Skip to main content

 

สืบเนื่องมาจาก เหตุการณ์ที่กลุ่มที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มอนุรักษ์กลุ่มหนึ่งกับ กฟผ ได้ทำการสางป่าชายเลนรอยต่อหนองจิก _เทพา

เราพยายามจะนำความเห็นทางวิชาการมานำเสนอต่อสังคมเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน โดยมองจากมุมมนักวิชาการด้านนิเวศวิทยา มุมคนทำงานด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลน และมุมชาวบ้านที่ทดลองทำป่าชายเลนชุมชน.

มีข้อมูลสั้น ๆ ดังนี้

ผศ. นุกูล รัตนดากุล นักนิเวศวิทยา อดีตอาจารย ์ม.อ ปัตตานี

ให้ข้อมูลเรื่องนี้ว่า

วัตถุประสงค์ การสางป่าคือ

_ให้แสงแดดส่งถึงพื้นน้ำ /ดิน

หากป่ารกมาก การสางทำให้เกิดการระบายน้ำด้วย

_ ช่วยให้กระตุ้นการผลิตในระบบนิเวศ เพิ่มอัตราการผลิต (productivity) แพลงตอนพืชอาหารพื้นฐาน จะเติบโต เพิ่มอาหารในระบบห่วงโซ่ และความสมบูรณ์ทั้งระบบ

วิธีการ

_สาง กิ่งที่บังแสง ตัดต้นไม้บางต้นออกบ้าง หากรกทึบบ้่าง เช่นมีหน่อแน่นทึบมาก. เอาออกสักหน่อสองหน่อ เช่น. ต้นจาก. ต้นสาคูที่ไม่ได้ตัดนำไปใช้. ก้จะเสื่อมโทรม. การนำไปใช้ ช่วยได้ บอกไม่ได้ว่า. พอ เหมาะสม คือแค่ไหน. แต่ขึ้นกับนิเวศ ภูมินิเวศ วิถีชุมชน ความหนาแน่น ชนิดพืช ความสม่ำเสมอของการใข้ประโยชน์

หลายที่ก้อไม่ต้องสางอะไร. เพราะชาวบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์อยู่แล้ว หาปลา ปู กุ้ง หรือเอากิ่งทำฟืน ป่าไม่ได้ทึบมาก.อยู่ที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์อยู่อย่างไร

เช่นเดียวการปลูกป่า บางทีไม่ต้องปลูก

เพราะการปลูกอาจไม่สอดคล้องกับวิถึพืช ที่หลากหลาย. แต่เราไป ทำให้มันเป็น monocropping

คือไปปลูกชนิดเดียว และบางพืช ไม่ใช่พืชที่ขึ้นตรงนั้น. เราไปยัดเยียดผิดที่ จึงไม่รอด เสียเวลา เสียหายด้วย

จนท. ป่าไม้หลายท่าน.เช่น สุนทร โต๊ะดำ จากป่าฮาลาบาลา บอกว่า ไม่เห็นด้วยกับการสางป่า เพราะธรรมชาติมันรักษาสมดุลย์ของมันเองอยู่แล้ว

จากการทำงานสนาม ลม้าย.มานะการ พบว่า ชาวบ้านไม่ได้สางบ่อย ทึบจริง ๆ. จึงทำ. เพราะชาวบ้านเข้าไปใข้ประโยชน์ในป่าเลนทุกวัน ช่วยรักษาสมดุลย์. แสงไม่ทึบมาก. ยกเว้นบางจุดที่ เขตอนุรักษ์ ไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์ คือไม่ได้เข้าไปกวน อาจช่วยธรรมชาติ เขาบ้าง สางบางจุด. แต่เท่าที่เห็น ถ้าไม้มันแน่น ธรรมขาติมันจัดการลดความแน่นลง เช่น บางต้นตายเสียบ้าง

ไม่เหมือนมนุษย์ ไม่เคยคิดว่าตัวเองรกโลก และมักโตเบียดชีวิตคนอื่นอย่างสม่ำเสมอ

สำคัญที่สุดคือกระบวนการมีส่วนร่วมคิด. ออกแบบกับคนที่ใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน ง่าย ๆ คือร่วมคิดกับชาวบ้านที่อยู่กับป่า

กรณีเทพา. สิ่งหนึ่งที่หน่วยงานภายนอกต้องตระหนักคือ. การมีส่วนร่วมคิด ร่วมแสดง ร่วมทำ ร่วมประโยชน์ของคนตรงนั้น

การที่ชาวบ้านออกมาร้องเรียน จึงเป็นการตักเตือนหน่วยงานที่ต้องฟังเสียงเขา. และถ้าไม่มั่นใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น ก็นำหลักวิชาการสมัยใหม่มาประกอบ ใช้ความรู้ท้องถิ่นผนวกความรู้สากลได้ค่ะ

จากประสบการณ์ของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านท่ากำชำ หนองจิก เขียนมา ดังภาพข้างต้นค่ะ

 

ในภาพอาจจะมี ต้นไม้, ต้นพืช, สถานที่กลางแจ้ง และ ธรรมชาติ