Skip to main content

ปธน.สหรัฐฯ เรียกเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล

(ลิงค์ต้นฉบับ)

 
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถือคำประกาศรับรองว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ได้ยอมรับกรุงเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.Image copyrightGETTY IMAGES
คำบรรยายภาพประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถือคำประกาศรับรองว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ได้ยอมรับกรุงเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ล้มนโยบายรัฐบาลเดิมที่ดำเนินการต่อเนื่องมาหลายทศวรรษ ด้วยการประกาศว่าสหรัฐฯ ยอมรับนครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล และเรียกความเคลื่อนไหวล่าสุดว่า "เป็นขั้นตอนที่ล่าช้ามานาน" เพื่อผลักดันกระบวนการสันติภาพตะวันออกกลาง

สถานะของนครเยรูซาเลมซึ่งเป็นเมืองโบราณ ถือเป็นหนึ่งในประเด็นขัดแย้งที่เต็มไปด้วยอุปสรรคระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์

รัฐบาลอิสราเอลเรียกความเคลื่อนไหวล่าสุดของประธานาธิบดีทรัมป์ว่า "เป็นประวัติศาสตร์" ท่ามกลางคำวิจารณ์รุนแรงจากนานาชาติ

ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่า สหรัฐฯ จะยังคงสนับสนุนทางออกที่ยอมรับการมีอยู่ของทั้งสองรัฐ หากทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์เห็นด้วย ซึ่งในที่สุดแล้วทางออกนี้จะนำไปสู่การก่อตั้งรัฐเอกราชปาเลสไตน์

ด้านประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส เรียกการประกาศของประธานาธิบดีทรัมป์ว่า "น่าเสียใจ" และระบุว่าสหรัฐฯ จะไม่สามารถเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยสันติภาพได้อีกต่อไป

ขณะนี้ มีแปดจาก 15 ประเทศสมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ กำลังเรียกร้องให้จัดการประชุมเร่งด่วนภายในสัปดาห์นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับการตัดสินใจของสหรัฐฯ

 

เยรูซาเลมสำคัญอย่างไร?

นัยสำคัญของความเคลื่อนไหวของรัฐบาลสหรัฐฯ

การตัดสินใจยอมรับนครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล ทำให้สหรัฐฯ ตกอยู่ในสถานะขัดแย้งกับมุมมองของประชาคมนานาชาติเรื่องสถานะของนครเยรูซาเลม

ชาวปาเลสไตน์อ้างว่านครเยรูซาเลมตะวันออกเป็นเมืองหลวงของรัฐฯ ซึ่งจะก่อตั้งขึ้นในอนาคต และตามข้อตกลงสันติภาพอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ปี 1993 จะต้องมีการหารือถึงอนาคตของนครเยรูซาเลมในการเจรจาสันติภาพขั้นต่อไป ส่วนอธิปไตยเหนือดินแดนเยรูซาเลมที่อิสราเอลอ้าง ยังไม่เคยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ที่ผ่านมา ทุกประเทศเลือกที่จะตั้งสถานทูตในกรุงเทล อาวีฟ

นครเยรูซาเลมเป็นสถานที่ตั้งของศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์สามแห่ง ของสามศาสนา คือ ยูดาห์ อิสลาม และคริสต์ โดยทางตะวันออกของเมือง ซึ่งรวมถึงเขตเมืองเก่า ถูกอิสราเอลผนวกดินแดนหลังจากสงครามหกวัน หรือ Six Day War เมื่อปี 1967 ทว่า ดินแดนดังกล่าว ไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอล

คำกล่าวของประธานาธิบดีสหรัฐฯ

ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวที่ทำเนียบขาวว่า "ได้ตัดสินใจแล้วว่า หนทางนี้จะเอื้อประโยชน์สูงสุดให้กับสหรัฐฯ และความพยายามสร้างสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์" นอกจากนี้ผู้นำสหรัฐฯ ระบุว่าได้สั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เริ่มเตรียมการย้ายสถานทูตสหรัฐฯ จากกรุงเทล อาวีฟ ไปยังนครเยรูซาเลม

ธงประจำชาติของสหรัฐฯ และอิสราเอลที่ฉายบนผนังที่เมืองเก่าในกรุงเยรูซาเลมImage copyrightGETTY IMAGES
คำบรรยายภาพธงประจำชาติของสหรัฐฯ และอิสราเอลที่ฉายบนผนังที่เมืองเก่าในกรุงเยรูซาเลม หลังประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยอมรับเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล

แม้จะมีคำเตือนว่าความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ อาจก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นตามมาในภูมิภาค แต่ก็ถือเป็นการตัดสินใจที่เป็นไปตามสัญญาที่ประธานาธิบดีทรัมป์ เคยพูดไว้ในตอนหาเสียง และเป็นที่พอใจของฐานเสียงนิยมขวา โดยผู้นำสหรัฐฯ กล่าวว่า "วันนี้ ผมทำตามสัญญา"

นอกจากนี้ ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวเสริมว่า การยอมรับนครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล "ไม่ได้มากหรือน้อยไปกว่าการยอมรับความเป็นจริง" และ "นี่เป็นการกระทำที่ถูกต้องแล้ว"

ด้านกลุ่มแนวร่วมคนเชื้อสายยิวที่สนับสนุนพรรครีพับลิกัน ได้ซื้อหน้าโฆษณาในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ เพื่อลงข้อความขอบคุณประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากนายเชลดอน อาเดลสัน ซึ่งเป็นผู้บริจาครายใหญ่ของพรรครีพับลิกันและประธานาธิบดีทรัมป์

ความเคลื่อนไหวที่มีแรงผลักดันจากในประเทศ

บทวิเคราะห์โดย บาร์บารา เพลท-อัชเชอร์บีบีซี นิวส์ วอชิงตัน

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เน้นย้ำหลายครั้งว่าเขากำลังทำตามสัญญาที่ให้ไว้ในการหาเสียง ซึ่งเท่ากับส่งสัญญาณว่าการตัดสินใจที่เป็นที่ถกเถียงนี้ มีการเมืองภายในประเทศเป็นแรงผลักดันสำคัญ

คำประกาศนี้จะมีความหมายมากกว่า หากถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของแผนสันติภาพ ทว่า เนื่องจากทางทำเนียบขาวยังคงร่างเอกสารอยู่ ทำให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้องใช้เวลาในการแถลงข่าวเพื่อตอบโต้คำวิจารณ์ที่ว่า เขากำลังตัดสินความริเริ่มด้านสันติภาพของตัวเองไปก่อนหน้าที่เอกสารจะออกมา

ประธานาธิบดีทรัมป์ยืนยันว่า สหรัฐฯ ยังคงยึดมั่นในความพยายามที่จะช่วยไกล่เกลี่ยข้อตกลงซึ่งทั้งสองฝ่ายยอมรับได้ และไม่ได้เลือกจุดยืนที่ในที่สุดแล้วจะหมายถึงสถานะของนครเยรูซาเลม ซึ่งดูเหมือนจะมีความหมายเป็นนัยว่าการอ้างกรรมสิทธิโดยปาเลสไตน์เหนือพื้นที่ทางตะวันออกของนครเยรูซาเลมที่กำลังถูกยึดครอง จะยังคงอยู่บนโต๊ะเจรจาต่อไป เพียงแต่ข้ออ้างของประธานาธิบดีทรัมป์จะชัดเจนกว่านี้ หากมีการระบุอย่างละเอียด และให้ความชัดเจนว่าเป้าหมายในที่สุดแล้วคือการมีอยู่ของทั้งสองรัฐ

เยรูซาเลมImage copyrightGETTY IMAGES

ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่าสหรัฐฯ จะสนับสนุนทางออกดังกล่าวหากทั้งสองรัฐเห็นด้วย โดยไม่ได้ให้ความชัดเจนอย่างที่ปาเลสไตน์ต้องการ จึงทำให้ถ้อยแถลงที่ออกมา สื่อว่าเขายอมรับอิสราเอล และไม่ได้ให้ความสำคัญกับปาเลนไตน์

เสียงสะท้อนจากอิสราเอลและปาเลนไตน์

นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล เรียกการตัดสินใจของสหรัฐฯ ว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ และกล่าวว่า อิสราเอลขอขอบคุณประธานาธิบดีทรัมป์เป็นอย่างสูง โดยทวีตข้อความว่า "เยรูซาเลม เป็นเป้าหมายแห่งความหวัง ความฝัน และการภาวนาของเรามานานสามสหัสวรรษ"

ด้านนายอับบาส ผู้นำปาเลสไตน์ กล่าวผ่านโทรทัศน์ที่มีการบันทึกไว้ล่วงหน้าว่า นครเยรูซาเลมเป็น "เมืองหลวงตลอดกาลของรัฐปาเลนไตน์" และก่อนหน้านี้ ได้ออกคำเตือนผ่านโฆษกว่า "จะเกิดผลลัพธ์ที่อันตราย" ตามมา เช่นเดียวความเห็นของผู้นำชาติอาหรับคนอื่น ๆ ซึ่งมองว่าอาจทำให้เกิดความไม่สงบตามมาได้

สื่อท้องถิ่นที่สนับสนุนกลุ่มฮามัสรายงานว่า เกิดการประท้วงขึ้นที่ฉนวนกาซา ก่อนที่ผู้นำสหรัฐฯ จะประกาศการตัดสินใจดังกล่าว โดยการประท้วงจัดขึ้นตามคำเรียกร้องของกลุ่มอิสลามฮามัสซึ่งปกครองฉนวนกาซา โดยกลุ่มฮามัสระบุว่า การตัดสินใจของประธานาธิบดีทรัมป์ จะ "เปิดประตูสู่นรก" สำหรับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาค

เสียงจากประชาคมนานาชาติ

การตัดสินใจของสหรัฐฯ มีขึ้นท่ามกลางเสียงคัดค้านจากกลุ่มประเทศมุสลิม และพันธมิตรของสหรัฐฯ

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมานแห่งซาอุดีอาระเบีย ตรัสว่า ความเคลื่อนไหวนี้ "จะกลายเป็นการยั่วยุชาวมุสลิมทั่วโลก" ซึ่งขณะนี้ มีกลุ่มผู้ประท้วงรวมตัวกันแล้ว ทั้งที่ฉนวนกาซา และด้านหน้าสถานกงสุลสหรัฐฯ ในนครอิสตันบูลประเทศตุรกี

นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่านี่เป็น "ช่วงเวลาแห่งควาววิตกกังวลอย่างมาก" และ "ไม่มีทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการมีอยู่ของทั้งสองรัฐ ไม่มีแผนสอง"

ปฏิกิริยาจากผู้นำคนอื่น ๆ:

  • นายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของสหรัฐฯ ซึ่ง "ไม่ช่วยอะไรในแง่อนาคตของสันติภาพในภูมิภาค"
  • ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ระบุว่า ฝรั่งเศสไม่สนับสนุนความเคลื่อนไหวดังกล่าว และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบ
  • นางเฟเดอริกา โมเกรินี ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป กล่าวว่า "มีความห่วงกังวลอย่างมาก"