Skip to main content

 

                                          ในอดีตแก่งนางรำเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำแห่งนี้ได้ แก่งนางรำยังเป็นที่รวมตัวของชาวบ้านในการทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น งานบวช สระหัวนาค ชักพระ เป็นต้น

                     นอกจากนี้ ชาวบ้านที่อยู่ต่างตำบลไม่ว่าจะเป็นพุทธหรือมุสลิมก็จะมาเล่นน้ำที่แก่งนางรำแห่งนี้ ต่อมาเมื่อทางชลประทานเห็นว่าที่นี่มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์สามารถกักเก็บน้ำสำรองได้มากเพื่อใช้ในยามขาดแคลนจึงได้ดำเนินการสร้างฝายในปี พ.ศ.2533 โดยใช้เวลา 1 ปีซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2533 เช่นเดียวกัน 

                   หน่วยงานที่สามารถใช้ประโยชน์จากฝายแก่งนางรำ ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค สาขายะหา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหารวมถึงชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

                  แต่ในปัจจุบันฝายแก่งนางรำประสบปัหาเกี่ยวกับความแห้งแล้งและไม่สามารถที่จะกักน้ำได้อย่างเต็มที่เนื่องจากน้ำจากป่าต้นน้ำมีไม่เพียงพออันเป็นผลสืบเนื่องจากความแปรปวนของธรรมชาติและปัญหาจากการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเมื่อน้ำไม่สามารถไหลผ่านได้อย่างเต็มที่ฝายแก่งนางรำจึงกลายเป็นพื้นที่ทรุดโทรม

                ปัจจุบันบริเวณทางเดินปกคลุมด้วยใบไม้และขอนไม้ ขนาดใหญ่น้อยที่ถูกตัดและทิ้งไว้อย่างสะเปะสะปะรวมถึงขยะที่ไหลมาพร้อมกับน้ำทำให้น้ำเสียเร็วขึ้น จากปัญหาเหล่านี้ทำให้ฝายแก่งนางรำไม่สามารถที่จะทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีวัฒนธรรมและศาสนาได้ อีกทั้งยังสูญเสียแหล่งท่องเที่ยวของพื้นที่ตำบลตาชีไปอีกหนึ่งแห่งด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหน่วยงานในพื้นที่ เยาวชนในชุมชน และเยาวชนในโครงการเยาวชนพัฒนาเยาวชนต้นแบบเติมความหวังสู่สังคมโรงเรียนยะหาศิรยานุกูล ร่วมมือที่จะฟื้นฟูฝายแก่งนางรำให้กลับมามีชีวิตอีกครัั้งจึงทำให้เกิดกิจกรรมพัฒนาฝายแก่งนางรำในวันที่ 15 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา