หนึ่งมุมคิด (นอกนิยามจากผู้เขียน)
ท่ามกลางที่มะแอถามคนสามจังหวัดช่วยตอบ ทำให้ผู้เขียนจำเป็นต้องอดหลับอดนอนอีกครั้งหนึ่งของชีวิตความเป็นนักวิจัยบ้านนอก กับการเดินดินสู่ชุมชนตามหาความสุขแท้ และสันติภาพของสังคมประเทศ และเฝ้ามองข้างหลังอย่างไร้เดียงสากับการแสวงหาของผู้นำอันยิ่งใหญ่แห่งกรุงสยามประเทศไทย ของนักยุทธศาสตร์ชั้นยุทธผู้มีธรรมะกลางใจตน ด้วยการสะสมบารมีธรรมอย่างท่าน พลโท กิตติพันธ์ นพวงศ์ณ อยุธยา กับอีกท่านหนึ่งอันมีธรรมะสงบ พูดหวานดังน้ำผึ้ง หวานเย็นดังสายน้ำ เย็นฉ่ำดังสายหมอก ผู้มาก ด้วยการออกแบบสังคม เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรม “สังคมธรรมาธิปไตย” “รัฐธรรมาธิปไตย” ของ อ.บงกช นพวงศ์ ณ อยุธยา(ณ สงขลา) ทำให้ผู้เขียนจึงอยากทำหน้าที่อันมีคุณค่านี้ในการร้อยเรียงและทำความเข้าใจของคำว่า “ธรรมาธิปไตย” ที่แท้
“…ผมสุขทุกครั้งที่ผมเห็นท่านกิตติพันธ์ ลงพื้นที่ติดประชาชนคนรากแก้ว (ผมจะไม่เรียกเขาว่ารากหญ้า) สุขทุกครั้งเสียงอันหวานๆ ของอ.บงกช พูดกับประชาชนแล้วมีความหวัง มีความสุข ผมแอบอยู่ข้างหลังๆ แบบไร้เดียงสา แบบคนโง่ๆ คนหนึ่ง ที่อยากดู คนร่วมอุดมการณ์ได้ทำเพื่อบ้านของผมเอง สุขทุกครั้งที่ผมได้เอาบัตรคำที่เป็นเสียงความทุกข์มาทำให้มีค่าของเสียงเล็กๆ ของชาวบ้าน และสุขทุกครั้งที่ชาวบ้านบอกว่าเขาอยากทำนั่น อยากทำนี่ และสุขทุกครั้งที่ชาวบ้านบอกว่าเขาเดือดร้อนนั่นและต้องการนี่ และสุขทุกครั้งที่เขากล้าที่จะนำเสนอต่อเพื่อนของเขา ต่อความหวังของเขา และความสุขที่ยิ่งใหญ่ทุกครั้งที่ผมเห็นฝ่ายพัฒนาธรรมาธิปไตย (เจ้าที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตยและคณะ) ได้ร่วมสุข ร่วมทุกข์ และร่วมช่วยเพื่อประชาชน มันยิ่งใหญ่มาก ที่อยู่ๆ มีพลังวัยรุ่นที่อาสาช่วยชาวบ้าน ช่วยประสานความทุกข์เพื่อหาความสุข ซึ่งผมก็เชื่อว่าเขาก็มีความสุข และลืมบอกว่าสุขที่สุดเมื่อผมอยู่หน้าคอมพิวเตอร์และได้เขียนทุกคำพูดของชาวบ้าน เขาเสนอตั้งมากมายผมก็ไม่ ละทิ้งเลย เลยมีความสุขที่เราได้เป็นปากเสียงแทนเขา ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าเขามีความสุขกับเราบ้างไหม “มันสุขขนาดไหน เมื่อวันหนึ่งชาวบ้านบอกว่าผมทุกข์นะ โดยที่ผมไม่ต้องไปถามว่าแล้วคุณทุกข์อะไร”
หากความสุขทุกครั้งนี้ มันแทนที่ของคำ “ว่าด้วยการเกิดธรรมาธิปไตยกลางใจตน” เพื่อร่วมสร้าง“สังคมธรรมาธิปไตย” ก็นับว่าคุ้มค่ากับการดิ้นรนหาความสุขแท้ และสันติภาพ
หนังสือชื่อเรื่อง สืบสานธรรมาธิปไตยแห่งเกาะพิทักษ์ นี้ก็นับเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยในเรื่องราวของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ได้น้อมนำหลักคิดธรรมาธิปไตยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำงาน อย่างผู้ใหญ่หรั่ง ( นักรัฐศาสตร์) อ.เอนก นาคะบุตร( นักยุทธศาสตร์และออกแบบสังคม ) และอีกหลายๆ ท่านที่ได้สืบสานพลังธรรมาธิปไตยตามที่ผมได้แอบเขียนอย่างใจว่างเปล่า ผมอดคิดว่าหากท่านแอบหยิบอ่านหนังสือเล่มนี้ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ท่านคงต้องอ่านในทุกบรรทัด ในทุกคำพูด เพราะผู้เขียนและผู้อ่านคงแอบคิด และแอบถามทุกครั้งเช่นกัน
หากการสร้าง“สังคมธรรมาธิปไตย” เล็กๆ น้อยๆ เบาๆ บางๆ อย่างมีสติ อาจเป็นจุดคลิกสังคมไทยเป็นความฝันของผม การสร้าง “ธรรมาธิปไตยกลางใจตน” ต่อไปนี้คงหาไม่ผมเพียงผู้เดียวต้องคิด แล้วการสร้าง “รัฐธรรมาธิปไตย” หาไม่ผมคนเดียวต้องทำอีกเช่นกัน
มะแอถาม สังคมไทยช่วยตอบ…
อิสมาอีล (มะแอ) เจ๊ะนิ นักวิจัยศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย
๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
หมายเหตุ : หนึ่งมุมคิดบางส่วนจากหนังสือเล่มแรกของนักวิจัยบ้านนอก สนใจหนังสือเล่มนี้ติดต่อได้ คุณอิสมาอีล เจ๊ะนิ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาธรรมาธิปไตย E-mail : chaknek @ hotmail.com (เบอร์โทรศัพท์) 0812770938