วันที่ 19 สิงหาคม 2560 เยาวชนโรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์ในโครงการพัฒนาเยาวชนต้นแบบเติมความหวังสู่สังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 16 คน ได้ลงพื้นที่ศึกษาเกี่ยวกับปลากือเลาะห์ หรือปลาพลวงชมพูที่ศูนย์วิจัยประมงน้ำจืดยะลา ได้มีคุณ อิรฟาน มาปะ เป็นวิทยากรในการอธิบายเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาพลวงชมพูพร้อมได้พาเยาวชนเดินดู บ่อที่เลี้ยง ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา ซึ่งได้ข้อมูลดังนี้
ในปี พ.ศ. 2534 ได้นำปลาเข้ามาเพาะเลี้ยงในศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา
ในปี พ.ศ. 2543 ศูนย์วิจัยสามารถเพาะเลี้ยงปลาพลวงชมพูได้สำเร็จ
ในวันที่ 3 กันยายน 2543 ได้ทำการปล่อยปลาพลวงชมพูลงสู่เขื่อนบางลาง โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร
ในปี พ.ศ. 2556 ได้ประกาศให้ปลาพลวงชมพูเป็นปลาประจำจังหวัดยะลา
ในวันที่ 2 เมษายน 2560 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ปล่อยปลาพลวงชมพูลงสู่เขื่อนบางลาง จำนวน 63 ตัวซึ่งเท่ากับ พระชนพรรษา ของพระองค์ ผ่านวิธีการออนไลน์
ปลาพลวงชมพูจะอาศัยในน้ำธรรมชาติที่มีออกซิเจนสูง คุณภาพดี อุณหภูมิอยู่ที่ 25 องศา ยิ่งในอากาศเย็นจะยิ่งดี ซึ่งลักษณะน้ำดังกล่าวนี้ มีอยู่ที่ ธารโต และ ศรีสาครเท่านั้น เพราะน้ำมากจากต้นน้ำฮาบาลา และ เขื่อนบางลาง
ปลาพลวงชมพูหรือปลากือเลาะห์ ถูกพบโดยชาวบ้านในแม่น้ำปัตตานีและ เขื่อนฮาลาบาลา หลังจากที่ชาวบ้านพบเจอ ชาวบ้านนำมามอบให้กับศูนย์วัจัยประมงน้ำจืดจังหวัดยะลา เพื่อเพาะพันธ์ และขยายพันธ์ โดยศูนย์ประมงจะเลี้ยงด้วยระบบออกซิเจน ซึ่งเมื่อศูนย์ทำการเพาะพันธ์ และ เลี้ยงจนสามารถที่จะขยายพันธ์ต่อได้ โดยศูนย์ประมงจะเลี้ยงด้วยระบบออกซิเจน
ศูนย์ประมงก็ส่งต่อปลาพลวงชมพูที่เพาะได้ให้กับชาวบ้านที่สนใจจริงๆ และ อีกส่วนทำการปล่อยลงสู่เขื่อนบางลางเพื่อให้มันเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ซึ่งปลาพลวงชมพูถือเป็นปลาที่แพงที่สุดในอาเซียน เพราะกระบวนการเลี้ยง กระบวนการรักษาสมดุลของน้ำ รวมถึงอายุการเจริญเติบโตที่ ใช้เวลานานและมีความเสี่ยงสูงที่ปลาจะรอด หากวัดจาก 2,000 ตัวที่แม่พันธ์ฝักออกมา ก็จะรอดเพียงแค่ 20 ตัว
โดยขั้นต่ำหากต้องการที่จะจำหน่ายหรือบริโภคอยู่ที่ สามปี โดยเฉลี่ยประมาณ 3 -4 กิโลกรัม หากจำหน่ายกิโลละ 1,000 หรือหนึ่งตัวประมาณ 4,000-6,000 บาท
ประเทศที่มีการบริโภคมากที่สุดจะเป็นประเทศมาเลเซีย กับ ไต้หวัน ซึ่งประเทศมาเลเซีย มีการเลี้ยงปลาพลวงชมพู ซึ่งมีน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อการบริโภคทำให้นักธุรกิจร้านอาหารในประเทศมาเลเซียจะติดต่อ ค้าขายปลาพลวงชมพูในพื้นที่ธารโตของประเทศไทย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นปลาพลวงชมพูก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะด้วยกระบวนการเลี้ยงทุกอย่างยากต่อการเจริญเติบโตและต่อการดูแล หากน้ำที่เลี้ยงขาดออกซิเจนเพียงนิดเดียวก็จะทำให้ตาย
หลังจากได้ข้อมูลจากศูนย์วิจัย ก็ได้ทำการเคลื่อนย้ายไปศึกษาการเลี้ยงปลาพลวงชมพูบ้านปราชญ์ชาวบ้าน
ข้อมูลจากบ้านนาย สมนึก หอมนุ่น หรือ ลุงแบน ปราชญ์ชาวบ้านปลาพลวงชมพู
บ้านของลุงแบนจะเลี้ยงปลาพลวงชมพูพร้อมกับปลาชนิดอื่นๆ ได้แก่ ปลาคราฟ ปลาหมอ ปลานิล ปลากด ปลายี่สก และปลาดุก ซึ่งเหตุผลที่ลุงแบนได้เลี้ยงรวมเพราะว่า หากเลี้ยงปลาพลวงชมพูอย่างโดดเดียวจะทำให้มันกินอาหารน้อย อีกทั้งลุงแบนเลี้ยงปลาพลวงชมพูด้วยน้ำที่มาจากธรรมชาติเป็นน้ำไหลผ่านไม่ใช้ออกซิเจน ปัจจุบันปลาพลวงชมพูบ้านลุงแบนมีทั้ง 15 ตัว จาก 18 ตัว สามตัวที่ตายเกิดจาก เห็บน้ำ โดยอาหารที่ลุงแบนให้เป็นอาหารปลาดุ เช่นเดียวกันกับ ศูนย์ประมงน้ำจืด โดยให้สองเวลา เช้า กับ เย็น
ความแตกต่างการเลี้ยงปลาพลวงชมพูด้วยระบบออกซิเจน และน้ำธรรมชาติ คือ ปลาพลวงชมพูที่เลี้ยงผ่านออกซิเจนจะคล้ายสีเทา ออกทางดำ ส่วน ปลาพลวงชมพูที่ถูกเลี้ยงด้วยน้ำธรรมชาติ จะมีสีชมพู เกล็ดสวยงาม และ แวว
เมื่อได้ข้อมูลทั้งสองส่วนแล้ว เยาวชนนำมาเรียบเรียงเพื่อเผยแพร่บนโซเซียลมีเดีย และ นำเผยแพร่ในโรงเรียน อีกทั้งเยาวชนได้วาดแผนที่เดินดินเส้นทางการศึกษาการเลี้ยงปลาพลวงชมพูในธารโตอีกด้วย