วลาดิเมียร์ ปูติน ศึกษา
ทวีศักดิ์ ปิ
หากติดตามสถานการณ์รอบโลก สิ่งที่มักจะได้ยินคือ สงคราม ความขัดแย้งและสันติภาพ ในรอบปีที่ผ่านนี้ รัสเซียถูกทำให้ชาวโลกหันมามองอีกครั้งด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลายๆกรณี
ไม่ว่าจะเป็น สงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในซีเรีย หลายฝ่ายมองว่า ปูตินเป็นสหายคนสนิทของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดแห่งซีเรีย และถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนสงครามในซีเรีียอีกด้วย
ในขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอย่างตุรกี ก็มีวีรกรรมให้ชาวโลกเห็นถึงสองครั้ง ซึ่งครั้งแรกหลังเครื่องบินของรัศเซียถูกยิงแล้วตกในตุรกี และครั้งต่อมา ทูตรัสเซียถูกยิงกลางกรุงอังการ่า ในสองกรณี ปูติน ได้โชว์ศักยภาพความเป็นผู้นำให้โลกได้เห็นโดยเฉพาะความเด็ดขาดของการวางตัวและเลือกที่จะตัดสินใจ
รัฐสภารัสเซียกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม 2018 ท่ามกลางการบริหารประเทศของผู้นำที่มีชื่อว่าปูติน ยาวนานถึง 18 ปีแล้ว การเลือกตั้งในครั้งนี้กลับถูกวิจารย์ว่าเป็นละครบทหนึ่งที่จะสร้างความชอบธรรมให้ปูตินได้ต่ออายุในการบริหารประเทศไปอีกสมัยอย่างแน่นอน
แต่ในทางกลับกันก็มีบทวิเคราะห์ที่มองว่า แม้การเลือกตั้งรอบนี้ ปูตินจะได้รับชัยชนะได้อย่างง่ายดายก็ตาม แต่หลังจากเลือกตั้งแล้วเขาอาจจะพบการความท้าท้ายอีกมากมายให้เห็นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัสเซียที่ตอนนี้กำลังประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจของรัสเซียตกและอีกอย่างคือการนำพาให้รัสเซียขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างอดีตอีกครั้ง
แต่ปัจจุบันกลับต้องประสบกับภาพลักษณ์ที่ไม่คอยดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนานาประเทศมองว่า รัสเซียคือภัยคุกคามสงครามมากกว่านักสร้างสันติภาพโลก
วัดความความแข็งแกร่งให้กับปูติน
ต้นปีนี้ อเมริกาที่ถือว่าเป็นมหาอำนาจโลกและเป็นคู่แข่งคนสำคัญของรัสเซีย ได้ผู้นำคนใหม่ อย่าง โดนัล ทรัมป์ บุคคลที่ถูกมองว่าไม่เชี่ยวชาญและไม่มีประสบการณ์มาก่อน ทำให้เห็นภาพของผู้นำอย่างปูติน ผงาดขึ้นมาอีกครั้ง โดยเฉพาะในเรื่องของตะวันออกกลางศึกษาและล่าสุดรัสเซียถูกอังกฤษกล่าวหาว่า รัสเซียอยู่เบื้องหลังการใช้สารพิษทำลายประสาท Nerve Agent ลอบสังหารเซอร์เกย์ สกรีปอล อดีตจารชนสองหน้าชาวรัสเซียที่แปรพักตร์มาทำงานให้หน่วยสืบราชการลับ MI6 ของอังกฤษ ปมขัดแย้งดังกล่าวทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ถึงกับออกโรงปกป้องพันธมิตรอังกฤษ และร่วมออกแถลงการณ์กับฝรั่งเศสและเยอรมนีชนิดที่เราไม่ค่อยเห็นนัก เพื่อประณามรัสเซียที่พยายามโจมตีเป้าหมายด้วยอาวุธเคมี ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศและละเมิดอธิปไตยของอังกฤษ
ทำให้ความระหว่างรัสเซียกับอังกฤษเริ่มร้าว เมื่อนายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ประกาศขับทูตรัสเซีย 23 คนกลับประเทศเพื่อตอบโต้ หลังจากที่มอสโกไม่ยอมชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ ในช่วงหลังก็มีความระหองระแหง เช่นกัน
หลังจากที่รัฐบาลวอชิงตัน ได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรมอสโกรอบใหม่เพื่อลงโทษ 19 บุคคล และ 5 หน่วยงานของรัสเซีย รวมถึง Internet Research Agency ที่พยายามแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2016 ทั้งการโพสต์ข้อความยุแยงให้เกิดความแตกแยกทางการเมืองบนโซเชียลมีเดีย และการโจมตีทางไซเบอร์อย่างอุกอาจ
แต่บริบทการเมืองระหว่างประเทศเช่นนี้กลับสร้างโอกาสให้ปูตินได้แสดงภาวะผู้นำอย่างเต็มที่ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง หลังจากที่โดนัลด์ ทรัมป์ และสีจิ้นผิงของจีน ชิงพื้นที่สื่อส่วนใหญ่ไปในช่วงหลัง แต่เวลานี้ทุกคนกลับหันมามองที่ปูติน โดยในระหว่างหาเสียงและแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภารัสเซียเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ปูตินสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่า รัสเซียจะกลับมาทวงความยิ่งใหญ่ในฐานะชาติมหาอำนาจที่เข้มแข็งได้อีกครั้งหากมีปูตินเป็นผู้นำสมัย
จะเกิดอะไรขึ้นถ้า ปูติน เป็นผู้นำรัสเซียต่อ
แน่นอนว่า นโยบายที่ปูติน ใช้มัดใจประชาชนรัสเซียคือให้คำมั่นสัญญาว่า จะนำรัสเซียกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ซึงปูตินจะต้องทำทุกวิถีทางให้รัสเซียกลับมาอยู่ในลู่หน้าของสังคมและต้องพยายามให้เคียงอเมริกาให้ได้แม้ต้องใช้วิธีไหนก็ตาม สัญญาอีกข้อที่ปูตินได้สัญญาคือ จะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับผู้ใช้แรงงาน และเพิ่มสวัสดิการสังคมต่างๆ พูดง่ายๆคือจะต้องทำให้คนรัสเซียมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม และสิ่งที่ไม่ควรลืมและลืมไม่ได้คือ ปุตินคือผู้เชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศฉะนั้นเขาคงจะต้องโฟกัสในเรื่องนี้เป็นอันดับแรก
เส้นทางสู่ความยิ่งใหญ่
แน่นอนว่าสิ่งที่ปูติน จะต้องทำคือวางตัวเองในฐานะผู้นำรัสเซียในการสร้างสันติภาพต่อโลกใบนี้ ซึ่งวิธีที่ปูตินถนัดคือการเข้าไปแทรกแซงเพื่อนบ้าน อย่างที่ปูตินทำกับซีเรีย คือเข้าไปแทรกแซงสงครามกลางเมืองในซีเรียหนุนบาชาร์จนกลายเป็นประเด็นที่ทำให้โลกมุสลิมเกิดความไม่พอใจต่อรัสเซียเป็นอย่างมาก แทนรัสเซียไปจับมือกับอิหร่านประกาศสร้างกลุ่มพันธมิตรใหม่เพื่อช่วยปกป้องรัฐบาลประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย และกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม (ไอเอส) ซึ่งถือเป็นการหยิบยื่นชัยชนะครั้งใหญ่ให้แก่อัสซาด และ รัสเซียยังให้การปกป้องอิหร่านโดยการตำหนิอเมริกาที่เข้าไปแทรกแซงอิหร่านจนสร้างความไม่พอใจต่ออเมริกาอย่างหนัก นอกจากนี้ได้สร้างความแข็งกร้าวในการผนวกดินแดนไครเมียจากยูเครนอีกด้วย การกระทำของรัสเซียในฐานะที่มีปูตินเป็นผู้นำ จะยิ่งทำให้รัสเซียโดดเดี่ยวมากขึ้นบนเวทีโลก ขณะเดียวกันความเสี่ยงที่จะถูกนานาชาติคว่ำบาตรก็มีสูงซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของรัสเซียอย่างหลีกหนีไม่พ้น สิ่งนี้ได้กลายเป็นจึงโจทย์ใหญ่ที่ปูตินจะต้องตามแก้ภายหลังได้นั่งเป็นผู้นำในสมัยที่4
ปูติน-รอยั๊บ ฏอยยิบ อัรดูฆอน
มีการพูดว่า ปูตินกับอัรตูฆอนผุ้นำคุรกีเป็นสหายรัก จากหลักฐานความสัมพันธ์ของทั้งคู่ ในหลายๆเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ เครื่องบินรัสเซียถูกยิงในกลางฟ้าตุรกี เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้สร้างความไม่พอใจต่อปูตินเป็นอย่างมากแต่อัรดูฆอนเป็นผู้นำที่รู้จักเพื่อนบ้านดีจึงทราบว่าปูตินมีชีวิตที่สโลว์ไลฟ์ชอบมาพักผ่อนที่ชายหาดของตุรกี หลังพบหลักฐานที่แท้จริงว่าเกิดจากฝีมือของนาโต ทั้งคู่ได้ยกหูคุยกันสุดท้ายอัรดูฆอนก็ได้ขอโทษปูตินเป็นพิธี และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อทูตของรัสเซียถูกลอบสังหารในกรุงอังการ่า เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นหลังจาก โดนัล ทรัมป์ ได้รับชัยชนะเพียงไม่นาน หลังเหตุการณ์ มีการวิเคราะห์ว่า อัรดูฆอนได้ยกหูโทรศัพท์ คุยกับปูตินทำให้ทั้งคู่เข้าใจกัน และในปีที่แล้วอัรตูฆอนและปูตินได้เข้าร่วมพิธีเปิดมัสยิดกลางในกรุงมอสโกซึ่งเป็นมัสยิดที่หรูหราและเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปอีกด้วย พิธีเปิดมัสยิดในครั้งนั้น ประธานาธิบดีมะห์มูด อับบาส ผู้นำปาเลสไตน์ ได้มาเป็นแขกกิตติมศักดิ์และร่วมเป็นสักขีพยานอีกด้วย กลายเป็นประเด็นให้เป็นที่พูดคุยว่า ทั้งรัสเซีย ตุรกี และปาเลสไตน์ คือคู่อริของอเมริกาทั้งสิ้น
เมื่อเป้าหมายของปูติน คือต้องเหนือกว่าโดนัลทรัมป์ รัสเซียต้องยิ่งใหญ่กว่าอเมริกา สิ่งนี้ได้กลายเป็นโจทย์ใหญ่ให้กับปูตินว่า จะเลือกเดินในเส้นทางที่เรียกว่า หงส์เหนือมังกร ตามความถนัดของปูติน หรือสรรหาสวัสดิการให้กับชาวรัสเซียดั้งด้วยความสังคมนิยมที่แท้จริง