ขอบคุณภาพจาก http://i-newsmedia.net
มีคำทางโบราณคดีกล่าวว่า “อิฐก้อนเดียวสามารถอธิบายประวัติศาสตร์ได้นับพันปี” สะท้อนให้เห็นคุณค่าความสำคัญของโบราณวัตถุหรือโบราณสถาน อันเป็นหลักฐานของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ดังนั้นเมื่อพูดถึงโบราณวัตถุหรือโบราณสถานที่สำคัญในคาบสมุทรนูซันตาราหนึ่งในนั้นคงจะละเลยที่จะพูดถึงมัสยิดตะโละมาเนาะ หรือ “มัสยิด ๓๐๐ ปี” ไม่ได้ เพราะเป็นโบราณสถานที่แสดงถึงความศรัทธาในศาสนาและเป็นพยานความรัก ความผูกพันระหว่างคนต่างวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันบนดินแดนแห่งนี้ในอดีตมาอย่างยาวนานจวบจนปัจจุบัน มุบีน เชฟเพิร์ด อดีตผู้สำเร็จราชการของอังกฤษประจำสหพันรัฐมาลายา กล่าวว่า “หากอาคารมัสยิดหลังนี้พังทลาย ย่อมจะนำมาซึ่งความสูญสลายของอาคารดั้งเดิมที่เต็มไปด้วยคุณค่าสูงยิ่งของสถาปัตยกรรมมลายูแท้” (อับดุลลอฮ์ ลออแมน, ๒๕๔๗: ๘) ฉะนั้น มัสยิดจึงไม่ใช่แค่เพียงอาคารแข็งทื่อที่ว่างเปล่าจากวิญญาณแห่งศิลป์ หากแต่เป็นบ่อเกิดแห่งทางนำแก่มนุษย์ทุกคนที่ปรารถนาความปลอดภัย ความสุขสบาย และการคุ้มครอง ด้วยเหตุนี้ มัสยิดจึงได้ผลิตนักปราชญ์ นักวัฒนธรรม นักรังสรรค์ผลงาน และศิลปินอิสลามผู้ยิ่งใหญ่มากมาย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในประวัติศาสตร์ยุคอดีตของมัน (Abdurl Raman Rukaini., ๑๙๗๙: ๑๕-๑๖)
...
...
ส่วนหนึ่งจากบทความเรื่อง "มัสยิดตาโละมาเนาะ (มัสยิดวาดีฮุเซน) : เรื่องราว ความหมาย ของมรดกทางสถาปัตยกรรมแห่งโลกมลายู" นำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับประจำปี ๒๕๕๙ ภายใต้กรอบเรื่อง "ศาสตร์เพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน" เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๙
เขียนโดย สุรชัย (ฟูอ๊าด) ไวยวรรณจิตร
นักศึกษาปริญญาเอก สาขาเอเชียศึกษา
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผู้บริหารโรงเรียนเร๊าะห์มานีย๊ะห์ อ.จะนะ จ.สงขลา
นักวิชาการ-นักวิจัยอิสระ
E-mail [email protected]
#ว่าด้วยเรื่องมัสยิดตาโละมาเนาะ#