ราชอาณาจักรสะอูดีย์
ราชอาณาจักรสะอูดีย์นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นมาและต่อเนื่องอย่างราบรื่นอย่างที่เห็นในทุกวันนี้ พัฒนาการของสอูดีย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะสำคัญ
......อาณาจักรระยะที่_๑ (the first Saudi state) หรือเรียกว่า Emirate of Diriyah (إمارة الدرعية ‘Imāra ad-Dir‘iyya ) อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1744–1818 เป็นการร่วมมือกันระหว่างเชค มุฮัมมัด บิน อับดุล วะฮฮาบ กับเจ้าเมืองดีรอียะฮฺ มุฮัมมัด บิน สะอูด ความเป็นปึกแผ่นที่ยาวนาของอาณาจักรมาจนถึงทุกวันนี้ เกิดจากการแต่งงานระหว่างบุตรขายของเจ้าเมืองอิบนุ สะอูด ที่ชื่อว่า อับดุล อะซีซ บิน มุฮัมมัด กับบุตรสาวของเชคมุฮัมมัด บิน อับดุลลวะฮฮาบฺ
ผู้ปกครองช่วงนี้มี 4 ท่านคือ
• Muhammad bin Saud 1726–1744 (Emir of Diriyah), 1744–1765 (Emir of Nejd)
• Abdul-Aziz bin Muhammad 1765–1803
• Saud bin Abdul-Aziz bin Muhammad bin Saud (Saud Al Kabeer) 1803–1814
• Abdullah bin Saud 1814–1818.
อาณาจักรเริ่มต้นจากเมืองดิรอียะฮฺ พื้นที่เล็กๆ ทางภาคตะวันออก แต่ต่อมาสม้ยท้ายๆ สามารถขยายไปครอบคลุมมักกะฮฺและมะดีนะฮฺได้ ซึ่งเป็นดินแดนในอารักขาของออตโตมัน ทำให้ออตโตมันออกคำสั่งให้ผู้ปกครองอิยิปต์คือ มุฮัมมัด อาลี ปาชา (1769 –1849) ยึดกลับมา โดยส่งลูกชายอิบรอฮีม ปาชา เข้าไปทำสงคราม( ซึ่งบางคนเรียกว่า Ottoman–Wahhabi War ) สงครามครั้งนี้ยึดดินแดนสอูดีย์ได้ทั้งหมดและสามารถปิดล้อมเมืองดิรอียะฮฺ จนได้รับชัยชนะ ผลคืออาณาจักรสอูดีย์ล่มสลายลง ผู้ปกครองคนสุดท้ายคือ อับดุลลอฮฺ อิบน สะอูด ถูกส่งตัวไปที่คอนสแตนติโนเปิล และถูกประหารด้วยการตัดศีรษะและโยนทิ้งไปในทะเลที่ช่องแคบบอสฟอรัส เป้นการสิ้นสุดอาณาจักรสะอุดียฺระยะที่หนึ่ง
.....อาณาจักรระยะที่_๒ ( the second Saudi state) หรือที่เรียกว่า Emirate of Nejd ( إمارة نجد ‘Imāra Najd ) อยู่ระหว่างปีค.ศ. 1824–1891 โดยผุ้นำตระกูลสะอูดยุคนี้จะถูกเรียกว่า “อิหม่าม” ผู้ที่ก่อตั้งอาณาจักรยุคที่สองนี้ชื่อว่า Turki bin Abdullah bin Muhammad ซึ่งเป็นลูกชายของ “อับดุลลอฮฺ” ที่เป็นบุตรชายอีกคนหนึ่งของผู้ก่อตั้งอาณาจักรสอูดีย์ยุคที่หนึ่ง(คือ อิบนุ สะอูด) เขาจึงมีสถานะเป็นหลานชายแท้ๆ ของผู้ก่อตั้งอาณาจักรระยะที่หนึ่ง ส่วนตัวของตุรกีนั้นได้กลายเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรในยุคที่สอง ด้วยการเข้าไปยึดนครริยาฏ จากอิยิปต์ได้ในปีค.ศ. 1824 อาณาจักรในยุคนี้ไม่ได้มีดินแดนใหญ่โต ไม่ได้ขยายไปครองเหนือมักกะฮฺและมะดีนะฮฺเหมือนในอดีต อาณาจักรดำเนินไปพร้อมกับความขัดแย้งระหว่างคนในตระกูลสะอูดกันเอง จนนำไปสู่ความอ่อนแอ และพ่ายแพ้ต่อตระกูลอัรเราะชีดที่ใกล้ชิดกับทางออตโตมัน และปิดฉากตระกูลสะอูดไปในปี ค.ศ. 1891 ผู้ปกครองคนสุดท้ายคือ Imam Abdul Rahman bin Faisal ได้หลบหนีไปที่อีรัก หากเปรียบเทียบกับอาณาจักรยุคที่หนึ่ง ยุคนี้มีเล็กกว่ามากและยังมีความกระตือรือร้นในเรื่องศาสนาน้อยกว่าด้วยเช่นกัน
.....อาณาจักรระยะที่_๓ แบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเป็นช่วงฟื้นฟูอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่น(ค.ศ. 1902–1932) และช่วงที่สองเป็นช่วงอาณาจักรสมัยใหม่(1932 ถึงปัจจุบัน) การฟื้นฟูอาณาจักรเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1902 จากการที่อับดุลอะซีซ อิบนุ สะอูด(ค.ศ. 1875- 1953) ซึ่งเป็นบุตรชายของผู้ปกครองคนสุดท้ายของอาณาจักรสะอูดีย์ระยะสอง(ชือว่า Abdul Rahman bin Faisal) ได้ขอกำลังจากอะมีรของคูเวต แล้วได้นำกองกำลังเล็กๆ นี้เข้ายึดเมืองริยาฎจากตระกุลอัรเราะชีดได้ สงครามและการขยายดินแดนในคาบสมุทอาหรับยังคงมีอยู่อีกหลายปี สามารถขยายไปครอบครองดินแดนหิญาซ((ค.ศ.1925) ที่ตั้งของมักกะฮฺและมะดีนะฮฺได้ จนกระทั่งกลายเป็นอาณาจักรหนึ่งเดียวในนาม “ราชอาณาจักรสะอูดีย” ในปีค.ศ. 1932 มีพื้นที่กว้างใหญ่ประมาณ 2.1 ล้านตารางกิโลเมตร(ปัจจุบันมีประชากร 33 ล้านคน) กุญแจสำคัญของชัยชนะชองอิบนุ สะอูดคือ กองทัพที่เสียสละของเบดูอีนทีเรียกว่า “อัลอิควาน” เป็นมุสลิมที่เชื่อมั่นในการฟื้นฟูอิสลามของมุฮัมมัด บิน อับดุล วะฮฮาบ
จากนั้นสะอูดีย์เข้าสู่อาณาจักรยุคใหม่ (1932 ถึงปัจจุบัน) หลังจากอิบนุ สะอูด เสียชีวิต(ค.ศ.1953) กษัตริย์ที่มาปกครองสะอุดีย์ในปัจจุบันต่างก็เป็นบุตรชายของเขาสืบกันมา ดังต่อไปนี้
• King Saud (1953–1964)
• King Faisal (1964–1975)
• King Khalid (1975–1982)
• King Fahd (1982–2005)
• King Abdullah (2005–2015)
• King Salman (2015–present)
กษัตริย์สัลมาน คงเป็นบุตรชายของอิบนุ สะอูด คนที่หก ที่ได้เป็นกษัตริย์ และคงเป็นสุดท้าย เพราะรัชทายาทคนต่อไปที่วางไว้นั้นไม่ได้เป็นบุตรของอิบนุ สะอูด ชื่อว่าเจ้าชาย Muhammad bin Nayef มีสถานะเป็นหลาน คงจะเป็นครั้งแรกที่รุ่นที่สามจะได้สืบทอดราชอำนาจ
ที่มาเพจ Tarikh - ประวัติศาสตร์