ซาอุดีตามล่าอิควาน เป้าหมายต่อไปคือตุรกี
________________________________________
เว็บไซต์ บลูมเบิร์ก เผยแพร่รายงานข่าวชิ้นหนึ่ง เรื่อง "ซาอุดีตามล่าอิควาน เป้าหมายต่อไปคือตุรกี" เขียนโดย อาโนร์ แอนท์ และฆีท เชนเนบ รายงานชิ้นนี้ระบุว่า การเดินทางไปยังริยาดของทรัมป์ เปิดเผยให้เห็นว่า ในภูมิภาคนี้มี 3 กลุ่ม โดยทรัมป์กล่าวถึง 2 กลุ่มที่เผชิญหน้ากัน คือ ฝ่ายธรรมะ อันได้แก่ผู้ที่มาร่วมการประชุม และฝ่ายมารที่ประกอบด้วยอิหร่านและไอสิส
แต่หลังจากทรัมป์กลับไป กลับปรากฎว่า ในภูมิภาคมีมากกว่า 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่นำโดยซาอุดีอาระเบียที่ทรัมป์สนับสนุน กลุ่มที่นำโดยอิหร่าน และกลุ่มที่ 3 ซึ่งยังไม่สามารถชี้ชัดว่ามีใครบ้าง แต่ส่วนหนึ่งประกอบด้วยกาตาร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งฐานทัพอเมริกาที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง และศูนย์กลางของวิกฤติในปัจจุบัน รวมถึงตุรกีและกลุ่มอิควานมุสลิมูน ซึ่งเป็นองค์กรที่ไร้รัฐ แต่ได้รับการสนับสนุนจากหลายๆชาติ
กลุ่มอิควานมุสลิมูน ตั้งมาราวๆ 90 ปี ที่ตกเป็นเป้าของซาอุดีอาระเบียและรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชอาหรับนับตั้งแต่ต้นทศวรรษนี้ โดยกลุ่มสามารถขึ้นมามีอำนาจปกครองในระยะเวลาสั้นๆในอียิปต์ และคาดว่าในอนาคต จะมี ณ ที่อื่นๆอีก
ชาดี หะมีด จากสถาบันบรูกกิง กล่าวว่า เครือข่ายของซาอุดีเห็นว่ากลุ่มอิควานเป็นกลุ่มเดียวที่มีลักษณะเป็นสถาบันและข้ามชาติ ที่นำเสนอรูปแบบทางการเมืองและทางกฎหมายที่แตกต่าง พวกเขาปฏิบัติต่อกลุ่มในฐานะภัยคุกคาม ด้วยเหตุนี้เอง อิควานจึงถูกถือว่าเป็นเหตุทำให้เกิดความแตกแยกในภูมิภาค โดยเฉพาะเกี่ยวกับท่าทีต่อปรากฏการณ์อาหรับสปริง
รายงานชิ้นนี้เห็นว่า ข้อเรียกร้องหลักที่กลุ่มประเทศบอยคอตเรียกร้อง คือ การตัดสัมพันธ์กับกลุ่มอิควาน การปิดสถานีอัลจาซีร่า ที่พวกเขาเห็นว่า เลือกข้างกลุ่มอิควาน รวมถึงการปิดฐานทัพตุรกี
ในขณะที่ กาตาร์ซึ่งเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชเช่นกัน ก็ไม่ได้ให้โอกาสแก่กลุ่มอิควานในการแสดงความเห็นทางการเมืองภายใน แม้ว่าจะให้การสนับสนุนก็ตาม
รวมถึงแอร์โดฆานที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มอิควาน เพราะถือว่าพรรคของเขาได้รับชัยชนะในทางการเมือง ก็เนื่องมาจากพลังประชาชนลักษณะเดียวกับที่ทำให้กลุ่มอิควานได้เป็นรัฐบาลในอียิปต์ช่วงกระแสอาหรับสปริงพีกสุด
มุฮัมมัด ดัรรอจ รมต.กระทรวงยุทธศาสตร์ในสมัยรัฐวาลอิควานในอียิปต์ กล่าวว่า หลังถูกปฏิวัติที่ซาอุดีสนับสนุนและกาตาร์ต่อต้าน ตนเองหนีไปกาตาร์แล้วต่อไปยังตุรกี ภายหลังจากที่กาตาร์ถูกกดดันหนัก ในปี 2014 โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นในตุรกี ปัจจุบันเป็นผู้บริหารสถาบันอียิปต์เพื่อการเมืองและยุทธศาสตร์ศึกษาในกรุงอิสตันบูล
ดัรรอจ กล่าวว่า การที่ตุรกีสนับสนุนกาตาร์ ก็เนื่องจากมีความเชื่อว่าหากปล่อยให้กาตาร์พ่ายแพ้ หรือยอมรับโดยดุษณีต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มประเทศอาหรับ ก็จะเป็นภัยอันตรายต่อตุรกีด้วย
ดัรรอจ ยังกล่าวต่อว่า หากตุรกีเปลี่ยนท่าทีก็จะเป็นจุดจบของกลุ่มอิสลามสายกลางในภูมิภาคและจะเป็นเวลาที่ยาวนานทีเดียว โดยที่ ยาสีน เเอกทัย สส.ตุรกี ที่เป็นตัวเชื่อมกับกลุ่มอิควาน กล่าวว่า หากเป็นเช่นนั้น กลุ่มที่จะมาทดแทนก็จะเป็นกลุ่มในลักษณะไอสิส เพราะกลุ่มอิควานถือได้ว่าเป็นตัวแทน "ประชาธิบไตยอิสลาม"
ในขณะเดียวกัน ซาอุดีอาระเบีย เห็นว่า กลุ่มอิควานเป็นตัวแทนแห่งความชั่วร้าย ดังคำกล่าวของ รมต.กระทรวงความมั่นคงภายใน นอกจากนั้น อิมิเรตยังจับกุมสมาชิกกลุ่มเป็นจำนวนมาก โดยเห็นว่ากลุ่มอิควานเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐอื่นโดยใช้องค์กรลับและการก่อการร้าย
ก่อนหน้าที่จะมายังซาอุดีราวๆหนึ่งเดือน ทรัมป์ต้องการขึ้นบัญชีกลุ่มอิควานเป็นกลุ่มก่อการร้าย แต่ รมต.ต่างประเทศของเขาคัดค้าน โดยกล่าวต่อกรรมาธิการต่างประเทศในสภาคองเกรส ว่า จะทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะสมาชิกกลุ่มบางส่วนไม่เอาความรุนแรงและเข้าไปมีส่วนร่วมในรัฐบาลบางประเทศ
มาดีหัต หัดดาด แกนนำกลุ่มอิควานกล่าวว่า ในคืนกบฏตุรกี แอร์โดฆานได้ขาดการติดต่อไปหลายชั่วโมง เราคิดกันว่า จะไปที่ใดอีก
นอกจากความสัมพันธ์ด้านแนวคิดแล้ว ตุรกีกับกาตาร์ยังมีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจอีกด้วย โดยที่นักลงทุนรายใหญ่ในตุรกีในด้านธนาคารและการสื่อสารคือกาตาร์ แต่ในด้านการค้าขายเป็นซาอุดีอาระเบียและอิมิเรต โดยที่ในปีที่ผ่านมาทั้งสองประเทศซื้อสินค้าจากตุรกีมูลค่าถึง 8.6 พันล้านดอลลาร์ มูลค่ามากกว่าการซื้อของกาตาร์ถึง 20 เท่า
ดังนั้น แอนโทนี สไกเนอร์ จากบริษัท Verisk Maplecroft จึงเห็นว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของรัฐบาลแอร์โดฆานได้ โดยคาดการณ์ว่า สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด อาจถึงขั้นบอยคอตเต็มรูปแบบ หรืออาจบอยคอตแบบมีทางเลือก
ด้วยเหตุนี้เอง แม้จะสนับสนุนกาตาร์ แต่แอร์โดฆานก็ไม่ได้โจมตีซาอุดีอาระเบียอย่างรุนแรงแต่อย่างได
ที่มา https://www.bloomberg.com/news/articles/2017-07-03/saudis-are-after-the-...