นักการเมือง นักวิชาการ ภาคประชาสังคม พบปะ พูคคุย พรป.พรรคการเมือง ภายใต้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ปัตตานี (9 ตุลาคม 2560) ห้องประชุมอีหม่านอัลฆอซาลี วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลุ่มนักการเมืองอาวุโส แกนนำวาดะห์ ประกอบด้วย นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีต รมต.หาดไทย และประธานรัฐสภา นายนัจมุดดีน อูมา อดีต ส.ส.นราธิวาส ผศ.ดร วรวิทย์ บารูอดีต สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี ได้ทำการประพบปะกับกลุ่มนักวิชาการอาวุโส โดยมี รศ.ดร.โคทม อารียา ผศ.ดร ศรีสมภพ จิตรภิรมศรี และกลุ่มภาคประชาสังคมชายแดนใต้ โดยมี นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาภาคประชาสังคมชายแดนใต้ร่วมถก
ในการพบปะครั้งนี้ หลักๆได้หารือในเรื่องรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน หรือที่รู้จักกันในชื่อ รัฐธรรมนูญฉบับคุณลุงชัย ว่าด้วย พรบ.พรรคการเมือง
ตามประกาศพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ที่ได้ประกาศในวันที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมานั้น โดยมีเนื้อหารายละเอียดทั้งหมด 41 หน้า 152 มาตรา
สำหรับสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ อาทิ มาตรา 9 การจัดตั้งพรรคการเมือง จะต้องมีทุนประเดิมไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท โดยผู้ร่วมกันจัดตั้งทุกคนต้องร่วมกันจ่าย
เพื่อเป็นทุนประเดิมคนละไม่น้อยกว่า 1,000 บาท แต่ไม่เกินคนละ 50,000 บาท และก่อนยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรค ผู้ร่วมกันจัดตั้ง
ผู้ร่วมกันจัดตั้งต้องประชุมร่วมกันโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 250 คน และ มาตรา 15 ที่มีรายละเอียดข้อบังคับ เช่น รายได้ของพรรค
การเมืองมาจาก อัตราค่าธรรมเนียมและค่าบํารุงพรรคการเมือง ซึ่งต้องเรียกเก็บจากสมาชิกไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งร้อยบาท และพรรคการเมืองอาจกําหนดให้เรียกเก็บค่าบํารุงพรรคการเมืองจากสมาชิกแบบตลอดชีพ ตามอัตราที่กําหนดในข้อบังคับก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าสองพันบาท (2000).
รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มีสาระสำคัญบางส่วน ที่จำเป็นต้องพูดคุย นั่นคือกติกา การเลือกตั้งในรูปแบบใหม่ ที่พรรคใหญ่ไม่มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว หรือเรียกว่า ระบบเลือกตั้งแบบ “จัดสรรปันส่วนผสม”
ซึ่งเป็นการนําคะแนนจากการเลือกตั้ง ส.ส.เขตเลือกตั้ง มาคํานวณหา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ของแต่ละพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบใหม่ โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเลือกได้เฉพาะสมาชิก ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง กล่าวคือ ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว จึงเท่ากับว่าเป็นการเลือกคนเท่ากับเลือกพรรค เพื่อให้พรรคการเมืองต้องหาผู้สมัครที่ดีที่สุดในแต่ละเขตเลือกตั้ง เพราะจะมีผลกระทบต่อคะแนนรวมที่แต่ละพรรคจะได้รับจากการเลือกตั้ง และนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองด้วย
ในที่ประชุมได้ มองว่า ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่เป็นการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันในระดับภูมิภาคนิยมสูงขึ้น และเป็นระบบที่ทำให้พรรคการเมืองขนาดกลางถึงเล็ก ได้เปรียบกว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่อีกด้วย
#PATANISOCIETY