Skip to main content

 

 

#ครอบครองระเบิดนิวเคลียร์คือหลักประกันความมั่นคงถาวรของตุรกี

ในสภาวะร้อนระอุของการเมืองระหว่างประเทศในขณะนี้ตุรกีคือชาติหนึ่งที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ ด้วยการวางตัวเป็นเดือดเป็นร้อนในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับมุสลิมตลอดหลายปีที่ผ่านมา ส่งให้นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าตุรกีกำลังต้องการทวงบทบาทของตัวเองกลับคืนมา นับที่ได้สูญเสียไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

จากการจัดอันดับความพร้อมทางทหารของหลายสำนักตุรกีจะติดอยู่ 1 ใน 10 ของชาติที่มีความพร้อมทางทหารระดับสูง

ในปีนี้ 2017 global fire power ยกให้ตุรกีมีความพร้อมทางทหารเป็นอันดับ 8 ของโลก เป็นรองเพียง 7 ชาติ คือ ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อินเดีย จีน รัสเซีย และอเมริกา

แต่กฎของสงครามคือตราบที่คุณสร้างหลักประกันว่าจะมอบความพินาศให้ศัตรูของคุณในอัตราเดียวกับที่ฝ่ายตรงข้ามมีศักยภาพที่จะมอบให้คุณไม่ได้ เมื่อนั้นคุณก็ยังไม่ถือว่าปลอดภัย

แนวคิดนี้เป็นแนวคิดพื้นฐานที่ทำให้เกาหลีเหนือยอมทุ่มทุกสรรพกำลังเพื่อโครงการนิวเคลียร์ของประเทศอันเป็นหลักประกันความปลอดภัยเดียวที่ไว้ใจได้ เพราะอย่างน้อยศัตรูคงต้องคิดแล้ว คิดอีกก่อนกล้ากระทำการใดๆ

แต่ตุรกีจะเลือกเดินตามทางเกาหลีเหนือคงไม่ฉลาดเกินไปเพราะนับตั้งแต่ปี 1970 มีกฎการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ของ UN ตีกรอบไว้ การยุ่มย่ามในโครงการนิวเคลียร์อาจต้องเผชิญกับเรื่องร้ายๆอย่างที่เกาหลีเหนือ และอิหร่านเคยประสบมา

เช่นนี้แล้วโครงการนิวเคลียร์ของตุรกีควรเป็นเช่นไร?

จริงๆตุรกีมีโครงการร่วมมือกับรัสเซียในโครงการนิวเคลียร์ แต่เป็นนิวเคลียร์เพื่อพลังงานไม่ใช่โครงการทางทหาร มีสะดุดอยู่พักใหญ่ๆหลังจากตุรกีสอยเครื่องบินของรัสเซีย แต่ล่าสุดทั้งสองฝ่ายก็กลับมาคุยกันใหม่แล้ว คงได้ข้อสรุปในไม่ช้า

ตุรกีมีระเบิดนิวเคลียร์ในครอบครองคือ B61 ซึ่งเป็นหัวรบนิวเคลียร์ของสหรัฐที่จะมอบให้ประเทศพันธมิตรเป็นการคุ้มครอง ซึ่งประเทศสมาชิกนาโต้ (NATO) ที่มีฐานทัพสหรัฐในประเทศก็มักมีหัวรบชนิดนี้

ในตุรกี B61 เก็บรักษาไว้ที่ฐานทัพอากาศ Incirlik ดูแลโดยกองทัพสหรัฐ หลายท่านคงจำได้เมื่อครั้งมีความพยายามก่อรัฐประหารในตุรกีฐานทัพเเห่งเดียวกันนี้ถูกรัฐบาลตุรกีตัดน้ำ ตัดไฟ จนมีกระแสข่าวห่วงว่าจะส่งผลต่อระบบการเก็บรักษาหัวรบในฐานทัพ

ภายหลังมรสุมรัฐประหารความสัมพันธ์กับสหรัฐ และชาติสมาชิกนาโต้ก็สั่นคลอน ตุรกีวันนี้จึงเสมือนเสือที่แยกออกจากฝูง (มีภัยอยู่รอบตัว)

ชาติเสือต้องมีเคี้ยว และเคี้ยวที่ทรงอำนาจที่สุดก็คือนิวเคลียร์

โลกปัจจุบันนี้มีหัวรบนิวเคลียร์เกือบ 15,000 หัวรบ โดยมีชาติที่ครอบครองทั้งหมด 9 ชาติคือ

1 รัสเซีย 7,000 หัวรบ

2 อเมริกา 6,800 หัวรบ

3 ฝรั่งเศส 300 หัวรบ

4 จีน 270 หัวรบ

5 อังกฤษ 215 หัวรบ

6 ปากีสถาน 120 หัวรบ

7 อินเดีย 110 หัวรบ

8 อิสราเอล 80 หัวรบ

9 เกาหลีเหนือประมาณ 10 หัวรบ

 

ในจำนวนประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ปากีสถาน คือชาติมุสลิมชาติเดียวที่ครอบครองอาวุธร้ายแรงชนิดนี้

เคยมีข้อเสนอให้ปลดอาวุธนิวเคลียร์ของปากีสถาน เพราะเกรงจะตกไปอยู่ในครอบครองของกลุ่มก่อการร้าย แต่ปากีสถานตอบกลับอย่างสุภาพว่า ยินดีให้ปลดแต่ต้องปลดของอินเดียด้วย (เป็นคำตอบสั้นๆแต่แฝงด้วยอนุภาคเรื่องจึงเงียบหายไป)

มาถึงจุดนี้ผู้เขียนแค่มองความเป็นไปได้ว่าตุรกีควรมีสนธิสัญญาบางประการกับปากีสถานเพื่อสร้างความมั่นคงระหว่างสองประเทศ เเละเพือเป็นเสาหลักให้ชาติมุสลิมอีกหลายสิบได้มีที่พึ่งในยามประสบปัญหา

ดูเหมือนตุรกีจะแบกรับความหวังของอุมมะฮ์ (ประชาชาติอิสลาม)ไว้ไม่น้อย ขอเป็นอีกหนึ่งผู้ดุอาร์ (ขอพร) ครับ

 

อับดุลเราะมัน มอลอ

รัฐศาสตร์ ม.หาดใหญ่

 

https://www.un.org/disarmament/wmd/nuclear/npt/

https://www.newyorker.com/n…/news-desk/the-h-bombs-in-turkey

http://www.icanw.org/the-facts/nuclear-arsenals/

https://www.globalfirepower.com/countries-listing.asp

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่ Patani Institute for Research and Human Development - Insani 

 

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ