มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
เผยแพร่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554
แถลงการณ์
เจ็ดปี รัฐล้มเหลวไม่สามารถนำคนอุ้ มสมชายมาลงโทษ
รัฐต้องตอบญาติ สังคมไทยและเวทีโลก ใครอุ้มทนายสมชาย
ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 และ นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของนายสมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และบุตรของนายสมชาย ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นาย[1] ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ เพื่อกระทำผิดและร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใด โดยใช้กำลังประทุษร้าย จากกรณีการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2547
คำพิพากษาอุทธรณ์วิเคราะห์เหตุการณ์ว่าเกิดเวลาค่ำแสงน้อย พยานไม่เห็นหน้าจำเลย ยกประโยชน์แห่งความสงสัยกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นยกฟ้ องให้จำเลยที่ 1พ้นผิด จำเลยที่ 2-5 ไม่มีประจักษ์พยาน จำเลยที่ 5 หลักฐานทางโทรศัพท์ไม่น่าเชื่อถือ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้องจำเลยที่ 2-5 องค์กรสิทธิมนุษยชน เสนอรัฐบาลรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศเรื่องการคุ้มครองบุคคลจากการถูกบังคับให้สูญหายในเวที UPR [2] ที่กรุงเจนีวาเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 เพื่อแสดงเจตจำนงทางการเมืองแก้ไขระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมล้มเหลวในการนำคนผิดมาลงโทษ เรียกร้องรัฐจะต้องตอบญาติ ตอบสังคมและเวทีโลกให้ได้ว่ าใครอุ้มทนายสมชาย
ในวันนี้เป็นวันครบรอบ 7 ปีการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความสิทธิมนุมษยชน คดีนี้คดีที่สาธารณชนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากนอกจากจำเลยที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5นายที่ตกเป็นผู้ต้องหาคดียังมีผู้ที่เกี่ยวข้องในข้อหาดังกล่าวที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่อีกหลายนาย ที่ยังไม่สามารถนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ อีกทั้งคดีนี้ยังความเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเป็นที่วิจารณ์กันว่า คดีเช่นนี้ผู้กระทำความผิดที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมักลอยนวล โดยที่กฎหมายไทยไม่สามารถนำตั วมาลงโทษได้
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ได้ตอกย้ำข้อวิจารณ์ดังกล่าวและเป็นการยืนยันว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยไร้ประสิทธิภาพ หรือปกป้องเจ้าหน้าที่ที่ กระทำผิดให้ลอยนวล(Impunity) และไม่มีกฎหมายหรือมาตรการที่เพียงพอในการนำผู้กระทำผิดโดยบังคับให้บุคคลสูญหายมาลงโทษได้เนื่องจากไม่มีข้อหาการบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดอาญาในกฎหมายไทย อีกทั้งกระบวนการยุติธรรมของไทยยังไม่ยอมรับว่าการบั งคับให้บุคคลสูญหายหรือ Enforced Disappearances หรือการอุ้มหาย อุ้มฆ่าเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
ศาลอุทธรณ์จึงวินิจฉัยไปว่า เมื่อภรรยาและบุตรของทนายสมชายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมไม่สามารถยืนยันได้ว่าทนายสมชายเสียชีวิตจากการถูกทำร้ายหรือได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการงานเองได้ จึงไม่เข้าตามหลักเกณฑ์ที่จะใช้สิทธิเป็นผู้เสียหายแทนได้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้บุ คคลในครอบครัวของนายสมชายทั้ง 5 คนเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้น มิชอบตามกฎหมายจึงไม่ต้องพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม คำพิพากษาของศาลเท่ากับเป็นการตัดสิทธิของภรรยาและบุตรทั้ง 4 ของนายสมชายในการเข้ามามีส่วนรวมในการต่อสู้เพื่อค้นหาความจริงและเพื่อความยุติธรรมในกระบวนการศาล ศาลอุทธรณ์ไม่รับคำอุทธรณ์โดยโจทก์ร่วมคือภรรยาและบุตรในการพิจารณาอุทธรณ์คดีนี้ ทั้งๆที่ศาลแพ่งได้มีสั่งให้ นายสมชาย เป็นบุคคลสาบสูญ หลังหายตัวไปครบ 5 ปีแล้วเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
“เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม รัฐบาลจะต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชั้นพนักงานสอบสวนและอัยการเพื่อแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่กระทำผิดแต่ลอยนวล ทั้งขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งลงนามเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญหาย (International Convention for the Protection of all persons from Enforced Disappearance) อันจะนำมาซึ่งการตราบทบัญญัติในกฎหมายอาญาว่าการบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นการกระทำผิดทางอาญา การปฏิบัติตามพันธกรณีตามอนุสัญญาจะนำไปสู่การสร้างมาตราฐาน ทั้งทางกฎหมาย การบริหารงานตุลาการ และด้านการคุ้มครองพยานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อคุ้มครองและยุติการบังคับให้บุคคลสูญหายในประเทศไทย โดยรัฐต้องแสงความมุ่งมั่นและเจตจำนงทางการเมืองต่อเวทีระหว่างประเทศที่จะมีการพิจารณารายงานสถานการณ์สิทธิมนุ ษยชนของประเทศไทยตามระบบ UPR ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ที่จะถึงนี้” นายสมชาย หอมลออ ประธานมูลนิธิฯ กล่าว
การสูญหายของบุคคลคือการสู ญหายของความยุติธรรม
The Disappearance of Persons is the Disappearance of Justice
[2] การจัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิ มนุษยชนของประเทศไทยภายใต้กลไกUniversal Periodic Review (UPR) โดยประเทศไทยจะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC)ในวันที่ 5 และวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 และวันที่14 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นวันสุดท้ายที่องค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศจะสามารถส่งรายงานสถานการณ์สิทธิฯ ต่อคณะมนตรีสิทธมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ โดยมีการคาดการณ์ว่าประเด็นเรื่องการหายตัวไปของทนายสมชาย จะเป็นประเด็นที่ทาง HRC จะท้วงติงสอบถามความคืบหน้ าในการนำคนผิดมาลงโทษ
[1] พ.ต.ต.เงิน ทองสุก อดีต สว.กอ.รมน.ช่ วยราชการกองปราบปราม,พ.ต.ท.สินชัย นิ่มปุญญกำพงษ์ อายุ 42 ปี อดีตพนักงานสอบสวน กก.4 ป.,จ.ส.ต.ชัยเวง พาด้วง อายุ 40 ปี อดีต ผบ.หมู่งานสืบสวน แผนก 4 กก.2บก.ทท., ส.ต.อ.รันดร สิทธิเขต อายุ 38 ปี อดีตเจ้าหน้าที่ธุรการ กก.4 ป. และ พ.ต.ท.ชัดชัย เลี่ยมสงวน อายุ 45 ปี อดีตรอง ผกก.3 ป. เป็นจำเลยที่ 1-5