รัฐอิสลามคือ ระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบเทวาธิปไตย?
-------------------------------------------------------------
ตอบคำถามโดย ชัยคฺ ฟัยศอล เมาลาวียฺ
สลามครับ ชัยคฺ เราสามารถกล่าวว่ารัฐอิสลามที่เฝ้ารอยคอยนั้นเป็นรัฐแบบประชาธิปไตยหรือเทวาธิปไตยได้หรือไม่ อิสลามนั้นจะอธิบายว่าเป็นศาสนาแบบประชาธิปไตยหรือแบบเซคคิวล่าร์หรือแบบสังคมนิยมได้หรือไม่?
ประการแรก เราขอกล่าวว่ามุสลิมเห็นด้วยกับความเป็นประชาธิปไตยในแบบที่ดีที่สุด นั่นกล่าวได้ว่า ประชาชนมีสิทธิที่จะเลือกผู้ปกครอง ไม่ว่าจะสนับสนุนหรือขับไล่เขาก็ตาม ถ้าเขาพิสูจน์แล้วว่าเขาเป็นคนที่ขาดความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ ประชาชนยังมีสิทธิเสรีภาพอีกทั้งที่จะยอมรับสิทธิของผู้อื่นในการแสดงออก(ทางคิคเห็นและความรู้สึก)ของตัวเอง แต่พวกเขาก็มีสิทธิคัดค้านอย่างสันติกับระบบการปกครองที่เป็นอยู่เช่นเดียวกัน
ความแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งระหว่างรัฐอิสลามกับประชาธิปไตยคือภายใต้รัฐแบบประชาธิปไตย ประชาชนสามารถเลือกด้วยตัวของพวกเขาเองว่ากฎหมายใดที่พวกเขาปฏิบัติตาม สำหรับในรัฐอิสลาม ประชาชนมีข้อผูกมัดที่จะต้องปฏิบัติตามหลักของชะรีอะฮฺ ด้วยเหตุนี้เองเราไม่สามารถอธิบายรัฐอิสลามว่าเป็นแบบประชาธิปไตยได้ แต่กระนั้นก็มีคุณลักษณะบางประการที่เชื่อมโยงอยู่กับประชาธิปไตยเช่นการปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ความเหมือนและความต่างในมิติต่างๆ นี้มีความกระจ่างชัดปราศจากความคลุมเครือใดๆ
ประการที่สอง รัฐอิสลามมีบางสิ่งที่คล้ายกับระบบการปกครองแบบเทวาธิปไตย (ตรงนี้มีตัวอย่างที่ดีที่สุดของรัฐที่ปกครองในรูปแบบเทวาธิปไตยนั่นคือ รัฐคริสเตียนที่มีรากฐานอยู่ในทวีปยุโรปช่วงยุคกลาง) ในด้านที่ว่าทั้งอิสลามและคริสเตียนนั้นต่างมีการปกครองที่สอดคล้องกับหลักคำสอนของศาสนา แต่อย่างไรก็ตามยังมีช่องว่าที่ลึกระหว่างทั้งสองศาสนานี้ในด้านที่ว่ารัฐอิสลามไม่ถูกปกครองโดยนักบวช ยิ่งไปกว่านั้นผู้ปกครองจะถูกเลือกด้วยความต้องการของประชาชนอย่างอิสระ เขาอาจจะไม่ใช่นักปราชญ์ผู้ทรงความรู้ไม่ว่าในระดับใดก็ตาม
แต่กระนั้นก็ตามผู้ปกครองคนหนึ่งจะต้องอ้างอิงกลับไปยังเหล่านักปราชญ์ที่ได้รับการสนับสนุนในการอธิบายให้เขาทราบถึงหลักการของชะรีอะฮฺในปัญหาใดก็ตามเขากำลับประสบอยู่ ประชาชนมีสิทธิที่จะนำเขาสู่กระบวนการยุติธรรมในกรณีที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นมาจากส่วนของเขาหรือแม้กระทั่งขับไล่ผู้ปกครอง
นอกจากนั้น ชะรีอะฮฺได้ตระเตรียมกฎเกณฑ์หลักๆ ของการสถาปนารัฐบาลรวมทั้งรายละเอียดบางอย่าง ในรัฐแบบเทวาธิปไตยเหล่านักบวชสามารถใช้เหตุผลของพวกเขาในการเลือกอันเป็นแนวทางในการปฏิบัติตาม รัฐแบบเทวาธิปไตยปกครองโดยนักบวช แต่ขณะเดียวกันรัฐอิสลามจัดวางการปกครองที่สอดคล้องกับหลักการต่างๆ ของชะรีอะฮฺ ในรัฐอิสลามทั้งผู้ปกครองและผู้บังคับบัญชาต่างอ้างอิงไปยังอัล กุรอานและซุนนะฮฺที่เมื่อใดก็ตามที่เกิดความขัดแย้งขึ้นท่ามกลางพวกเขา
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะปลอดภัยกว่าที่จะกล่าวว่าอิสลามไม่สามารถอธิบายเป็นประชาธิปไตย เซคคิวล่าร์ หรือสังคมนิยมได้ เนื่องจากอิสลามเป็นวิถีแห่งชีวิตที่ได้รับการวิวรณ์จากผู้เป็นเจ้าอันมีธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ แต่มีบางอย่างที่เหมือนกับในหลักประชาธิปไตย กระนั้นก็ยังมีอีกหลายมิติที่ยังแตกต่างกันระหว่างทั้งสองอย่างนี้ รวมไปถึงแนวคิดแบบเซคคิวล่าร์และสังคมนิยมด้วย เพราะฉะนั้นจึงไม่เหมาะสมที่จะเรียกรัฐแบบอิสลามให้มีความหมายเหมือนกับอุดมการณ์ใดๆ ก็ตามดังที่กล่าวมาข้างต้น อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสว่า
“...วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว...” สูเราะฮฺ อัล มาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 3
อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงกล่าวอีกว่า “...พระองค์ทรงเรียกชื่อพวกเจ้าว่ามุสลิมีน ในคัมภีร์ก่อน ๆ และในอัลกุรอานเพื่อร่อซูลจะได้เป็นพยานต่อพวกเจ้า และพวกเจ้าจะได้เป็นพยานต่อมนุษย์ทั่วไป...” สูเราะฮฺ อัล หัจญ์ อายะฮฺที่ 78
อย่างไรก็ตาม ต้องจดจำไว้ว่ามุสลิมนั้นได้รับการอนุญาตที่จะอาศัยอยู่ภายใต้สังคมที่เป็นระบอบประชาธิปไตย เซคคิวล่าร์หรือสังคมนิยมตราบใดที่มันยังมอบอิสรภาพให้กับพวกเขาในเรื่องศาสนา เช่นเดียวกันมุสลิมได้รับอนุญาตที่จะปฏิบัติกฎหมายของสังคมต่างๆ เหล่านี้ตราบใดที่พวกเขาไม่ได้ขัดแย้งกับอิสลาม พวกเขาจะต้องเรียกร้องสิทธิของพวกเขาและจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของพวกเขาให้สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งชะรีอะฮฺที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแม้แต่น้อย
เผยแพร่ครั้งแรกที่เพจ ศูนย์ประสานงานเพื่อความเข้าใจอิสลาม ยมท.