จับตายุคเปลี่ยนผ่าน PULO หลังสิ้น Nur Abdurrahman
ในสัปดาหนี้ มีข่าวการจากไปของอดีตผู้นำ พูโล ที่ชื่อ นูร อับดุรเราะห์มาน (Nur Abdurrahman)
นูร อับดุรเราะห์มาน (Nur Abdurrahman) เป็นอดีตประธานคนที่2 หลังจากที่ตนกูบีรอ กอตอนีลอ ประธานคนแรกได้เสียชีวิตลงเมื่อ พ.ศ.2551
หนังสือพิมพ์ของตุรกี ฉบับวันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2552 ได้เผยได้เผยแพร่ทางเว็บไซต์http://www.worldbulletin.net/news_detail.php?id=50818
ได้เผยแพร่ถึงยุทธศาสตร์ของพูโลคือ ก่อสงครามยืดเยื้อกับรัฐไทย องค์การพูโลก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1975 (พ.ศ.2518) โดย ตนกูบีรอ กอตอนีลอ (ในเนื้อหาที่ให้สัมภาษณ์ใช้ชื่อว่า กาบีร อับดุรเราะห์มาน ตนวีรา / Kebir Abdurrahman Tenvira) ปีเดียวกับที่เกิดการประท้วง 44 วันที่ปัตตานี เมื่อธันวาคม 2518-มกราคม 2519 ซึ่งพูโลอ้างว่า ตนอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ประท้วงครั้งนี้
ในการให้สัมภาษณ์ นูร อับดุรเราะห์มาน ยังได้เปิดเผยถึงประเทศที่ยินยอมให้กลุ่มพูโลตั้งค่ายฝึกทางการทหาร และพลพรรคส่วนหนึ่งของพูโลได้เข้าสู่สมรภูมิรบกับพวกปาเลสไตน์เพื่อต่อสู้ กับกองกำลังของอิสราเอล การให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ประธานพูโลเรียกร้องให้ชาวตุรกีเห็นอกเห็นใจการ ต่อสู้ของชาวปาตานี โดยอ้างถึงความความสัมพันธ์และความช่วยเหลือที่ตุรกีเคยให้แก่ชาวปาตานี ตั้งแต่สมัยอาณาจักรออตโอมานแห่งตุรกียังเป็นมหาอำนาจในตะวันออกกลาง ก่อนมหาอำนาจตะวันตกทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามาปลดปล่อยและแบ่งที่ปกครอง ใหม่จนเกิดเป็นประเทศต่างๆ บนคาบสมุทรอารเบียหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยนั้นระบอบคอลีฟะห์ของตุรกีมีอำนาจปกครองเหนือรัฐมุสลิมทั้งหลาย (เช่น อียิปต์และอารเบีย) นครอิสตันบูล เมืองหลวงของตุรกี จึงเป็นเสมือนเมืองหลวงของประเทศมุสลิมต่างๆ ไปด้วย ตุรกีมีความสัมพันธ์กับปาตานีมายาวนานตั้งแต่ในอดีต โดยเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งเคยปรากฏว่า ท่านชี้ควันอาหมัด บิน วันมูฮัมมัดเซน (ค.ศ.1856-ค.ศ.1908/พ.ศ.2399-พ.ศ.2451) ปราชญ์ปาตานีคนสำคัญซึ่งใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในเมกกะ (ปัจจุบันในซาอุดิอารเบีย) ก็เคยได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลตุรกีโดยราชวงศ์อุษมานียะห์/ออตโตมาน ให้เป็นผู้ตรวจทานตำราศาสนาอิสลามก่อนจัดพิมพ์เผยแพร่ รวมทั้งท่านเองก็เคยเรียกร้องให้รัฐบาลตุรกีสมัยนั้นเข้าแทรกแซงกรณีปาตานี ถูกไทยยึดครอง กล่าวกันว่าแม้แต่ ตวนฮัจญีสุหลง โต๊ะมีนา ก็เคยถูกฝรั่งเศสสงสัยว่าจะทำงานให้กับรัฐบาลตุรกี ช่วงที่เดินทางกลับจากเมกกะ ตวนฮัจญีสุหลงได้ไปเผยแผ่และสอนศาสนาให้พวกจามในเขมรก่อนเดินทางกลับปัตตานี และเมื่อเกิดกรณีไอร์ปาแยเมื่อ 8 มิ.ย.ปีที่แล้ว (เหตุการณ์กราดยิงในมัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส) ปรากฏว่าในกรุงอิสตันบุลชาวตุรกีจำนวนหนึ่งได้ก่อประท้วงรัฐบาลไทยที่หน้า สถานทูตไทยเมื่อ 26 มิ.ย.2552 ซึ่งแสดงว่าปาตานีกับตุรกีกำลังเริ่มกลับมา “ต่อติด” ได้อีกครั้ง อย่างน้อยก็ในระหว่างประชาชน
อนึ่ง เว็บไซต์ http://www.siamrath.co.th/uifont/NewsDetail.aspx?cid=108&nid=41590) ของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ก.ค.2552 แหล่งข่าวระดับสูงจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาลเปิดเผย “สยามรัฐ” ว่า เมื่อวันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา ขบวนการพูโลได้จัดประชุมเพื่อเลือกประธานพูโลคนใหม่...ผลการเลือกตั้งประธาน พูโลคนใหม่ได้แก่ นายกาแม ฮีเล/กาแม ยูโซ๊ะ/อาแบ กาเม ส่วนนายอูเซ็ง/เปาะซูเซ็ง ตลาดเก่า เป็นรองประธาน นายนายิ ยือลอ เป็นเลขาธิการ นายรุสลัน หะยียุนุ/รุสลัน ยามูแรแน ฝ่ายกองกำลัง/ทหารและนายยาเซร์ ปาตาส ฝ่ายต่างประเทศ แต่การเปิดตัวของ สื่อตุรกีว่า นายนูร อับดุรเราะห์มาน ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานพูโลคนปัจจุบัน จึงเป็นไปได้ว่า เขาจะเป็นบุคคลเดียวกับ “อาแบ กาแม” (แปลว่าพี่กาแม) หรือนายกาแม ยูโซ๊ะ (ฮีเล) จากรายงานของสันติบาล เมืองหลวงของปาตานี คือ อิสตันบูล แปลจาก Patani capital: Istanbul สัมภาษณ์โดย Adem Özköse เผยแพร่ใน World Bulletin Friday, 04 December 2009 http://www.worldbulletin.net/news_detail.php?id=50818
ขอเริ่มด้วยคำถามว่า ใครคือ นูร อับดุรเราะห์มาน ซึ่งก้าวมาเป็นผู้นำคนใหม่ของพูโล? ใน ปาตานีมีคนจากหลากหลายชาติกำเนิดมาอาศัยอยู่ ในสมัยราชอาณาจักรอิสลามปาตานีมีผู้อพยพมาจากที่ต่างๆ เช่น จากอิสตันบูล (ตุรกี) อัฟกานิสถาน อิรักและเยเมนมาอาศัยในเมืองปาตานี บรรพบุรุษของผมก็เช่นกัน อพยพมาจากอิสตันบูลมาอยู่ปาตานีตั้งแต่ในสมัยอาณาจักรออตโตมานเติร์ก และได้ปักหลักที่ปาตานีเรื่อยมา บางครั้งปู่จะพูดว่า สักวันพวกตุรกีจะบุกมาปาตานีเพื่อช่วยปลดปล่อยปาตานีให้พ้นจากการยึดครองของ ไทย จากคำพูดของปู่ทำให้ผมจินตนาการไปว่า คนตุรกีนี่ช่างเก่งกาจเสียจริงๆ ผมยังจำคำภาษาตุรกี 2-3 คำที่คุณปู่พูด เช่น คำว่า ‘โยก’ และ ‘อียียิม’ ตอนเด็กๆ ผมได้ยินได้ฟังเรื่องราวของคอลีฟะห์แห่งออตโตมานและนครอิสตันบุลจากปากของ ปู่บ่อยๆ ปู่จะเรียกประเทศตุรกีว่าอิสตันบูล และเรียกชาวอิสตันบูลว่า อิสตัมบุไลต์ (Istanbulite) คนตุรกีจากอิสตันบูลที่มาปาตานีมักจะสวมหมวกตุรกีสีแดงกันทั่วไป ปู่ของผมบางครั้งก็สวมหมวกตุรกีนี่เช่นกัน โดยเฉพาะในวันสำคัญๆ
คุณเกิดและเรียนหนังสือที่ไหน? ผม เกิดเมื่อปี 1948 (พ.ศ.2491) ที่ยะลาซึ่งอยู่ในปาตานี ตอนนี้ผมอายุ 60 ปีแล้ว (พ.ศ.2552) แต่จิตใจของผมยังเหมือนเด็กหนุ่มอายุเพิ่ง 18 เอง ผมเริ่มเรียนชั้นประถมและมัธยมที่ยะลาในโรงเรียนไทย พร้อมกันนั้นผมได้เรียนในโรงเรียนมาดราซะห์หรือปอเนาะไปด้วยตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ผมเรียนทั้งการอ่านอัลกุรอาน ภาษาอาหรับ ตัจวิด (วิชาการอ่านอัลกุรอานให้ถูกต้อง) อกาอิด และฟิกฮ์ (หลักนิติศาสตร์) ตอนมัธยมปลายผมไปเรียนที่ปาตานี เน้นหนักด้านศาสนศาสตร์อิสลาม
คุณเข้าร่วมในองค์กรการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาตานีตั้งแต่เมื่อไหร่? ช่วง เรียนมัธยมปลายครับ ผมก็เหมือนกับคนปาตานีคนอื่นๆ ตั้งแต่วัยเด็กเราก็รู้แล้วว่าประเทศของเราถูกคนไทยพุทธยึดครอง ผมได้ยินในครอบครัวผมเขาพูดว่าเราจะต้องมีรัฐบาลที่เป็นของเราเอง ตอนเรียนมัธยมปลายนี่เองผมกับเพื่อนๆ ได้เข้าร่วมในการประชุมลับซึ่งเรียกร้องให้พวกเราต่อสู้เพื่ออิสรภาพของปา ตานี ตอนหลังเมื่อ กาบีร์ ตนวีรา (ตนกูบีรอ กอตอนีลอ อดีตประธานพูโลซึ่งเพิ่งเสียชีวิต) จัดตั้งองค์กรปลดปล่อยปาตานี (พูโล) ขึ้น และได้เรียกร้องให้ชาวปาตานีทำการต่อสู้เพื่อเอกราชของปลดปล่อยปาตานี พวกเราได้ตอบรับเสียงเรียกร้องนั้น พอจบการศึกษาชั้น ม.ปลายผมก็เดินทางไปซาอุดิอารเบีย แล้วต่อไปยังกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรีย ผมได้ลงทะเบียนเรียนมหาวิทยาลัยที่นั่น ในปี 1973 (พ.ศ.2516) ผมกับเพื่อนอีกสองคนคือ มันซูร์กับ อีซารี ได้ติดต่อกับกลุ่มต่อสู้ในเลบานอน เราได้เข้าค่ายฝึกอาวุธทางใต้ของเลบานอนเพื่อช่วยสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ในการ ต่อสู้เพื่อให้หลุดพ้นจากการยึดครองของอิสราเอล ตอนนั้นผมอายุ 24 ผมได้เข้าร่วมกับนักรบปาเลสไตน์เพื่อต่อสู้กับอิสราเอลอยู่ปีหนึ่ง นักรบปาเลสไตน์และพวกเราพักอยู่ด้วยกันในค่าย เราได้ออกไปรบกับกองกำลังทหารของอิสราเอลหลายครั้ง ช่วงนั้นนะครับมีอาสาสมัครจากทั่วโลกมาร่วมรบโดยอาศัยอยู่ในค่ายเลบานอน โดยเฉพาะที่ค่ายเบก้า ผมยังจำได้ว่าบางคนก็มาจากตุรกี ต่อจากนั้นผมกับเพื่อนๆ จากปาตานีก็กลับกรุงดามัสกัสเพื่อลงทะเบียนเรียนอีกครั้ง ผมเข้าศึกษาในแผนกภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความรู้ด้านภาษาต่างประเทศของตัวเอง ให้ดีขึ้น
จากนั้นล่ะอะไรเกิดขึ้น? ปลาย ปี 1974 (พ.ศ.2517) เราได้รวบรวมนักศึกษาปาตานีที่เรียนอยู่ในกรุงดามัสกัสจัดตั้งองค์กรนัก ศึกษาปาตานีขึ้น ผลการเลือกตั้งประธานกลุ่มปรากฏว่าผมได้รับเลือกเป็นประธาน ความปรองดองในหมู่นักศึกษาปาตานีดีมากหลังจากการก่อตั้งขบวนการนักศึกษาของ เรา ในปีนี้เอง อับดุรเราะห์มาน ตนวีรา (ตนกูบีร) ก็ส่งผมกลับปาตานี ซึ่งเป็นช่วงที่ประชาชนปาตานีกำลังเกลียดชังรัฐบาลไทยถึงขีดสุด ทหารไทยได้สังหารชาวปาตานีผู้บริสุทธิ์ตายเป็นเบือ ทั้งในบ้านของพวกเขา กลางถนน และในมัสยิด (น่าจะหมายถึงกรณีทหารนาวิกโยธินสังหารมุสลิมเสียชีวิต 4 คนที่สะพานกอตอ อ.สายบุรีเมื่อปลายปี 2518 - ความเห็นจากผู้แปล) อับดุรเราะห์มาน ตนวีรา ต้องการให้ผมกลับไปจัดตั้งชาวปาตานีเพื่อทำการประท้วงรัฐบาลไทยซึ่งดำเนิน อยู่หลายวัน เราทำทุกอย่างที่จำเป็น การประท้วงเกิดขึ้นจากการเรียกร้องของตนวีรา ผลก็คือชาวปาตานีทำการประท้วงอย่างยืดเยื้อถึง 44 วันติดต่อกัน นับเป็นการประท้วงของชาวปาตานีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของปาตานี หลังการประท้วงผมเดินทางกลับกรุงดามัสกัส จากดามัสกัสผมเดินทางไปลิเบีย ในปี 1977 (พ.ศ.2520) ผมกับเพื่อนๆ ชาวปัตตานีที่ศึกษาอยู่ที่นั่นได้ร่วมกันเปิดสำนักงานขบวนการนักศึกษาปาตานี ขึ้นในเมืองตราบลุส ผมเองหลังจากไม่ได้เรียนในดามัสกัสก็ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยใหม่ที่นี่ ความที่อยากมีความรู้ด้านศาสนาให้มากขึ้น ผมจึงได้ลงทะเบียนเรียนในสาขาศาสนาที่มหาวิทยาลัยดาเวด (Davet University) จากความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลลิเบียและความสำเร็จทางการทูตของเรา ทำให้เราสามารถจัดตั้งค่ายฝึกสำหรับนักรบปาตานีขึ้นในลิเบีย ตอนหลังผมเดินทางออกจากลิเบียมุ่งหน้าไปอิหร่าน ตอนนั้นการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านจูงใจพวกเราอย่างมาก ตนวีราขอให้ผมตั้งสำนักงานพูโลในอิหร่าน และจัดพบปะกับเจ้าหน้าที่ของอิหร่าน ความสัมพันธ์อันดีระหว่างผมกับอาหมัด มุนตาซารี บุตรชายของอยาตุลลามุนตาซารี พักนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยความช่วยเหลือของเขา เราจึงได้เปิดสำนักงานในกรุงเตหะราน การที่ผมได้รับโอกาสให้ได้พบกับเจ้าหน้าที่ของอิหร่าน ทำให้ผมได้อธิบายว่าอะไรเกิดขึ้นที่ปาตานี วันหนึ่ง อาหมัด มุนตาซารี โทร.หาผม ขอให้ผมไปพูดให้ชาวอิหร่านเข้าใจเรื่องที่ชาวมุสลิมปาตานีถูกกดขี่อย่างไร โดยมีการจัดการชุมนุมพบปะกันที่เมืองอิสฟาฮาน ผมได้พูดให้ชาวอิสฟาฮานหลายหมื่นคนฟังในที่ชุมนุมนั้น ผมจะไม่มีวันลืมเหตุการณ์การชุมนุมที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและใส่ใจใน ครั้งนั้น แต่อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของผมกับเจ้าหน้าที่อิหร่านช่วงหลังได้แย่ลง เป็นเหตุให้ผมตัดสินใจออกจากอิหร่านไป
ทำไมหรือ? เรา ได้ส่งนักศึกษาจากปาตานีมาศึกษาในมหาวิทยาลัยในอิหร่าน ตอนหลังเราก็เห็นว่าพวกเขาพยายามโน้มน้าวนักศึกษาของเราให้หันไปถือนิกาย ชีอะห์ ซึ่งทำให้เราไม่สบายใจอย่างยิ่ง พวกเขายังขอให้เราช่วยเผยแผ่นิกายนี้ในปาตานีด้วย เราบอกพวกเขาไปว่า ชาวปาตานีนับถือนิกายสุหนี่ การเผยแพร่นิกายชีอะห์จะทำให้คนปาตานีไม่พอใจ ท่าทีของเราทำให้เจ้าหน้าที่อิหร่านกลุ่มนั้นไม่พอใจใหญ่เลย แต่สำนักงานของเราที่กรุงเตหะรานก็คงยังอยู่ต่อไปอีกพักหนึ่ง จนกระทั่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับอิหร่านพัฒนาดีขึ้น รัฐบาลไทยต้องการให้ปิดสำนักงานของเราในอิหร่าน ทางเขาก็บอกเราว่าสำนักงานของเราทำให้อิหร่านเดือดร้อน เราก็เลยปิดสำนักงานประจำกรุงเตหะรานและถอยออกมา
คุณพบกาบีร์ อับดุรเราะห์มาน ตนวีรา ผู้นำซึ่งเป็นตำนานอยู่ในใจของประชาชนปาตานีได้อย่างไร? ตน วีราออกจากหมู่บ้านของเขามาเรียนหนังสือที่ยะลา พ่อของผมชอบเขามาก พ่อช่วยให้เขาพักอยู่บ้านซึ่งเป็นห้องเดียวข้างๆ บ้านของเรา เป็นช่วงที่เขามาเรียนชั้นมัธยมที่ยะลา ตอนนั้นผมอายุสัก 7-8 ขวบ ส่วนตนวีราอายุอยู่ในราว 17-18 ช่วงนั้นวันๆ ผมจะอยู่เคียงข้างเขาตลอด ผมคิดว่าผมเป็นลูกศิษย์ของเขาคนหนึ่ง ในความเห็นของผม ตนวีราเป็นบุคคลสำคัญมากที่สุดในประวัติศาสตร์ปาตานีหลังจาก หะยีสุหลง กลุ่มพูโลของเราไม่ใช่กลุ่มเดียวที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากเขา เรียกว่าทุกกลุ่มก็ว่าได้ ตนวีราตระเวนเปิดสำนักงานในอิหร่าน ลิเบีย ดามัสกัส และในยุโรป เขาพยายามบอกให้โลกรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในปาตานี นอกจากนั้น ต้องขอบคุณเขาที่ช่วยให้เด็กหนุ่มชาวปาตานีหลายร้อยคนได้เรียนหนังสือใน ตะวันออกกลาง รวมทั้งในยุโรป ซึ่งพวกนี้ได้กลับไปยกระดับการศึกษาในปาตานีอย่างกว้างขวาง การเดินทางจากปาตานีไปเรียนต่อต่างประเทศของผมก็มาจากความสนับสนุนของเขา ตนวีราเป็นทั้งผู้ก่อตั้งขบวนการเคลื่อนไหวอิสลามิคและผู้นำการปฏิวัติ วัฒนธรรมในปาตานี เขาบอกว่าจำเป็นที่เราจะต้องต่อสู้ในทุกๆ พื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทางทหาร วิทยาศาสตร์ จิตวิญญาณ การเมืองและวัฒนธรรม เพื่ออิสรภาพของปาตานี ตนวีราให้ความสำคัญกับความพยายามในพื้นที่วัฒนธรรมและการเมืองเช่นเดียวกับ ในความมุ่งมั่นพยายามทางการทหาร
อะไรคือปัญหาพื้นฐานระหว่างปาตานีกับการปกครองของไทย? สังคม ปาตานีกับสังคมไทยเป็นสองสังคมที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม คนปาตานีมีประวัติศาสตร์ที่แยกต่างหากจากประวัติศาสตร์ของคนไทย บรรพบุรุษของเราได้ก่อตั้งราชอาณาจักรอิสลามปาตานีขึ้นและอาศัยในดินแดนของ ตัวเองอย่างอิสระเสรี บรรพบุรุษของเราได้ต่อต้านการรุกรานของราชอาณาจักรไทยพุทธก็ด้วยจุดประสงค์ ต้องการปกป้องศาสนาและวัฒนธรรมของตนไว้ ด้วยวิธีเดียวกันเราก็จะสืบทอดการต่อสู้ต่อไปเพื่อปกป้องศาสนาและวัฒนธรรม ของพวกเรา
แล้วตุรกีล่ะมีความหมายอย่างไรสำหรับชาวปาตานี? ปา ตานีผูกพันกับการปกครองของตุรกีสมัยอาณาจักรออตโตมาน บรรพบุรุษของเรามองว่า ‘คอลีฟะห์’ (ผู้ปกครองมุสลิมสูงสุด) ของออตโตมานเป็น ‘คอลิฟะห์’ ของเราด้วย เฉพาะสุลต่านอับดุลฮามิด ฮัน พระองค์ทรงให้ความช่วยเหลือชาวปาตานีอย่างมากในการต่อต้านอังกฤษ แต่พอสิ้นสุดราชวงศ์ของพระองค์แล้วความสัมพันธ์ระหว่างเราก็ขาดตอนลง ถึงกระนั้นเราก็ยังมองว่าอิสตันบูลยังเป็นเมืองหลวงของปาตานีอยู่ เราสามารถเชื่อมความสัมพันธ์ในอดีตให้กระชับแน่นเหนียวเหมือนเดิมได้อีกครั้ง ซึ่งที่สำคัญที่น่าติดตามในปัจจุบันคือในช่วงของการพยายามต่อโต๊ะพูคคุย ขบวนการพูโลจะมีมาตราการปรับตัวต่อนโยบายรัฐได้อย่างไร
รุปถ่ายจาก FB kasturi mahkota
#PATANISOCIETY
ที่มา เพจ Patani Society