ความพยายามในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในโลกนี้ถูก ดำเนินมาอย่างยาวนาน หลายยุคหลายสมัย นานเท่าๆกับต้นเหตุของความขัดแย้งนั้นเริ่มเกิดขึ้นแม้ชนวนสงครามของประเทศ ต่างๆจะแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่มนุษย์ได้เรียนรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นคือ “Nobody wins in the war”
อาเซียนเป็นอีกกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามมาหลายช่วงเวลา ทำให้การพัฒนาของแต่ละประเทศยังคงดำเนินไปอย่างค่อยๆเป็นค่อยๆไป ถ้าเทียบกับศักยภาพของประชากรที่มีอยู่และความพร้อมของฐานทรัพยากร เราน่าจะไปได้ไกลกว่านี้ แต่สิ่งที่รั้งความเจริญของอาเซียนไว้คือ “สงคราม” ทั้งที่เกิดจากการคุกคามของมหาอำนาจเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1,2 สงครามกลางเมืองที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐบาลผู้ปกครอง ประเทศ หรือแม้แต่ประชาชนกับประชาชนด้วยกันเองในประเทศ อย่างไรก็ตามความขัดแย้งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สินและประเทศชาติที่เกิดสงครามนั้นๆด้วย
บทเรียนจากสงครามที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ เมื่อเกิดปัญหาเราต้องช่วยกันหาทางแก้ เป็นอีกหนึ่งความพยายามที่ APSOC หรือ ASIA-PACIFIC SOLIDARITY COALITION ที่ส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก ได้ประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนโดย ผ่านกิจกรรมต่างๆที่ส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับ ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งสมาชิกทั้งหมด 5 ประเทศ คืออินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ติมอตะวันออกและไทย
ในการพูดคุยจะมีการนำเสนอถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ การเสนอแนวทางแก้ไข และบทเรียนที่ได้จากการประสบปัญหานั้นๆ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นของหลายๆประเทศที่เข้าร่วมประชุมได้นำเสนอและแลกเปลี่ยน คือ การต่อสู้เพื่อการกำหนดสิทธิของตัวเอง (Right-self Determination) หลังจากถูกกดขี่จากผู้ปกครองมานาน แต่นั้นขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์ที่เป็นสิ่งถูกใช้ในการอ้างอิงว่าจะน่า เชื่อถือหรือสมควรแก่การต่อสู้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะหมายถึงเสียงสนับสนุนในการต่อสู้ในครั้งนี้จากประเทศเพื่อนบ้านที่ สามารถเป็นกระบอกเสียงกระจายเรื่องราวที่เกิดขึ้น น เพื่อให้ประชาชนของตนพูดถึง สร้างความตระหนักร่วมให้เกิดขึ้นและนั้นก็หมายถึงความเป็นสากลไปแล้วจะง่ายกว่าการต่อสู้เพียงใช้เวทีระดับประเทศที่อาจจะช่วยได้ไม่มาก
ตัวอย่าง เรื่องราวของพื้นที่ต่างๆที่ใช้ความพยายามก่อนหน้าเพื่อการเรียกร้องความ เป็นธรรมจากรัฐที่ปกครองประเทศตนและเรียกร้องสิทธิในพื้นแผ่นดินตัวเองอย่าง ติมอตะวันออกหรือ TIMOR-LESTE ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วจากการอาศัยเวทีนานาชาติในการเรียกร้องคืนแผ่นดิน บรรพบุรุษก่อนจะมีการรวมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย
และเป็นอีกประเทศที่ได้รับความสำเร็จแยกตัวเป็นประเทศอิสระแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้ชาวติมอร์ยังต้องเรียกร้องต่อเนื่องคือความเป็นอิสระอย่าง แท้จริงจากประเทศที่ให้ความช่วยเหลือระหว่างการเรียกร้องเอกราชจาก อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่าและนั้นเป็นสิ่งที่ประเทศอื่นต้องเรียนรู้เพื่อการเลี่ยงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกทีที่มีการเรียกร้อง
แต่ ไม่ใช่เพียงติมอร์ตะวันออกเท่านั้นที่รัฐบาลอินโดนีเซียต้องรับมือกับกลุ่ม เคลื่อนไหวเพื่อความเป็นเอกราช ยังมีอีกประมาณอย่างน้อยสามกลุ่มที่ร่วมต่อสู้กับติมอร์ตะวันออกแต่ยังไม่ ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลในสิ่งที่เรียกร้อง อย่างอาเจะห์ (Aceh) มูลูกัส (Maluku) และเวสปาปัว (West Papua) ซึ่งอาศัยเวที APSOC
ในการอธิบาย ต่อประเทศแถบอาเซียนว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระจาก อินโดนีเซีย โดยทั้งสามพื้นที่มีการอ้างเหตุผลทางประวัติศาสตร์และเหตุผลที่ประเทศถือ ครองในปัจจุบันต้องการรักษาพื้นที่เหล่านั้นไว้เพราะความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรที่เลี้ยงประชากรหลักของประเทศไว้ตอนนี้ ้ ทำให้เป็นเรื่องที่รัฐบาลกลืนไม่ได้ คายไม่ออกเมื่อเป็นที่พูดถึงในเวทีระดับนานาประเทศ
แต่ที่สิ่งที่ เป็นจะทำลายความชอบธรรมในการเรียกร้องในครั้งนี้คือ การใช้ความรุนแรงในต่อสู้ เมื่อมีเวทีกลางที่สามารถใช้ในการต่อสู้ในที่สว่างได้ อาวุธที่ใช้ควรจะเป็นข้อมูลที่จะสามารถมายืนยันต่อชาวโลกว่า “คุณมีสิทธิในการเรียกร้องในครั้งนี้ อย่างไร”
แต่เมื่อใดที่มีการใช้ความรุนแรงเมื่อนั้นจะหมายถึงการทำลายความชอบธรรมในการต่อสู้และเสียงสนับสนุนจากเวทีข้างนอกหมดลงทันทีเพราะนี้เป็นโอกาสที่เปิดให้ผู้ที่อยากเรียกร้องความเป็นอิสระในครั้งนี้ นั้นก็หมายถึงความยากลำบากในการต่อสู้จะยิ่งเพิ่มพูนและอาจจะต้องมีผู้สังเวยชีวิตและทรัพย์สินไม่รู้จบและนั้นคือความพ่ายแพ้อย่างแท้จริงจากการต่อสู้นั้น
นี่ เป็นเหตุผลที่ตอบคำถามว่าทำไมเราจึงต้องสนับสนุนให้เกิดการพูดคุยในประเด็น เหล่านี้ และต้องมีการสนับสนุนให้เกิดความเป็นปึกแผ่นของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ของเรา ให้เข้มแข็งเพื่อการรักษาชนรุ่นหลังไม่ให้หมดไปจากสงครามของบรรพบุรุษของตน