Skip to main content

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
สถานที่ : ห้องประชุมอเนกประสงค์ ชั้น 2 อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี
             สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จ.นครปฐม
วันเวลา : 3 กันยายน 2550 (8.30 น. - 17.00 น.)

 

เวทีนำเสนอผลงานวิจัยใน  3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
"จากชุมชนสู่นโยบายสาธารณะ"

หลักการและเหตุผล

ด้วยศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล มีความมุ่งหวังให้มีการศึกษา ทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อันจะนำไปสู่การปฏิบัติ และการเสนอแนะนโยบายสาธารณะ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ของคนทุกเชื้อชาติและศาสนาในสังคมไทย โดยเฉพาะกรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดภาคใต้ ซึ่งเหตุการณ์ความรุนแรงได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี 2547 เป็นต้นมา ปรากฏการณ์เมื่อวันที่ 28 เมษายน และ ตุลาคม 2547 และการลอบซุ่มทำร้าย การฆ่ารายวัน การเผาสถานที่ราชการ รวมทั้งการลอบวางระเบิดในสถานที่สำคัญๆ ได้บ่มเพาะความกลัว ความโกรธ อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่หล่อเลี้ยงความรุนแรง และทำให้ความรุนแรงขยายตัวออกไป    

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี เล็งเห็นว่าโครงการศึกษาและพัฒนา เป็นกระบวนการหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และนำไปสู่การคลี่คลายความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ได้ ซึ่งในขณะนี้ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มีโครงการศึกษาและพัฒนาอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบประมาณ 20 โครงการ นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548-2549 โดยมีกรอบแนวคิด 3 ประการคือ

1. การสร้างความเข้าใจ
           
2. การแสวงความร่วมมือ 
           
3. การเปิดพื้นที่ทางความคิด 

วัตถุประสงค์

            เพื่อเผยแพร่ผลงานการศึกษาและพัฒนาของศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธีสู่สาธารณะ

วัน เวลาและสถานที่

            วันจันทร์ที่ 3 กันยายน 2550 เวลา 9.00 น.- 16.00 น. ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

องค์กรรับผิดชอบโครงการ

            ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

- เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ มีความเข้าใจ และทัศนคติในเชิงบวก
- ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปสู่การปฏิบัติเชิงนโยบาย
- รวบรวมบทความทั้งหมดจากการดำเนินงานโครงการเผยแพร่สู่สาธารณะ

กำหนดการ

08.30 น.            ลงทะเบียน

09.00 น.            กล่าวรายงาน
                       
โดย นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล

09.05 น.            กล่าวเปิดการประชุม
                       
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณพรชัย มาตังคสมบัติ

09.15 น.            ปาฐกถาหัวข้อ "จากชุมชนสู่นโยบาย"
                       
โดย คุณกรณ์อุมา พงษ์น้อย (วัดอักษร) ประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก

การเสนอผลงานวิจัยและซักถามอภิปรายภาคเช้า

10.00 น.            เสาะแสวงหาข้อเท็จจริง
                       
โดย ดร.ศรีประภา  เพชรมีศรี

10.30 น.            พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 น.            เล่าขานตำนานใต้
                       
โดย ศาสตราจารย์ศรีศักร  วัลลิโภดม

11.15 น.            เยียวยาครอบครัวผู้สูญเสียชีวิตและบาดเจ็บจากกรณีความรุนแรงใน 4 จชต.
                       
โดย คุณนารี  เจริญผลพิริยะ

11.45 น.            การพัฒนาและฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชนภาคใต้
                       
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ซุกรี  หะยีสาแม

12.45 น.            พักรับประทานอาหารกลางวัน / ประกอบศาสนกิจ

การเสนอผลงานวิจัยและซักถามอภิปรายภาคบ่าย

13.30 น.            การปกครองท้องถิ่นของจังหวัดที่มีหลายชาติพันธุ์
                       
กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส 
                       
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีสมภพ  จิตร์ภิรมย์ศรี

14.00 น.            การวิจัยเรื่องภาษามลายูท้องถิ่นในประเทศไทย
                       
การศึกษาสถานการณ์ทางภาษา การพัฒนา และการวางแผนการใช้ภาษาเพื่อการ
                        ศึกษาและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระยะที่ ๑) 
                        โดย ศาสตราจารย์สุวิไล  เปรมศรีรัตน์

14.30 น.            พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 น.            การประสานความร่วมมือกับผู้สำเร็จการศึกษาจากประเทศมุสลิม
                       
โดย รองศาสตราจารย์พิเชฎฐ์  กาลามเกษตร์

15.15 น.            การสานเสวนาเพื่อป้องกันและลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน
                       
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปาริชาด  สุวรรณบุบผา

16.45 น.            แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสรุปการประชุม

หมายเหตุ :        กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
                        โทรศัพท์ 02-849-6072-4 
 

การเดินทางด้วยรถเมล์
จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ศาลายา (พุทธมณฑลสาย 4) นั่งรถเมล์สาย 515
จากสนามหลวง - ปิ่นเกล้า-ศาลายา (พุทธมณฑลสาย 4) นั่งรถเมล์สาย 124
จากสถานีรถไฟบางซื่อ - ศาลายา (พุทธมณฑลสาย 4)   นั่งรถเมล์สาย 125
จากท่าน้ำคลองสาน - ศาลายา (พุทธมณฑลสาย 4)       นั่งรถเมล์สาย 84ก.
** หรือสอบถามเส้นทางการเดินรถเมล์ได้ที่ 184 **