ความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านในจังหวัดชายแดนใต้ คือ อะไร ตอนที่ 1
อัญชนา หีมมิหน๊ะ ประธานกลุ่มด้วยใจ
เมื่อหลายปีก่อนข้าพเจ้าได้ฟังบรรยายจาก ดร.แพทริค แบรอน ผู้อำนวยการภูมิภาค โครงการความขัดแย้งและการพัฒนา มูลนิธิเอเชีย เมื่อ ปี 2558 เรื่อง ความยุติธรรมเพื่อการเปลี่ยนผ่านคืออะไร? ซึ่งก็ได้ทำความเข้าใจว่า ความยุติธรรมเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) คือชุดของกลไกชั่วคราวที่ช่วยรัฐและสังคมในการจัดการกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายภายหลังช่วงเวลาของความขัดแย้งหรือหลังระบอบเผด็จการดังเช่นที่เคยเกิดในช่วงทศวรรษ 1980 (ช่วงทศวรรษที่ 2520) ซึ่งเป็นช่วงของ คลื่นลูกที่สามแห่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย (Third Wave of Democratic Transitions) และเมื่อปี 2559 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการกับองค์กร Swiss Peace อีกครั้งเรื่อง การจัดการกับปัญหาในอดีต (Dealing with the Past -DwP) ที่ได้อธิบายถึงการจัดการกับปัญหาในอดีตว่า การจัดการกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมากทีเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทิศทางใหม่ที่เกิดจากผลพวงของความขัดแย้งที่รุนแรงหรือการปกครองโดยเผด็จการ การจัดการกับปัญหาในอดีตคือการให้เราเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการอยู่ร่วมกันกับผลที่เกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอดีตในลักษณะที่ครอบคลุมและรอบด้านและมีศักยภาพที่จะพัฒนาความสงบสุขอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นในสังคม กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ยาวนานและเกี่ยวข้องกับความหลากหลายของกิจกรรมรวมถึงการหยิบยกรากเหง้าของความขัดแย้งมาดำเนินการด้วย
ล่าสุดข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการอบรมที่จัดโดย AJAR หรือ Asia Justice and Rights ทำให้เข้าใจคำว่า ความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและการจัดการกับปัญหาในอดีตมากขึ้น กล่าวโดยสรุปก็คือ ความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและการจัดการกับปัญหาในอดีตคือเรื่องเดียวกันนั่นก็คือ TJ หรือ DwP เป็นเครื่องมือในการจัดการกับอาชญากรรมจำนวนมากหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมากที่เกิดขึ้นในระหว่างความขัดแย้ง TJ หรือ DwP มีกรอบแนวคิดที่เหมือนกันอยู่สี่ประการนั่นก็คือ
· การค้นหา Truth seeking หรือ สิทธิในการรับรู้ ( Right to know ) นั่นก็คือ สังคมและบุคคลมีสิทธิที่จะทราบความจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก ที่ทำให้เกิดความความขัดแย้ง และตระหนักถึงความสำคัญของการระลึกถึงเหตุการณ์เหล่านั้นอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดการเยียวยารักษาผู้ได้รับผลกระทบและสังคมโดยรวม นอกจากนี้กฎหมายระหว่างประเทศได้ตระหนักอย่างชัดเจนถึงสิทธิของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อและผู้รอดชีวิตที่จะทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ของการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงของของพวกเขาและเกี่ยวกับผู้ที่ต้องรับผิดชอบหรือระบอบการปกครองที่กดขี่ นอกจากนี้ยการจงใจที่จะเขียนประวัติศาสตร์และปฏิเสธการสังหารโหดเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์ในอดีต การแสวงหาความจริงจึงก่อให้เกิดการสร้างประวัติศาสตร์ที่ป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำซ้ำ และยังสามารถช่วยให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พวกเขาได้รับความเดือดร้อนเช่นชะตากรรมของบุคคลที่หายไปหรือทำไมคนบางคนทำไมต้องตกเป็นเป้าหมายของการละเมิด
· การสืบสวนดำเนินคดี Prosecution หรือ สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรม (Right to justice ) นั่นก็คือการสืบสวนและการดำเนินคดีกับผู้นำที่ทรงอำนาจเช่นนักการเมืองหรือทหาร การดำเนินคดียังคงเป็นความต้องการที่สำคัญของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ เมื่อดำเนินการในรูปแบบที่สะท้อนให้เห็นถึงผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ' ความต้องการและความคาดหวังของพวกเขามีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูศักดิ์ศรีของพวกเขาและการนำความยุติธรรมให้กับผู้ที่เป็นเหยื่อ และเพื่อลดช่องว่างของการไม่รับผิดในอาชญากรรมที่ร้ายแรงโดยเฉพาะการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ การฟ้องร้องไม่สามารถบรรลุความยุติธรรมได้เพียงกลไกเดียวเพราะธรรมชาติของอาชญากรรมที่ร้ายแรง มักจะไม่สามารถดำเนินการผ่านระบบยุติธรรมทางอาญาปกติได้ เพราะวัตถุประสงค์ในการดำเนินคดีกับอาชญากรรมที่ร้ายแรงมักจะมุ่งเน้นไปที่ผู้ที่วางแผนและผู้กระทำอาชญากรรมในระดับสูงมากกว่าดำเนินคดีเฉพาะผู้ที่มียศต่ำกว่าหรือมีความรับผิดชอบในระดับล่าง
· การชดเชยเยียวยา Reparation หรือ สิทธิที่จะได้รับการชดเชยเยียวยา (Right to reparation) นั่นก็คือ การชดใช้เยียวยาจะไม่แก้ปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอดีตที่เป็นผลมาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงและสร้างสันติภาพได้ในทันที และไม่สามารถแก้ไขได้เฉพาะในระดับบุคคลและส่วนรวม การชดเชยเยียวยาเป็นกระบวนการหนึ่งไม่ใช่การกระทำเพียงครั้งเดียว หรือการระลึกถึงเพียงครั้งเดียว ในที่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงินและรูปแบบต่างๆของการให้ความช่วยเหลือ สิ่งที่สำคัญคือไม่เฉพาะรูปแบบที่จะชดใช้ให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อในรูปการเงินหรือวัตถุสิ่งของ แต่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น มาตรการที่ออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนมุมมองทางการเมืองและสังคมของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ การชดใช้เป็นกระบวนการทางการเมืองที่พยายามที่จะสร้างและฟื้นฟูชุมชนเพื่อที่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้รับการยอมรับและเข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีการเมืองและสังคม
· การปฏิรูปเชิงสถาบัน Institutional Reform หรือ การรับประกันว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก ( Guarantee of non-recurrence ) นั่นก็คือ การปฏิรูปสถาบันของรัฐที่เกี่ยวข้องในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจจะเป็นสิ่งสำคัญที่ชี้วัดความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านที่ส่งเสริมความรับผิดชอบและช่วยป้องกันการเกิดซ้ำของการละเมิด ในสังคมที่ฟื้นตัวจากการทารุณและการกดขี่ รวมถึงการมุ่งเน้นไปที่ความยุติธรรมสำหรับการละเมิดที่ผ่านมา สถาบันต่างๆ เช่นตำรวจ ทหารและตุลาการ- มักจะเป็นเครื่องมือในการปราบปรามและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เมื่อเปลี่ยนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นการปฏิรูปสถาบันดังกล่าวมีความสำคัญ การปฏิรูปสถาบันเป็นกระบวนการของการตรวจสอบและการปรับโครงสร้างสถาบันของรัฐเพื่อให้พวกเขาเคารพสิทธิมนุษยชน รักษาหลักนิติธรรม และมีความรับผิดชอบ โดยผสมผสานองค์ประกอบของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและความพยายามในการปฏิรูปทำให้เกิดความรับผิดชอบต่อการกระทำผิดของแต่ละบุคคลและยุติโครงสร้างที่ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
กรอบแนวคิด Transitional justice และ Dealing with the past
ความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) |
การจัดการกับปัญหาในอดีต (Dealing with the past) |
การค้นหา Truth seeking |
สิทธิในการรับรู้ Right to know |
การนำคนผิดมาลงโทษ Prosecution |
สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรม Right to justice |
การชดเชยเยียวยา Reparation |
สิทธิที่จะได้รับการชดเชยเยียวยา Right to reparation |
การปฏิรูปสถาบัน Institutional reform |
การรับประกันว่าจะไม่เกิดเหตุซ้ำ Guarantee of non-recurrence |
ทั้งนี้มีผู้ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญในกระบวนการที่ต้องคำนึงถึงก็คือ เหยื่อหรือผู้เสียหาย Victims คือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงหรือได้รับความสูญเสียจากความรุนแรงที่เกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ หรือทรัพย์สิน ผู้กระทำผิด Perpetrators คือผู้ทำร้ายบุคคลอื่น ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน ซึ่งทั้งเหยื่อและผู้กกระทำผิดต่างก็ได้รับความเจ็บปวดจากความรุนแรงไม่แตกต่างกันเช่น ภาวะซึมเศร้านอนไม่หลับ หรือการหวนคิดซ้ำถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา และนั่นก็ส่งผลต่อความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเขาและครอบครัว ดังนั้นความสำคัญของความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนผ่านเหยื่อและผู้กระทำผิดก็คือสามารถมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้โดยปราศจากความรู้สึกว่าตนเองเป็นเหยื่อตลอดเวลา การต้องการแก้แค้นต่อผู้กระทำ และในส่วนของผู้กระทำผิดคือการทำให้เขาไม่กระทำผิดอีกต่อไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการทำให้คนสองกลุ่มนี้กลับมาเป็นประชาชนแบบทั่วไปๆ นั่นเอง
ในครั้งต่อไปข้าพเจ้าจะนำเสนอว่า TJ และ Dwp เกี่ยวข้องอย่างไรกับความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้
เอกสารอ้างอิง
สืบค้นเพิ่มเติม
Swisspeace, A Conceptual Framework for Dealing with the Past archivesproject.swisspeace.ch/.../DwP_Conceptual_Framework_October
What is Transitional Justice? https://www.ictj.org/about/transitional-justice
Truth-seeking, Memory, and Memorials | ICTJ https://www.ictj.org/our-work/transitional-justice-issues/truth-and-memory
Justice, truth and reparation in the Colombian peace process - NOREFnoref.no/var/ezflow_site/.../5e7c839d7cf77846086b6065c72d13c5.pdf
Institutional Reform - The International Center for Transitional Justice https://www.ictj.org/our-work/transitional-justice.../institutional-reform
Dealing with the Past and Transitional Justice: Creating ... - Swisspeacewww.swisspeace.ch/.../Sisson__Jonathan__Dealing_with_the_Past_and_Transitional_J