Skip to main content

ศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ภาคใต้ 


          รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (
Violence-related Injury Surveillance - VIS) ประจำเดือนสิงหาคม 2550 ซึ่งจัดทำโดย หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สรุปเหตุการณ์ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด 111 ครั้ง มีจำนวนผู้บาดเจ็บ 194 ราย มีผู้เสียชีวิต 65 คน

เมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาพบว่า สถานการณ์มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากเดิม 100 ครั้ง เพิ่มขึ้นเป็น 111 ครั้ง มีจำนวนผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้นจาก165 รายเป็น 194 ราย

โดยเมื่อเทียบอัตราการบาดเจ็บจะพบว่า มีอัตราการบาดเจ็บอยู่ที่ 4.6 ต่อแสนประชากรต่อเดือน มีอัตราการตายอยู่ที่ 1.5 ต่อแสนประชากรต่อเดือน มีอัตราการป่วยตาย 1.5 ต่อแสนประชากรต่อเดือน ส่วนอัตราการป่วยตาย (case fatality rate-CFR) ร้อยละ 33.3 มีจำนวนผู้ได้รับผลกระทบในครอบครัวผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมทั้งหมด 147 คน

เมื่อวิเคราะห์ถึงผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตตามกลุ่มอาชีพ พบว่า ในเดือนสิงหาคมมีความเปลี่ยนแปลงจากเดิมซึ่งเป็นกลุ่มทหารที่มีอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด มาเป็น "กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม" และมีข้อสังเกตคือในกลุ่มเกษตรกรรมนอกจากจะมีอัตราการบาดเจ็บและตายสูงแล้ว ยังมีระดับอัตราส่วนการบาดเจ็บและเสียชีวิตในระดับที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมแสดงถึงความแม่นยำในการสังหารเป้าหมายมีมากขึ้นด้วย

ขณะที่อัตราการบาดเจ็บในอันดับรองลงมาได้แก่ กลุ่มอาชีพทหาร พบว่ามีสัดส่วนการเสียชีวิตอยู่ระดับที่ไม่สูงมากนัก คือ ประมาณเกือบ 1 ใน 4 ของจำนวนผู้บาดเจ็บทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอัตราการสูญเสียที่ลดน้อยลง

ส่วนจำนวนเหตุการณ์ตามลักษณะที่เกิดเหตุ 3 อันดับแรกพบว่า เกิดบนถนนหรือทางหลวง 69 ครั้ง, บ้าน-ที่อยู่อาศัยส่วนตัว 15 ครั้ง และสถานที่ค้าขายสินค้าและบริการ 11 ครั้ง ซึ่งรูปแบบของลักษณะที่เกิดเหตุยังคงมีลักษณะเหมือนเดือนกรกรฎาคมที่ผ่านมา

รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (VIS)  ประจำเดือน สิงหาคม 2550 เป็นความร่วมมือระหว่างความร่วมมือของโรงพยาบาลของรัฐและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้, ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.ชต.), สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา, สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศว.ชต.) และหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม
http://medipe.psu.ac.th/vis/report/VIS_Report_Aug07.pdf


สรุปสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (
Violence-related Injury Surveillance - VIS) เดือนสิงหาคม 2550
หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

            ม.ค.- มิ.ย. 2550 มีเหตุการณ์ความรุนแรงจำนวน 690 ครั้ง มีจำนวนผู้บาดเจ็บ 1,307 ราย อัตราการบาดเจ็บ 42.67 ต่อแสนประชากรต่อ 6 เดือน มีจำนวนผู้เสียชีวิต 258 คน อัตราตาย 8.44 ต่อแสนประชากรต่อ 6 เดือน อัตราป่วยตาย (case fatality rate-CFR) ร้อยละ 19.77

          ก.ค. 2550 มีเหตุการณ์ความรุนแรงจำนวน 100 ครั้ง มีจำนวนผู้บาดเจ็บ 165 ราย อัตราการบาดเจ็บ 3.9ต่อแสนประชากรต่อเดือน มีจำนวนผู้เสียชีวิต 49 คน อัตราตาย 1.2 ต่อแสนประชากรต่อเดือน อัตราป่วยตาย (case fatality rate-CFR) ร้อยละ 29.5

          ส.ค. 2550 มีเหตุการณ์ความรุนแรงจำนวน 111 ครั้ง มีจำนวนผู้บาดเจ็บ 194 ราย อัตราการบาดเจ็บ 4.6 ต่อแสนประชากรต่อเดือน มีจำนวนผู้เสียชีวิต 65 คน อัตราตาย 1.5 ต่อแสนประชากรต่อเดือน อัตราป่วยตาย (case fatality rate-CFR) ร้อยละ 33.3


แผนภูมิที่ 1. จำนวนเหตุการณ์สะสมรายเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม 2547

   
แผนภูมิที่ 2. จำนวนเหตุการณ์จำแนกตามจังหวัดและเวลาที่เกิดเหตุการณ์
(1 จุดแทน 1 เหตุการณ์) ม.ค.-มิ.ย. 2550

  

แผนภูมิที่ 3. จำนวนเหตุการณ์จำแนกตามเดือนและเวลาที่เกิดเหตุการณ์
(1 จุดแทน 1 เหตุการณ์) ม.ค.-มิ.ย. 2550

แผนภูมิที่ 4. จำนวนเหตุการณ์จำแนกตามจังหวัดและเวลาที่เกิดเหตุการณ์
(1 จุดแทน 1 เหตุการณ์) ก.ค. 2550

แผนภูมิที่ 5. จำนวนเหตุการณ์จำแนกตามจังหวัดและเวลาที่เกิดเหตุการณ์
(1 จุดแทน 1 เหตุการณ์) ส.ค. 2550

แผนภูมิที่ 6.จำนวนเหตุการณ์จำแนกตามจังหวัดและวันใน 1 สัปดาห์ที่เกิดเหตุการณ์ (ม.ค.-มิ.ย. 2550)


แผนภูมิที่ 7. จำนวนเหตุการณ์จำแนกตามเดือนและวันใน 1 สัปดาห์ที่เกิดเหตุการณ์ (ม.ค.-มิ.ย. 2550)


แผนภูมิที่ 8.  จำนวนเหตุการณ์จำแนกตามจังหวัดและวันใน 1 สัปดาห์ที่เกิดเหตุการณ์ (ก.ค. 2550)

แผนภูมิที่ 9.  จำนวนเหตุการณ์จำแนกตามจังหวัดและวันใน 1 สัปดาห์ที่เกิดเหตุการณ์ (ส.ค. 2550)


แผนภูมิที่ 10. จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ตามจังหวัดที่เกิดเหตุ (ม.ค.-มิ.ย. 2550)

แผนภูมิที่ 11. จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำแนกตามเดือนและจังหวัดที่เกิดเหตุ (ม.ค.-มิ.ย. 2550)


แผนภูมิที่ 12. จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ตามจังหวัดที่เกิดเหตุ (ก.ค. 2550)

แผนภูมิที่ 13. จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ตามจังหวัดที่เกิดเหตุ (ส.ค. 2550)


แผนภูมิที่ 14. อาชีพของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ม.ค.-มิ.ย. 2550


แผนภูมิที่ 15. อาชีพของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ม.ค.-มิ.ย. 2550


แผนภูมิที่ 16. อาชีพของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ก.ค. 2550


แผนภูมิที่ 17. อาชีพของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ส.ค. 2550 

การบาดเจ็บ
ตารางที่ 1. จำนวนและร้อยละของสาเหตุภายนอก 10 อันดับแรก ม.ค.-มิ.ย. 2550

ตารางที่ 2. จำนวนและร้อยละของสาเหตุภายนอก 5 อันดับแรก ก.ค. 2550

ตารางที่ 3. จำนวนและร้อยละของสาเหตุภายนอก 5 อันดับแรก ส.ค. 2550


อ่านเอกสาร VIS ฉบับเต็ม