วิกฤตในกลุ่มประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียกำลังจะเปลี่ยน ภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคนี้จริงไหม?
จากคำถาม ข้างต้น สถานการณ์ในขณะนี้มันยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่เราได้เห็นความร้าวฉานที่ชัดแจ้งบนดินแดนแถบนี้ ซึ่งคงจะกลับมาคืนดีดังเดิมได้ยาก
ในเมื่อวิกฤติมีทีท่าจะยืดเยื้อ ก็เป็นธรรมดา มันจะค่อยส่งผลให้ภูมิรัฐศาสตร์เปลี่ยนแปลง แต่ก็มิได้ หมายความว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นไม่สามารถจะยุติได้ ตรงกันข้ามมันอาจจะเกิดผลในสิ่งที่เราไม่เคยคาดการณ์มาก่อนก็อาจเป็นได้
ตัวบ่งชี้ ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่
นวนิยายอังกฤษเรื่องหนึ่ง เขียนอุปมาอุปไมว่า ไข่ที่ไต่อยู่บนเพดานสูงสูง เป็นธรรมดาเมื่อมันตกลงมา มันย่อมแตกสลายยับเยิน ไม่สามารถจะสมานให้เป็นไข่ฟองเดิมได้
อุปไมดั่งผู้นำคนใดในโลกนี้ เมื่อสิ้นอำนาจไปแล้ว เขาไม่สามารถย้อนอดีตให้กลับมามีอำนาจมาดังเดิมได้อีกแล้ว
คำแถลงของ อามีรฺ ประเทศคูเวต ณ กรุงวอชิงตัน ในฐานะตัวกลางในการไกล่เกลี่ย ซึ่งได้แถลงว่า ประสบผลสำเร็จในการยับยั้งมิให้เกิดสงคราม อันเป็นภาวะที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤตินี้ ซึ่งวิกฤติในครั้งนี้ได้ทำลายความเชื่อมั่น ไว้วางใจซึ่งกันและกันไปหมดสิ้นแล้ว ทำให้แต่ละฝ่ายจำเป็นต้องหยิบยกรากฐานความสัมพันธ์ใหม่ๆที่นอกเหนือจากความสัมพันธ์ทวิภาคีหรือพหุภาคีแบบเดิมๆ
จนถึงวินาทีนี้ ยังไม่มีการตัดสินใจทางการเมืองใดๆจากแต่ละฝ่าย ในการตัดสินใจเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ แต่ละฝ่ายกำลังปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ก็มิได้หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงในทางภูมิรัฐศาสตร์จะไม่เกิดขึ้น
ความขัดแย้งและการเป็นพันธมิตรในหลายกรณี ได้เกิดขึ้นตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคหรือพื้นที่ นั่นหมายความว่า สถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวกำหนดการปฏิบัติการของผู้นำแต่ละประเทศ ดังจะเห็นได้จากกรณีของตุรกีและอีหร่าน ทั้งสองประเทศคัดค้านอย่างรุนแรงในเรื่องการลงประชามติของเคิร์ดในอีรัก ในขณะที่ทั้งสองประเทศมีความขัดแย้งในเรื่องซีเรีย
ข้อเท็จจริงและสถานการณ์ทางการเมืองในภูมิภาคหรือพื้นที่จะเป็นตัวกำหนดภูมิรัฐศาสตร์ใหม่มากขึ้น
จากคำแถลงของ อามีรฺของประเทศคูเวตนั้น เป็นตัวบ่งชี้ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศกาตาร์นั้น มีความเป็นได้ สามารถจะเกิดกับประเทศอื่นๆได้ด้วยเช่นกัน
มีหลายๆสิ่งที่ชี้ว่า กำลังจะเกิดภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ เช่น การฟื้นความสัมพันธ์และยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตของกาตาร์กับอีหร่าน การโยกย้ายท่าเรือขนส่งสินค้าของกาตาร์ไปยังคูเวต โอมาน อีหร่าน รวมทั้งปากิสถาน ซึ่งแต่เดิมอยู่ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
นอกจากนั้น คะแนนนิยมของประชาชนชาวคูเวตและโอมานที่มีต่อกาตาร์สูงขึ้น มันเป็นผลพวงมาจากผู้นำของทั้งสองประเทศไปเยือนกรุงโดฮา ประเทศการ์ตาร์ แล้วพบว่า ศักยภาพที่มีอยู่ในกาตาร์มันไม่ธรรมดา มันมีช้างศึกซุกซ่อนอยู่ในอุโมง ยิ่งกองทหารตุรกีได้เข้ายังรอบๆอ่าวเปอร์เซีย ยิ่งทำให้สงครามเกิดขึ้นได้ยากยิ่งขึ้น
สถานการณ์ที่เกิดขึ้น มันเป็นตัวบ่งชี้ว่า มันจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงกลับมาเหมือนเดิมอีกแล้ว แม้วิกฤติในครั้งนี้จะยุติและคลี่คลายก็ตาม แม้กระแสนำ้ได้หวนกลับมายังร่องน้ำเดิมแล้วก็ตาม กาตาร์ก็คงไม่หวนกลับมาฟื้นความสัมพันธ์ทางการค้าอย่างแน่นแฟ้นกับซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐเอมิเรตส์เหมือนในอดีตอีก เพราะ ความเชื่อมั่น ไว้วางใจกันได้สูญสลายไปแล้วอย่างสิ้นเชิง อันเนื่องจากวิกฤติที่เกิดขึ้น
ที่สำคัญที่สุด คือ ความทรงจำอันเจ็บปวดที่มิตรประเทศก่อขึ้นกับประเทศและประชาชนชาวกาตาร์ ซึ่งพวกเขาคงจะลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก โดยเฉพาะ คนรุ่นปัจจุบัน ที่ได้เผชิญเหตุการณ์อย่างยากลำบาก
ถอดความจาก www.dakwatuna.com