการของพวกเรา (คนรุ่นใหม่) หากจะมีคือ แชร์แนวคิดผ่านสื่ออนไลน์เสียเป็นส่วนใหญ่

ทุกคนคือ นักวิชาการ ทุกคือผู้ทำงานเพื่อสังคม หนำซ้ำพวกเราเกือบจะทั้งหมดที่ออกมานำเสนอ คือ อาจารย์ และเรามีมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์รวม สิ่งเดียวที่เราหวังจากประชาชนพลเมืองและนักศึกษาของเรา คือ การพูดคุยแบบมีอารยะ เพราะสถาบันของเราสร้างวิถีแห่งความคิด มีองค์กรมากมายที่เกี่ยวข้องในสิ่งที่เราขับเคลื่อน

ด้วยประการทั้งปวง “การพูดคุยเปิดวงสำคัญที่สุด” (ไม่ใช่พูดคุยแบบปิดลับในห้องเล็ก ๆ) เพราะยังไงก็ไม่จบ เมื่อประเด็นเป็นสาธารณะและ ก(ล)างเมือง ห้องเรียนเพศวิถี ก็ได้ฉายไปสู่วงกว้าง ทุกคนกำลังรอคำตอบและการพูดคุยแบบมีเหตุมีผล ไม่ใช่ใช้อารมณ์ อคติ ความชังและด่าทอกันไปมาผ่านสื่อ”

หากเราจำได้ เรามีวัฒนธรรมเดียวกันคือ “มีอะไร คุยกัน!!!” แต่ไม่บ่อยนะที่เราจะคุยกัน เพราะโดยมาก เราโพสข้อความสาดใส่กันแบบผ่านไปทีเสียมากกว่า เมื่อความไม่เข้าใจเกิดขึ้น สิ่งที่เราต้องทำคือ “เปิดพื้นที่ในการสื่อสาร (แบบตรงไปตรงมา)” หรือแบบ วิถีชาวบ้านที่เราทำกันในสังคมโบราณที่เราต่างเติบโตและได้รับวัฒนธรรมนี้มาไม่ต่างกัน

กรณี : ก(ล)างเมือง ห้องเรียนเพศวิถี ถือเป็นกรณีศึกษาของนักเคลื่อนไหวทุกท่าน ได้เปิดวงคุยกันอย่างเป็นจริงเป็นจังเสียที เพราะความไม่เข้าใจที่เกิดขึ้นเกิดจาก 2 ฝ่าย จนส่งผลให้ ฝ่ายสังเกตการณือีกหลายท่านเลือกข้าง แชร์ทัศนะ และตั้งคำถามกันไปต่าง ๆ นานา จนท้ายที่สุด ก็มีอะไรดี ๆ ปรากฏออกมาจนเราพอเห็นทางออกร่วมกันของสันติภาพ

หากนักสันติวิธีทุกท่าน (ผมมองว่าทุกคนที่เข้ามาพัวพันเรื่องนี้คือนักเคลื่อนไหว) ไม่หันมาคุยกัน สันติภาพใน 3 จังหวัดและสังคมไทยจะเกิดขึ้นได้เหรอ เพราะ พวกเราทุกคน บอกตัวเองและคนอื่นมาตลอดว่า เป็น “นักสันติวิธี” บ้างก็ “นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน”

เรื่องนี้จึง(ต้อง)จบลงด้วยการเจรจาแบบเปิดและเจรจาแบบ 2 ฝ่าย ไม่มีความชัดเจนสำหรับการพูดอยู่ฝ่ายเดียว ข้างเดียว (แม้สัมมนาระดับชาติ ก็เหอะ) หากการเจรจาแบบฝ่ายเดียว ดำเนินไปในสังคมขัดแย้ง สิ่งที่เราได้รับกลับบ้านคือ “บาดแผลและผ้าพันแผล” แห่งความต่างไปไม่ต่างกัน

ผมนั่งดูรายการ: ก(ล)างเมือง ตอน “ห้องเรียนเพศวิถี” ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 อยู่ห่าง ๆ จากประเทศอินเดียและพอจะสรุปได้ตามที่เห็นในสื่อว่า ความไม่เข้าใจกันในครั้งนี้ มีหลายตัวละครเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถสรุป (ตามมุมมองของผมน่ะ มุมมองแบบไกล ๆ) ได้ดังนี้คือ

1. คนต้นเรื่อง:

- อาจารย์ดาราณี ทองศิริ (ปลา) Daranee Thongsiri ซึ่งท่านได้ชี้แจงผ่าน “จดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนนักวิชาการและนักกิจกรรม กรณีห้องเรียนเพศวิถี” เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560

- อาจารย์อันธิฌา Anticha Sangchai ซึ่งท่านเป็นผู้หนึ่งที่ให้สัมภาษณ์ในรายงานการดังกล่าว

2. คนค้นเรื่อง :

- อาจารย์โชคชัย วงศ์ตานี Chokchai Wongtanee นักวิชาการจากสถาบันสันติวิธี ม.อ.หาดใหญ่ (เพียงในมุมมองของผมน่ะ) อาจารย์ได้พูดถึงประเด็นนี้ในเฟสของตนเอง ซึ่งส่งผลต่อการพูดคุยกันต่อเนื่องและยืดยาว ) ซึ่งอาจารย์ก็ได้แถลงการณ์ออกมาเพื่อชี้แจง “ถึงพี่น้องมุสลิมและพี่น้องต่างสาสนิกร่วมสังคมปาตานีทุกท่านที่อ่านโพสต์ของผม” วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560”

3. คนคุยเรื่อง:

- พวกเรา (บางคน) ชาวโลกโซเชียลที่เข้ามาอ่าน มาเห็น คอมเม้นท์และตอบคำถาม ตลอดจนแสดงความคิดเห็น

- องค์กรของท่านบังวี Alavee Al-alavee แห่งสำนักปาตานีฟอรัม (แม้จะเข้าไปคพูดคุยแล้ว ก็ก็ระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะในวงกว้างไม่ได้มีสื่อฉายให้เห็นมุมมองและวงแลกเปลี่ยนดังกล่าว)

- เจ้าหน้าที่ดีพเซาท์ อย่างบังอิมรอน Imron Sahoh Binmustofa สื่อที่พยายามทำหน้าที่ของตนท่ามกลางความขัดแย้ง

- Vaheda Kladpeach เป็นหนึ่งในคนหนุ่มสาวที่เข้ามาแลกเปลี่ยน

- Vanisah Sulong ก็เป็นอีกหนึ่งในนักกิจกรรมในพื้นที่ที่พูดถึงประเด็นนี้

- Thaweesak Pi ก็เป็นผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างถึงแกน

4. คนเข้าเรื่อง:

- น้อง ๆ นักศึกษา ม.อ. ปัตตานี ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว “ห้องเรียนเพศวิถี” ณ ร้านหนังสือบูกู

5. คนเขียนเรื่อง”

- อาจารย์ชุโกร ดินอะ Shukur Dina นักวิชาการหนึ่งในอาจารย์ที่แสดงความคิดเห็นในโพสและเขียนเรื่อง

- เอ. อาร์ มูเก็ม Abdunroh man Mukem ได้เขียนจดหมายถึงอาจารย์คนต้นเรื่องเพื่อนำเสนอประเด็นปลีกย่อยที่เห็นต่าง ๆ

- วาริช หนูช่วย TheRich WaRich ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนและนำเสนอแง่คิดปรากฏการณ์ดังกล่าว

- และนักเขียนท่านอื่น ๆ ที่ได้นำเสนอประเด็นนี้

6. คนเคลียร์เรื่อง (คอยทุกคนเข้ามา) เพื่อให้ข้อคิดครั้งนี้ได้หาทางออกร่วมกัน และทำความเข้าใจในความต่างกันอย่างเป็นจริงเป็นจังเสียที

*** หมายเหตุ*** การพูดคุยสามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่าย

1. ใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัย สำนักงานอธิการบดี (หรือสถานที่อื่นที่เหมาะสมกับการเข้าร่วมของทุกคน ทางที่ดีคือ มหาวิทยาลัยเพราะเป็นหลักบ่มเพมันสมองอยู่แล้ว) เพื่อถกสาธารณะประเด็นดังกล่าว

2. องค์กรที่เหมาะสมแก่การจัดงานดังกล่าวเท่าที่มองผ่านภาพรวมคือ ปาตานีฟอรัมและดีพเซาท์ ครับ

3. เชิญผู้เกี่ยวข้องมาเป็นวิทยากร เช่น อาจารย์โชคชัย วงศ์ตานี และ อาจารย์ชุโกร ดินอะ (เพราะมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น หรือ อาจารย์ท่านอื่น ๆ)

4. เชิญคนต้นเรื่อง คือ อาจารย์ดาราณี ทองศิริ (ปลา) และอาจารย์อันธิฌา มาพูดคุย (เพราะเป็นผู้โด่งดังในโลกโชเชียลในประเด็นดังกล่าว)

5. เชิญนักศึกษาและผู้สนใจเข้าร่วมรับฟัง

6. อัดวิดีโอเพื่อให้คนทั้งประเทศรับฟังการพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน เพราะรายการ ก(ล)งเมือง ตอน “ห้องเรียนเพศวิถี” ดังกล่าวก็ออกอากาศทั่วประเทศมาแล้ว

(เรามีทุกอย่างพร้อม เหลือเพียงจัด เพื่อสร้างองค์ความรู้อีกชุดขึ้นมา ผมว่าทุกคนน่าจะร่วมยินดีนะครับ)

แม้การปรับความเข้าใจเป็นไปได้ดีของบุคคลที่เกี่ยวข้อง กระนั้นเมื่อ “ความเห็นต่างไหลเข้าสู่สังคมสาธารณะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การพูดคุยก็สมควรจะเกิดขึ้นแบบสาธารณะอย่างหลีกหนีไม่พ้น” และแน่นอนในมุมมองของผมคือ เป็นโอกาสดีที่เราจะได้ถกสาธารณธและ มี “ชุดความคิดแห่งการจัดการแนวคิดต่างให้กับสังคม” เพื่อเป็นองค์ความรู้และบทเรียนร่วมกันให้กับสังคมของเราและเยาวชนของประเทศชาติต่อไป เพราะ

“เรายังมีนักศึกษาและประชาชนของเราที่มีส่วนได้ส่วนกับเรื่องนี้ในชีวิตจริงของพวกเขา”

หากเราปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไป ความไม่เข้าใจและความชัง ก็ยังขังอยู่ในวิถีของพวกเขา เมื่อถึงตอนนั้น มันก็จะเกิดปรากฏการณืใหม่ ๆ ในรูปแบบอื่น ๆ และตัวละครอื่น ๆ อีกเหมือนที่เคยเกิดขึ้น (กรณ๊ การกินหมูของนักเรียนไปทัศนะศึกษา หรือ กรณ๊ฮิญาบโรงเรียนวัดหนองจอก) ในที่สุด

ท้ายที่สุด ในความไม่เข้าใจ สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องแลกเปลี่ยน นอกจากจะวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ของกันและกันแล้ว ทว่า เรายังเป็นส่วนหนึ่งที่จะได้แบ่งปันวิถีถีคิดและสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน หากผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ได้ปรากฏตัวร่วมกัน ความขัดไม่เข้าใจก็ยิ่งถางกว้างอยู่ดี

“สิ่งที่เราข(ล)าดมาตลอดคือ การทำความเข้าใจความต่าง บนแผ่นดินเกิด จนเราอยู่ร่วมกัน กินข้าวด้วยกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน ทำงานร่วมกัน สัมมนาร่วมกัน แต่ ลึก ๆ แล้ว “ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ” เราไม่เข้าใจความต่างของกันและกันไปในที่สุด”

ด้วยประการทั้งปวง ผมเป็นเด็กน้อย ที่มิอาจแม้กระทั่งเสนอความคิดเห็น เพราะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องล้วนเป็นครู อาจารย์และนักกิจกรรมเพื่อสังคมทั้งสิ้น ทว่า เมื่อมาถึงขั้นนี้ ก็อยากจะขอนำเสนอเพื่อความสันติบนแผ่นดินเกิด

ขออภัยที่ล่วงเกินทุกท่านด้วยการเอ่ยนาม

ด้วยความเคารพมิตรสหาย

วัสลาม

เอ.อาร์ มูเก็ม

มหาวิทยาลัยมุสลิมอาลีการ์ ประเทศอินเดีย