Skip to main content

เปิดเอกสารยูเอ็นส่งถึงรัฐบาลไทย กรณีสามนักสิทธิมนุษยชนถูกฟ้องดำเนินคดีหมิ่นประมาทและขัดพรบ.คอมฯ โดยกอรมน. ภาค 4 เผยแพร่ 27 กพ. 2560 เอกสารฉบับดังกล่าวแม้ว่าจะมีการส่งให้ทางรัฐบาลไทยได้รับทราบและตอบคำถามตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2559 ซึ่งโดยปกติทางยูเอ็นจะให้โอกาสรัฐบาลได้ทบทวนและตอบคำถามที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระยะหนึ่งเป็นเวลาตามสมควร ก่อนเผยแพร่ต่อสาธารณะชนต่อไปในทางเวปไซด์ ได้ที่

http://www.ohchr.org/EN/HRBodies/SP/Pages/CommunicationsreportsSP.aspx

%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%94-1https://voicefromthais.files.wordpress.com/2017/02/e0b894e0b8b2e0b8a7e0b... 150w" style="box-sizing: inherit; height: auto; max-width: 100%;">

คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ

HAUT-COMMISSARIAT AUX DROITS DE L’HOMME • สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNOHCHR)

PALAIS DES NATIONS – 1211 GENEVA 10, SWITZERLAND

อำนาจหน้าที่ของผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออก; ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบ  ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี

หมายเลขอ้างอิง: UA THA 6/2016:

4 สิงหาคม 2559

เรียน ฯพณฯ,

เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เขียนจดหมายถึงท่าน ในฐานะผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออก; ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบ ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี อันเนื่องมาจากมติคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนที่ 25/2, 24/5, 25/18 และ 25/13

ด้วยเหตุดังกล่าว พวกเราขอนำเสนอข้อมูลต่อรัฐบาลของ ฯพณฯ โดยเป็นข้อมูลที่เราได้รับเกี่ยวกับการแจ้งข้อกล่าวหาต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ได้แก่ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นายสมชาย หอมลออ และน.ส.อัญชนา   หีมมิหน๊ะ อันเป็นผลมาจากการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุมอย่างชอบธรรม

น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิง และเป็นผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม (มสผ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดทำงานวิจัย ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายและการฟ้องร้องคดีสำหรับผู้ตกเป็นเหยื่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติที่โหดร้ายและการทรมาน นายสมชาย หอมลออเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และเป็นที่ปรึกษาของมูลนิธิฯ ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มด้วยใจ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานด้านการบำบัดฟื้นฟูให้กับเหยื่อการทรมาน และการสนับสนุนดูแลครอบครัวของพวกเขาในประเทศไทย

น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และนายสมชาย หอมลออ เคยได้รับการกล่าวถึงในข้อความที่สื่อสารจากผู้รายงานพิเศษชุดก่อนมาแล้วเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 โดยเป็นการแสดงความกังวลต่อการกระทำที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการตอบโต้ ทั้งนี้ในรูปของการแจ้งความดำเนินคดีต่อบุคคลทั้งสองเนื่องจากการทำงานรณรงค์และเป็นตัวแทนของผู้เสียหายจากการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายระหว่างการควบคุมตัว (โปรดดู A/HRC/28/85, กรณีที่ THA 10/2014) เราได้รับคำตอบรับจากรัฐบาลของ ฯพณฯ ในการสื่อสารข้อความเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2557 ซึ่งมีข้อสังเกตว่า “ในระดับนโยบาย กองทัพบกไทยตระหนักถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมอย่างชอบธรรม” ของหน่วยงานภาคประชาสังคมและ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

ในวันที่ 8 มิถุนายน 2559 น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นายสมชาย หอมลออ และ น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะได้รับแจ้งว่า ถูกแจ้งความดำเนินคดีโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกองทัพบกไทยและดำเนินการในจังหวัดชายแดนใต้ กอ.รมน.ภาค 4 สน.กล่าวหาว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จเกี่ยวกับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ที่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารในจังหวัดชายแดนใต้ ในรายงาน “การซ้อมทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายในจังหวัดชายแดนใต้ระหว่างปี 2557-2558”  ซึ่งเป็นการจัดพิมพ์ร่วมกันระหว่างมสผ.และกลุ่มด้วยใจในเดือนกุมภาพันธ์ 2559

มีรายงานข่าวว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสามคนกำลังถูกสอบสวนฐานหมิ่นประมาททางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อันเป็นผลมาจากการตีพิมพ์เผยแพร่รายงานดังกล่าว นับแต่การตีพิมพ์เผยแพร่รายงาน และระหว่างที่มีการสอบสวนในคดีนี้ บุคคลดังกล่าวต้องเผชิญกับการคุกคาม โดยมีการกดดันให้เปิดเผยแหล่งข้อมูลและให้ระบุตัวผู้เสียหายจากการทรมานตามที่มีการกล่าวหานั้น ทั้งยังมีการอ้างต่อไปว่า กอ.รมน.ภาค 4 สน.ได้ติดต่อกับเหยื่อการทรมานและหน่วยงานที่ทำงานเป็นภาคีกับมสผ.และกลุ่มด้วยใจ ทั้งนี้เพื่อพยายามกดดันไม่ให้หน่วยงานเหล่านั้นให้ความร่วมมือ

มีรายงานข่าวว่าโฆษกของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ได้แถลงต่อสาธารณะในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 กล่าวหาว่าหน่วยงานเหล่านี้มีอคติ ตามรายงานข่าว โฆษกระบุว่าหน่วยงานที่เขียนรายงานนี้ “ตั้งใจเอาข้อมูลเก่ามาเขียนเพื่อดึงดูดความสนใจจากแหล่งทุน เป็นเรื่องที่น่ากังวลว่าถ้ามีการเผยแพร่รายงานนี้ไปยังต่างประเทศ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้” รายงานดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจากกองทุนโดยสมัครใจเพื่อเหยื่อการทรมานแห่งสหประชาชาติ (United Nations Voluntary Fund for Victims of Torture) ทั้งนี้โดยเป็นการยื่นข้อเสนอโครงการต่อกองทุน เพื่อให้มีการให้การช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตและการรักษาพยาบาลกับเหยื่อการทรมาน[1]

[1] กองทุนโดยสมัครใจเพื่อเหยื่อการทรมานแห่งสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2524 ตามมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่ที่ 36/151 อยู่ภายใต้การบริหารงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNOHCHR) นับแต่ก่อตั้ง ทางกองทุนได้ให้ทุนกับหน่วยงานต่าง ๆ และศูนย์บำบัดฟื้นฟูกว่า 620 แห่งทั่วโลก ทำให้สามารถเข้าถึงผู้เป็นเหยื่อกว่า 50,000 คนในแต่ละปี

อ่านต่อ จดหมายจากยูเอ็นโดยผู้แทนพิเศษ 4 ท่านลงวันที่  4 สิงหาคม 2559 (เผยแพร่ 27 กพ. 2560)

ภาษาอังกฤษ ที่  downloadpubliccommunicationfile-_spa-case_-aug2016

ภาษาไทย ที่  un-rapporteur-letterresponse-from-thai-govt_-thai

Download  จดหมายตอบของรัฐบาลไทย

ภาษาอังกฤษที่  reply-letter-by-govt-on-spa