Skip to main content

                                    ตามรอยคุกธารโต ตอนที่ 2 

               ครั้งก่อน เคยได้นำเสอนเกี่ยวกับกระบวนการในการได้มาซึ่งข้อมูลของ เยาวชนต้นแบบเติมความหวังสู่สังคม โรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์ในการลงพื้นที่ วาดแผนที่เดินดน เก็บข้อมูล เกี่ยวกับ คุกธารโต และ อีกหลากหลายกิจกรรมที่ได้ไม่ว่าจะเป็น การปรับปรุงภูมิทัศน์พิพิธภัณฑ์คุกธารโต , การจัดนิทรรศการคุกธารโต กิจกรรมเสริมทักษะในห้องเรียน และอื่นๆ ได้นำเสนอผ่านลิงค์(http://www.deepsouthwatch.org/node/9185 ตามรอยคุกธารโต ตอนที่ 1 ) 

               หลังจากที่เยาวชนได้ข้อมูลเกี่ยวกับ คุกธารโต มาแล้ว จะต้องมีการเผยแพร่ข้อมูล ให้กับชาวบ้าน และ เยาวชนในโรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์ ซึ่งโจทย์ใหญ่ที่เยาวชนต้นแบบได้รับคือ ต้องมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคุกธารโตบนเวทีในกิจกรรม “เปิดบ้านโรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์” ซึ่งการนำเสนอข้อมูลจะต้องมีความน่าสนใจ ความสนุก และความเข้าใจของเนื้อหาที่ผู้เข้าร่วมงานสามารถรับรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของ “คุกธารโต”

             คำตอบสุดท้ายที่เยาวชนเลือกการนำเสนอข้อมูลคุกธารโต คือ การแสดงละคร “ละครคุกธารโต” ในกิจกรรม เปิดบ้านโรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา

ไทม์ไลน์คุกธารโต

1.    2478 – 2499 คุกธารโตเริ่มเปิดในพื้นที่ธารโตมีบริเวณที่ดิน 25,000 ไร่มีกองงานกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น โรงเลื่อย เครื่องจักรไอน้ำ ตัดหวายป่า เผาถ่าน  เลี้ยงสุกรและอื่นๆ และจะมีผู้บัญชาการจำนวน 3 คน นักโทษส่วนใหญ่เสียชีวิต เนื่องจากไข้มาลาเรียและถูกสัตว์ทำร้าย

2.    2500 คุกธารโตได้ถูกปิดในปี 2499 ในสมัย จอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เปิดให้กรมประชาสงเคราะห์จัดทำเป็นนิคมสร้างตนเองธารโต

3.     2504 วันที่ 17 กรกฎาคม 2504 ได้ก่อตั้งโรงเรียนประถมศึกษาชื่อโรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโตซึ่งเป็นพื้นที่คุกธารโตในสมัยนั้น

4.     2519ต่อมาในปี 2519 ก่อตั้งโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาคือ โรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์อยู่ตรงข้ามโรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโตอยู่ในพื้นที่ของคุกธารโตเช่นเดียวกัน

5.     2553  ได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์คุกธารโตในบริเวณโรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโตโดยจะมี อาคารโรงครัวเก่าที่เป็นร่องรอยของคุกธารโต

6.     2555 พิพิธภัณฑ์คุกธารโตได้รับคัดเลือกจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรมจึงตั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช

7     ตุลาคม 2558 ทางโครงการ Hakam เข้าพูดคุยในโรงเรียนเพื่อเสนอให้เยาวชนเข้าร่วมโครงการ เยาวชนต้นแบบเติมความหวังสู่สังคม ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือ เยาวชนมัธยมปีที่ 1

8.    18-21 ธันวาคม 2558 เยาวชนได้เริ่มเข้าค่ายอบรมในโครงการเพื่ออบรมทักษะต่างๆเกี่ยวกับการทำโครงการโดยโครงการของเยาวชนทำ เรื่อง คุกธารโต

9.    ก.พ.- ต.ค. 2559 เยาวชนได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการ เช่น กิจกรรมเล่าประวัติศาตร์ กิจกรรมลงทำแผนที่เดินดิน เป็นต้น