Skip to main content

 

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

 

#รู้จักชาวเคิร์ด
#ศาสนาและผู้คน

ความรู้เดิม ๆ ของผมเกี่ยวกับชาวเคิร์ดไม่ได้แตกต่างกับคนอื่นมากนัก อย่างรู้ว่า พวกเขาอยู่ในรอยต่อของสี่ประเทศหลัก อย่างตุรกี ซีเรีย อิรัค และอีหร่าน ... ในตุรกีจะมากกว่าที่อื่น อาจจะถึงหนึ่งในสี่ของประชากรตุรกี ในอีหร่านเป็นที่อยู่มากที่สุดอันดับสองของชาวเคิร์ด อาจะเป็นสัดส่วนถึงหนึ่งในสิบของชาวอีหร่าน ลำดับต่อมาคืออีรักที่มีชาวเคิร์ดอยู่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของประชากรเช่นเดียวกัน ในซีเรียอาจถือว่าน้อยลงไปไม่ถึงหนึ่งในสิบ ... ถือว่าทั้งสี่ประเทศนี้ชาวเคิร์ดเป็นประชากรกลุ่มน้อยที่สำคัญ บทบาททางการเมืองนั้นน่าจะมีปัญหาหนักที่สุดในตุรกีและอีรัก 

ส่วนความรู้เดิมๆ เกี่ยวกับศาสนาของชาวเคิร์ดนั้น รู้ว่าเป็นสุนนี่ สังกัดมัซฮับชาฟีอียฺ เป็นส่วนใหญ่ เหมือนกับมัซฮับโดยทั่วไปของอุละมาอ์ชาวเคิร์ดตั้งแต่อดีตมาก ศอลาฮุดดีนน่าจะเป็นเคิร์ดที่ดังที่สุด เขาเป็นสุนนี่ที่เป็นชาฟิอีย์ แต่ว่าไปแล้วเขาเป็นลูกชาวเคิร์ดที่โตในดินแดนอาหรับ เขาพูดอาหรับเป็นหลัก อุละมาอ์นักประวัติศาสตร์อย่างอิบนุอะษีรที่โด่งดังในอดีตผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์ดัง “อัลกามิล ฟิต ตารีค” ก็เป็นชาวเคิร์ด ... อาจารย์คนสำคัญที่คอยให้ความรู้ตอนวัยเด็กแก่มุฮัมมัด อัลฟาติหฺ เป็นชาวเคิร์ดชื่ออะหฺมัด คูรอนีย มาจนถึงอุละมาอ์นักฟื้นฟูที่โด่งดังที่สุดของตุรกีสมัยใหม่คือ บะดีอุซซามาน สะอีด นูรสีย์ ก็เป็นชาวเคิร์ด ... ดูเหมือนว่าชาวเคิร์ดจะสนิทกับชาวเติร์กมาก และมักอยู่ในฐานะผู้รู้

หลังจากไปอ่านแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่หลากหลาย ก็ได้พบข้อมูลใหม่ๆ ที่สัมผัสความสับสนของชาวเคิร์ดได้ไม่น้อย ... จากประชากรที่มีประมาณ 30 ล้านคนในเขตพื้นที่เรียกว่า เคิร์ดิสถาน

อย่างแรก ชาวเคิร์ดพูดภาษาตระกูลอินโดยุโรเปี่ยนที่ถือว่าเป็นสายเดียวกับเปอร์เซีย เป็นภาษาที่จัดอยู่ในความเป็นฝรั่ง แต่ภาษาถิ่นระหว่างเคิร์ดแตกต่างกันพอสมควร ตัวอักษรก็ไม่ได้เป็นแบบเดียวกัน ตัวอาหรับนั้นเป็นที่นิยมในอีรักและซีเรีย ตัวลาตินนั้นใช้ในตุรกี ... แต่นั้นไม่สับสนเท่ากับเรื่องศาสนา

ชาวเคิร์ดส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ในด้านหนึ่งก็คล้ายๆ กับมุสลิมทั่วโลก คือมีพวกเคร่งไม่เคร่ง มีสลาฟีไม่สลาฟี แต่ส่วนใหญ่พวกเขาเป็นสุนนี่แบบชาฟีอีย์ที่เป็นเหมือนการทำตัวไม่ให้เหมือนกับอาหรับและเติร์กในพื้นที่นั้นที่มักเป็นฮานาฟีเกือบทั้งหมด ความเป็นชาฟิอีย์ของเคิร์ดที่ว่าแปลกมาก เพราะห่างไกลจากคนถือชาฟิอีย์ในที่อื่นๆ เพราะไปเติบโตบนแถบภูเขาไม่ติดทะเล (ความนิยมในมัซฮับชาฟิอียฺส่วนใหญ่อยู่ริมทะเล อย่างในด้านมหาสมุทรอินเดีย หรือก็ตอนเหนือของอิยิปต์) ... เคิร์ดแบบนี้ส่วนใหญ่อยู่ในอิรัก

อีรักเป็นเคิร์ดที่เอาศาสนามากกว่าเคิร์ดที่อื่น เคิร์ดในอีหร่านจำนวนหนึ่งเป็นชีอะฮฺ แต่ถือว่าอ่อนแอมาก ว่ากันว่าเป็นไปตามนโยบายของอีหร่านเสียมากกว่า เคิร์ดอีหร่านเปลี่ยนไปเป็นคริสเตียนนั้นพบได้บ่อยในยุโรป เคิร์ดในซีเรียก็ไม่ค่อยเคร่ง ... เคิร์ดในตุรกีนั้นเป็นแนวเสรีนิยมมาก หนึ่งในสี่พวกเขาเป็นพวกอาลาวีย์ ซึ่งจัดเป็นชีอะฮสายพิเศษ พวกเขาไม่ได้มีมัสญิด แต่มีสถานสักการะทีเป็นแบบอื่น จึงไม่ได้เป็นมุสลิมอย่างที่เราเข้าใจกัน นี่คงผสมผสานเป็นความแตกต่างที่หนักอยู่ไม่น้อยกับพวกเติร์กโดยทั่วไป

นอกจากนี้ยังมีเคิร์ดที่ถือความเชื่อแบบ Yezidis ประมาณล้านคน (ดังที่เราเห็นพวกเขาในข่าว) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอีรัก ถือได้ว่าเป็นศาสนาอีกแบบหนึ่งที่สืบทอดมาจากยุคเมโซโปรเตเมีย และผสมผสานกับยิว คริสต์ และอิสลาม 

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ของชาวเคิร์ดก็เป็นสุนนี่และมักเป็นชาฟิอีย์ ในอดีตก็มีอุละมาอ์หลายคนที่เป็นเคริ์ด(และสังกัดมัซฮับชาฟิอียฺ) นอกจาก อิบนุ อะษีร, อะหฺมัด คูรอนียฺ แล้ว ยังมีบะฮาอุดดีน อัชชัดดาด นักประวัติศาสตร์ในยุคเศาะลาฮุดดีน, อิบน อัลญะซะรีย์ ผู้เชี่ยวชาญอัลกุรอาน, อิบนุ ค็อลลิกาน นักเขียนประวัติบุคคล เป็นต้น

ชาวเคิร์ดประมาณการณ์กันในปัจจุบันมีประมาณสามสิบล้านคน มากที่สุดในตุรกีประมาณ 18 ล้านคน ในอีหร่านประมาณ 8 ล้านคน ในอีรักมากกว่า 5 ล้านคน ในซีเรียอีกกว่า 2 ล้านคน กระจายอยู่ทั่วโลกอีกประมาณ 2 ล้านคน 

ความรู้ใหม่ๆ อีกหลายอย่างเกี่ยวกับพวกเคิร์ด ที่พบในหัวข้อศึกษาวิจัยกันมากมาย เพราะพวกเขาไม่ได้มีจำนวนน้อยๆ ถือเป็นประชากรอันดับสี่ในตะวันออกกลาง(รองจากอาหรับ เติร์ก เปอร์เซีย) แต่กระจายอยู่ร่วมกับทั้งสามชนชาติหลัก และเป็นชาติพันธ์ที่อยู่ตรงรอยต่อของชนชาติใหญ่ทั้งสาม(อาหรับ เติร์ก เปอร์เซีย) ในอดีตนั้นมันไม่ได้มีปัญหา เพราะไม่ได้อยู่ในระเบียบของรัฐชาติ ก็อยู่ร่วมกันเป็นมุสลิมอุมมะฮฺ แต่ปัญหามันเกิดขึ้นทันทีเมื่อเกิดรัฐชาติขึ้น ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา ชาวเคิร์ดพยายามตั้งรัฐอิสระขึ้นหลายครั้ง แต่ก็จบลงในเวลาสั้นๆ ทุกครั้งไป

เคิร์ดกลายเป็นตัวเล่นที่เกี่ยวพันกับเสถียรภาพของภูมิภาคนี้โดยตรง

เพจ Tarikh - ประวัติศาสตร์