ครม.สัญจรใต้: ละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งผู้นำรัฐบาลและผู้ใต้บังคับบัญชา
โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
[email protected], http://www.oknation.net/blog/shukur
ด้วย พระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน
27 -28 พ.ย. 60 นายกนำคณะประชุมครม.อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ภาคใต้ ในพื้นที่จ.ปัตตานีและสงขลาโดย การลงพื้นที่แบบจัดเต็ม ทั้งพบกับผู้นำท้องถิ่นรวมทั้งเปิดโอกาสพบปะประชาชน จังหวัดชายแดนใต้ ประชุมติดตามความมั่นคงและการพัฒนา /เปิดตลาดกลางปศุสัตว์ -ตลาดประชารัฐ /เปิดเขตอุตสาหกรรมพิเศษต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
การลงพื้นที่ในครั้งนี้ทำให้หลายภาคส่วนเตรียมงาน เตรียมพบปะ เตรียมรายงาน ถอดบทเรียนและเตรียมข้อเสนอมากมาย อันจะเป็นแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่สู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
27-28 พ.ย. 60นั่นมีสองเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงขั้นละเมิดสิทธิมนุษยชนกล่าวคือ หนึ่ง ในระหว่างที่นายกรัฐมนตรีและคณะ จะไปเยี่ยมชมนิทรรศการ นายภรัณยู เจริญ อายุ 34 ปี ชาวจังหวัดปัตตานี อาชีพทำการประมง ได้ ร้องเรียนนายกรัฐมนตรี โดยอยากให้แก้ไขกฎระเบียบเกี่ยวกับการทำประมงที่กำหนดให้ ชาวประมง สามารถออกเรือไปทำประมงได้ 220 วันต่อปี ซึ่งถือว่าน้อยเกินไปทำให้ผู้ประกอบอาชีพประมงประสบกับภาวะขาดทุน จึงขอให้แก้กฎหมายเพิ่มวันออกเรือ แต่ระหว่างอธิบาย นายภรัณยู ได้ใช้เสียงดัง เพื่อ แข่งกับเครื่องขยายเสียง ทำให้นายกฯไม่พอใจ พร้อมพูดเสียงดังผ่านไมค์ให้นายภรัณยู กลับ ว่าไม่ควรมาขึ้นเสียงกับตนเอง พูดดีๆก็ได้ พร้อมรับฟังปัญหา แต่ต้องดูผลกระทบภาพรวมเรื่องประมงและการส่งออกด้วย จากนั้นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ไปทำความเข้าใจกับนายภรัณยู และให้ไปเขียนคำร้องยังศูนย์ดำรงธรรม(โปรดดูคลิปhttps://www.youtube.com/watch?v=K4eBRZXNZ78) ในขณะโฆษกรัฐบาลไก่อูออกมาปกป้องหลังหลังจากนั้น 1 วันซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความเสียใจผ่านสื่อ
สอง การเข้าไปรวบแกนนำและสลายการชุมนุมเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน กล่าวคือ จากกรณี นายดิเรก เหมนคร ผู้ประสานงานเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน และคณะออกแถลงการณ์ “เดิน....เทใจให้เทพา หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน เดิน....หานายก หยุดทำลายชุมชน” โดยระบุว่า สืบเนื่องจากการที่นายกรัฐมนตรีจะมาตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดปัตตานีในวันที่ 27 พ.ย. และประชุมครม.สัญจรที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ.เมืองสงขลา ในวันที่ 28 พ.ย. ชาวเทพาและเครือข่ายมีมติจะเดินเท้าจากพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาไปหานายกรัฐมนตรีในวันประชุมครม.สัญจร เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะถึงความไม่เป็นธรรมที่ชาวบ้านได้รับจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีถึงเหตุผลของชาวบ้านที่ไม่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหินและอุตสาหกรรมสกปรก แต่ต้องการการพัฒนาที่ยั่งยืน(27พ.ย.) ที่บริเวณสี่แยกสำโรง จังหวัดสงขลา กลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา หรือเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ได้รวมตัวกันบริเวณดังกล่าว โดยทั้งหมดเดินเท้าออกมาจากหมู่บ้านที่ อ.เทพาตั้งแต่วันศุกร์ที่ 24 พ.ย.ผ่านมา โดยเดินวันละประมาณ 20 กิโลเมตรและมีผู้ร่วมขบวนการสมทบมาเรื่อยๆเพื่อมาดักรอยื่นหนังสือต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. เพื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
ทั้งนี้ กลุ่มคัดค้านได้ประสานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 9 และทหารจากมณฑลทหารบกที่ 42 โดยได้รับการยืนยันว่า จะมีตัวแทนของรัฐบาลหรือเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมารับหนังสือคัดค้านดังกล่าว แต่ปรากฏว่า จนถึงเวลา 14.40 น.ยังไม่ปรากฏผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาลมารับ ทำให้แกนนำและชาวบ้านเกิดความไม่พอใจเนื่องจากยังไม่มีใครได้รับประทานกลางวัน จึงได้เกิดการปะทะกันเล็กน้อยระหว่างชาวบ้านและเจ้าหน้าที่เนื่องจากชาวบ้านต้องการที่จะฝ่าด่านดังกล่าวไปรับประทานอาหารกลางวัน แต่ทางเจ้าหน้าที่ไม่ยินยอม จึงเกิดการผลักดันกันจนทำให้ชาวบ้านได้รับการบาดเจ็บประมาณ 4-5 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้รีบนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล หลังจากนั้นมีการจับกุมแกนน้ำ 16 คนโดยที่รัฐอ้างว่าเจ้าหน้าที่สลายม็อบต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ตามคำสั่งศาล จ.สงขลาที่ให้เลิกการชุมนุมและออกนอกพื้นที่(โปรดอ่านรายละเอียดในหมายเหตุและhttp://www.tnews.co.th/index.php/contents/383377)
ในขณะโฆษกรัฐบาล ใช้ทีวีทุกช่องแก้ต่างให้รัฐต่อการกระทำกับผู้ชุมนุมโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา โดยพูดถึงนายมุสตาร์ซีดีน วาบา หรือ 'แบร์มุส'แกนนำที่หายตัวไป ซึ่งข้อความอาจทำให้ถูกตีความว่าฉวยโอกาสป้ายสีหาว่าไปกกผู้หญิง ซึ่งถูกวิจารณ์แซ่ดถึงพฤติกรรมไม่ต่างจากนายกฯ ตวาดใส่คนปัตตานีก่อนหน้านี้ (โปรดดู https://news1live.com/detail.aspx?NewsID=9600000120326) ซึ่งหนึ่งวันต่อมาแทนที่ท่านจะกล่าวขอโทษหรือเสียใจแต่กลับพยายามอธิบายเหตุผลต่างๆนานา(โปรดดู http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/783163)
ทั้งสองเหตุการณ์ทั้งตัวท่านนายกรัฐมนตรี โฆษกรัฐบาลและฝ่ายมั่นคงหรือลูกน้องท่านไม่นับรวมรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรังท่านหนึ่งที่ใช้วาจาไม่สุภาพเช่นกันต่อแกนนำชาวสวนยางที่มายื่นหนังสือเพื่อให้แก้ปัญหาความเดือดร้อนตามที่เป็นข่าวทางโลกโซเซี่ยลก่อนหน้านี้ (โปรดดูคลิปhttps://www.youtube.com/watch?v=C8n--CbC-Do)
ทั้งหมดนั้นถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่ง เพิ่งประกาศสิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ ในไม่กี่วันที่ผ่านมาและกำลังสร้างวัฒนธรรมความก้าวร้าวไร้อารยะให้เป็นแบบอย่างซึ่งยากจะยอมรับได้ของนานาอารยะ
นักวิชาการมองว่า สำหรับการสลายการชุมนุมครั้งนี้ จึงไม่เพียงเป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ กระบวนการทางกฎหมายเท่านั้น หากยังสะท้อนวิธีคิดแบบ “อำนาจนิยม” ที่เห็นประชาชน-ชาวบ้านเป็นศัตรู ไม่มีมนุษยธรรมและความชอบธรรมใด ทำให้สังคมไทยอยู่ในบรรยากาศและการกระทำที่พร้อมใช้ความรุนแรงโดยรัฐต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
สำหรับคำกล่าวของโฆษกรัฐบาล ทำให้ถูกเข้าใจเป็นการเหมารวมว่าเมื่อชายใดหนีออกจากบ้านหรือไม่กลับบ้านจะเป็นการไปพบหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาตนนั้น เป็นทัศนคติที่ฝั่งอยูในจิตใจของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ชายที่อาจมีพฤติกรรมเช่นนั้นอยู่เองในหมู่เพื่อนฝูงและคนใกล้ชิด การมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาตนเป็นพฤติกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เป็นการเอารัดเอาเปรียบเพศหญิงทั้งหญิงที่เป็นภรรยาตนและหญิงอื่นด้วยอำนาจทางสังคมหรือเงินทอง แต่กลับเป็นที่ยอมรับของสังคมไทย หากแต่การวิพากษ์วิจารณ์หรือส่อเสียดผู้นำชาวบ้านที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐโดยนำประเด็นนี้มากล่าวถึงในทางสาธารณะ ผ่านรายการโทรทัศน์อย่างเป็นทางการเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะจากผู้ที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของรัฐในฐานะโฆษก(Cr.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม)
หลังจากนั้นวันที่ 29/11/60 ภรรยา 'แบร์มุส' ให้สัมภาษณ์ ผิดหวัง 'ท่านสรรเสริญ' ปมตั้งข้อสังเกตการหายตัวของ มุสตาร์ซีดีน วาบา หรือ แบร์มุส เพราะทำให้ถูกเข้าใจว่าเที่ยวกับผู้หญิงอื่น ชี้เป็นคนสำคัญของประเทศควรมีความเป็นมืออาชีพกว่านี้ (โปรดดูhttps://prachatai.com/journal/2017/11/74346)
กล่าวโดยสรุปบทเรียนที่ได้จากการลงใต้ครั้งนี้ได้สะท้อนภาวะผู้นำ คนทำงานของรัฐหลายคนทั้งส่วนกลางและพื้นที่ ทีแสดงถึงการใช้อำนาจ อย่างมากต่อผู้ด้อยกว่า และเห็นต่างที่อาจจะกล่าวว่าได้ว่าผลักพวกเขาทั้งคนเห็นต่างและอยากร่วมแก้ปัญหา และสะท้อนปัญหาห่างจากรัฐมากขึ้นเพราะหากใช้วาจาสุภาพ ปฏิบัติตามและ รับฟังอย่างมีอารยะมันจะได้ใจชาวบ้าน อันเป็นกุญแจดอกแรกสู่การแก้ปัญหา และพัฒนา อย่างประชารัฐเพื่อความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนอย่างแท้จริงซึ่งรัฐบาลและคนรอบข้างท่านน่าจะถอดบทเรียนปรากฎการณ์ตูนที่วิ่งที่ผ่านแดนใต้
-------------------
หมายเหตุ โดยที่รัฐอ้างว่าเจ้าหน้าที่สลายม็อบต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ตามคำสั่งศาล จ.สงขลาที่ให้เลิกการชุมนุมและออกนอกพื้นที่กล่าวคือ เมื่อวันที่ 27 พ.ย.60 เวลา 16.00 น.
กรณีกลุ่มผู้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ได้จัดกิจกรรม "เทใจให้เทพา" โดยมีการเดินขบวนจาก อ.เทพาไปยัง อ.เมืองสงขลา เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาแก่นายกรัฐมนตรี ซึ่งในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้กลุ่มผู้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เลิกการชุมนุม และออกจากพื้นที่ภายในเวลา 16.00 น. ตามคำสั่งศาลจังหวัดสงขลา แต่ปรากฏว่าผู้ชุมนุมไม่ยอมเลิกการชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงมีความจำเป็นจะต้องบังคับใช้กฎหมายเข้าสลายการชุมนุม โดยได้เข้าไปเชิญแกนนำและผู้ชุมนุม เพื่อนำตัวไปยัง สภ.เมืองสงขลา แต่ในขณะที่ จนท.ตำรวจ เข้าดำเนินการกลับถูกกลุ่มผู้ชุมนุมทำร้ายได้รับบาดเจ็บ จำนวน 4 นาย จากการตรวจสอบผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้นถูกตีด้วยของแข็งตีที่บริเวณข้อมือและบริเวณใบหน้าได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย
หากวิเคราะห์เหตุม็อบต้านโรงไฟฟ้าปะทะจนทำให้ จนท.ตำรวจ ได้รับบาดเจ็บดังกล่าว เป็นความพยายามของกลุ่มต้านโรงไฟฟ้าที่มีเพียงไม่กี่คนซึ่งมีแกนนำหนุนหลัง อีกทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมพยายามจะฝ่าแนวกั้นของ จนท.ตำรวจ โดยการใช้ความรุนแรง เช่น การใช้ด้ามธงฟาดตี, การใช้กำลังทั้งชกและการเตะ ฯลฯ (สังเกตจากร่องรอยบนโล่ของ จนท.ตำรวจ) จนในที่สุดสามารถเข้าไปยังเขตตัวเมืองได้ และพยายามเข้าไปให้ถึงพื้นที่ประชุม ครม.สัญจร แต่ก็ถูก จนท.ตำรวจ สกัดจับแกนนำและผู้ชุมนุม จำนวน 15 คน ไปยัง สภ.เมืองสงขลา เจ้าหน้าที่ได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีในการรับมือกลุ่มผู้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา โดยหลีกเลี่ยงการปะทะ โดยใช้ "โล่" เป็นเพียงอุปกรณ์ป้องกันตัว แม้แต่ "กระบอง" ก็ยังไม่ใช้ ถึงแม้จะถูกยั่วยุเพื่อให้เกิดความรุนแรงนำไปสู่เหตุการณ์ที่บานปลายจนไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่กลุ่มต้านโรงไฟฟ้าต้องการจะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา มีการใช้ผู้หญิงกระทำการในลักษณะการเป็นโล่มนุษย์ เมื่อ จนท.ตำรวจ ได้พยายยามจับกุมตัวแกนนำชุมนุมมีการให้ผู้หญิงมานอนทับร่างของแกนนำไว้ ทำให้ จนท.ตำรวจ ซึ่งเป็นเพศชายไม่สามารถจับกุมผู้ชุมนุมได้ เพราะจะทำให้เป็นข้ออ้างและเงื่อนไขของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ต้องการให้เกิดเป็นข้อขัดแย้งทางศาสนาเกิดขึ้น ซึ่งทาง จนท.ตำรวจ ก็ได้แก้เกมด้วยการใช้ "ตำรวจหญิง" เข้ามาดำเนินการจนกระทั่งจับแกนนำผู้ชุมนุมไว้ได้สำเร็จ
ที่สำคัญอีกอย่างในการชุมนุมในครั้งนี้ได้มีการปลุกระดมทางศาสนา ซึ่งศาสนายังคงถูกใช้ได้ในทุกโอกาส ใช้เป็นเครื่องมือในการปลุกระดมเพื่อหวังผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งได้เป็นอย่างดี ถ้าสังเกตในคลิปจะมีแกนนำ (ถือโทรโข่ง) เปล่งคำว่า "อัลลอฮ อักบัร" จนทำให้ผู้ร่วมชุมนุมเกิดความรู้สึกฮึกเหิมและปรี่เข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ เหตุการณ์ในการสลายการชุมนุมกลุ่มผู้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาในครั้งนี้ กลุ่มผู้คัดค้านฯ พยายามสื่อให้สังคมเห็นว่า จนท.กระทำเกินกว่าเหตุ และ จนท.รังแกผู้หญิง ซึ่งเป็นสิ่งที่กลุ่มต้านโรงไฟฟ้าต้องการเพื่อเรียกร้องความเห็นใจจากสังคม ในขณะเดียวกันหากจะมองอย่างเป็นกลางและเป็นธรรมจะเห็นว่า จนท. ได้ปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย หากกลุ่มต้านโรงไฟฟ้ายอมเลิกการชุมนุม และออกนอกพื้นที่ตามคำสั่งศาลจังหวัดสงขลา ก็คงไม่เกิดเหตุรุนแรงเกิดขึ้น การเข้าจับกุมผู้ชุมนุมในลักษณะเช่นนี้เป็นการกระทำที่สมควรแก่เหตุ และเป็นไปตามกฎการใช้กำลัง เนื่องจากผู้ชุมนุมพยายามขัดขืนและทำร้ายเจ้าหน้าที่