Skip to main content
เก็บบันทึกความรู้สันติภาพ จาก ดร.นอร์เบิร์ต โรเปอร์ส และ ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ตอนที่ 1 วันที่ 29 ก.ย.60 ณ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Peacebuilding มี 4 คาบ ประกอบด้วย
1. Traditional Approaches from Above. การสร้างสันติภาพจากข้างบนลงล่างแบบเก่า/ระดับผู้นำ
2. Peace from Below. การสร้างสันติภาพจากข้างล่างขึ้นบน/ระดับภาคประชาสังคม
3. Recent Approaches from Above. การสร้างสันติภาพจากข้างบนลงล่างแนวใหม่/ความคิดแบบสุดโต่ง ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้น
4. Indigenous & Traditional Approaches. การสร้างสันติภาพแนวใหม่ ให้ความสำคัญกับคนท้องถิ่น ผสมกับแนวคิดดั้งเดิม.

Traditional Approaches from Above. การสร้างสันติภาพจากบนลงล่าง (แบบเก่า)
ทฤษฏี สามเหลี่ยมการสร้างสันติภาพของ โจฮัน กัลตุง คือ 
Peacebuilding
Peacemaking Peacekeeping
(Negotiating) (Assosiating)


1. Peacebuilding คือการสร้างสันติภาพจากภาคประชาสังคม
2. Peacemaking คือการสร้างสันติภาพจากผู้นำ ซึ่งใช้วิธีการเจรจาเป็นหลัก
3. Peacekeeping คือการสร้างสันติภาพที่เน้นบทบาทของสหประชาชาติ (UN) โดยการมาจับแยกคู่ขัดแย่งออกจากกัน
ในเอกสารของ UN ในช่วงก่อน 15 ปีที่แล้วจะมองทั้ง 3 เรื่องนี้แยกกัน แต่ตอนหลังเอามารวมกัน เป็นการประยุกต์วิธีการสร้างสันติภาพ โดยเรียกรวมๆว่า Peacebuilding
ตัวอย่างเช่น กรณีความขัดแย้งในประเทศยูเครน(กับรัสเซียกรณีไครเมีย??) ที่ UN พยายามที่จะจับแยกคู่ขัดแย้งออกจากกัน แต่ทำไม่สำเร็จ จึงเอามารวมกันโดยมีภาคประชาสังคมมาร่วมกันสร้างสันติภาพด้วย แล้วเรียกรวมกันกันว่า Peacebuilding.

Peacebuilding between states การสร้างสันติภาพระหว่างรัฐ ประกอบด้วย
1.การสร้างความเข็มแข็งทางทหาร/อาวุธ แต่ในทางกลับกันทำให้เกิดการคุกคามรัฐอื่นด้วย จึงเป็นการทำให้ความมีสันติภาพลดลงไปด้วย ตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งระหว่าง USA กับเกาหลีเหนือที่มีการสะสมอาวุธจำนวนมาก
2. Balance of Power ถ่วงดุลอำนาจ
3. Nuclear Weapon: 2nd strike capacity – arms control ควบคุมอาวุธ
4. การหาพันธมิตร
5. collective security การสร้างความมั่นคงร่วมกัน เช่น การรวมกลุ่มเป็น UN, EU, NATO โดยมีข้อตกลงร่วมกัน เช่นกรณี UN เมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น ก็ให้คณะมนตรีความมั่นคงลงมติ โดยมีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ หาก 1 ใน 5 ประเทศนี้วีโต้หรือไม่เห็นด้วย มตินั้นก็ตกไป

Peacebuilding within State การสร้างสันติภาพภายในรัฐ
(โมเดล 6 เหลี่ยม)


Legitimacy ความชอบธรรม/ถูกกฎหมาย
วิธีการจัดการสันติภาพแบบเก่า มีองค์ประกอบ 6 ประการ ได้แก่ 
1. Monopoly of force รัฐที่มีอำนาจเต็ม/อธิปไตย
2. Constitutional democracy มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย
3. Rule of Law หลักนิติธรรม
4. Socio-economic Development การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
5. Social Justice ความยุติธรรมทางสังคม
6. Cultural of Conflict Resolution วัฒนธรรมการจัดการความขัดแย้ง 
โมเดลนี้เรียกว่า Liberal Democratic State/ Liberal Peace 
อย่างไรก็ตาม รัฐต่างๆในโลกมีน้อยมากที่จะมีครบทั้ง 6 ประการ เช่น ใน USA เองก็มีความไม่ยุติธรรมทางสังคมเกิดขึ้น ในเยอรมนีเองก็มีไม่ครบ ในเกาหลีเหนือแม้ว่าจะมี Monopoly of force แต่ก็มีสันติภาพจริงหรือไม่ 
เพราะฉะนั้นการจะทำให้ประเทศมีครบทั้ง 6 ประการนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก

ปล.บันทึกเพื่อแบ่งปัน ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วย และร่วมแลกเปลี่ยนกันได้น่ะครับ