องค์กรร่วมจัดการประชุม
- กระทรวงสาธารณสุข
- สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
- สำนักวิจัยและพัฒนา ม.สงขลานครินทร์
- สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
- คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ ม.สงขลานครินทร์ (วพส.)
- คณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ ม.สงขลานครินทร์ (สวรส.ภาคใต้ มอ.)
สถานที่ : โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพ ฯ
วันเวลา : 7 พฤศจิกายน 2550 (12.30 - 16.30 น.) / 8 พฤศจิกายน 2550 (09.00 - 16.15 น.)
หลักการ เหตุผล
สถานการณ์ความไม่สงบของพื้นที่ชายแดนภาคใต้ มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน โดยมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วง ไม่เคยสงบ หรือยุติอย่างจริงจัง
เหตุการณ์ความไม่สงบของอดีตมีให้ได้ยินตลอดเวลา แต่ครั้งล่าสุดมีระยะความวิกฤตนานร่วม 3 ปี คือ ตั้งแต่ต้นปี 2547 ซึ่งข้อมูลจากสรุปผลการดำเนินงานของศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศบ.สต.พบว่า ภายในระยะ 3 ปีนี้เกิดเหตุความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้รวม 6,657 ครั้ง
หลายฝ่ายตั้งคำถามว่า ทำไม อะไรคือสาเหตุ ปัจจัยหลายประการทุกหยิบยกมาพิจารณากัน ขึ้นกับมุมมองของแต่ละฝ่าย แต่สิ่งหนึ่งที่ขณะนี้ทุกคนยอมรับร่วมกันคือ ปัญหาภาคใต้เกิดจากสาเหตุหลายมิติ การแก้ไขต้องการการดำเนินการในหลายมิติด้วยเช่นกัน ไม่ใช่ใช้มาตรการใดมาตรการหนึ่งหรือมิติใดมิติหนึ่งในแก้ปัญหา ในด้านผลกระทบที่เกิดขึ้นมีทั้งต่อชีวิต คือพบว่าในรอบ 3 ปีนี้ผู้บาดเจ็บจำนวน 4,119 ราย และเสียชีวิตจำนวน 2,291 ราย
ในด้านความเสียหายต่อทรัพย์สิน บ้านเรือน อาคารที่อยู่อาศัย ตลอดจนสถานที่ราชการอื่นๆ พบว่าสถานที่ต่างๆ ดังกล่าวถูกเผา ถูกลอบวางระเบิดเสียหายจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนถึงผลที่เกิดขึ้นในด้านความเป็นอยู่ของประชาชนที่ไม่มีความปลอดภัย คุณภาพชีวิตโดยรวมของพี่น้องในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำมาหากินที่ไม่สะดวก การเดินทางที่เสี่ยงภัย ซึ่งนับวันจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ในด้านผลกระทบที่เกิดกับกระทรวงสาธารณสุขพบว่า มีสถานีอนามัยถูกเผาวางเพลิง วางระเบิดจำนวน 12 แห่ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขถูกทำร้ายบาดเจ็บจำนวน 21 คน เสียชีวิตจำนวน 10 คน อาสาสมัครสาธารณสุขถูกทำร้ายบาดเจ็บจำนวน 9 คน และเสียชีวิต 21 คน
จากการวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่โดยสาธารณสุขที่ 18 และ 19 พบว่าปัญหาอนามัยแม่และเด็ก ยังเป็นปัญหาที่สำคัญอันดับแรกของทุกจังหวัด ปัญหารองลงไปคือ กลุ่มโรคติดต่อ เช่นมาเลเรีย อุจจาระร่วง กลุ่มโรคไม่ติดต่อ เช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน และกลุ่มโรคจากอุบัติเหตุ
นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเชิงระบบ คือ บุคลากรสาธารณสุขไม่พอเพียง รวมทั้งขาดขวัญ และกำลังใจ เหล่านี้คือสภาพปัญหา และผลที่รอการแก้ไขจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง
ในด้านการแก้ไขสถานการณ์ มีการตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ หรือ ศอ.บต. ขึ้นเป็นศูนย์กลางในแก้ไขปัญหา ทางด้านสาธารณสุขมีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นมา 10 ชุด และตั้ง ศบ.สตขึ้นเพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุขในภาวะที่ไม่ปกตินี้ และยังมีองค์กรสาธารณสุขหลายแห่งต่างแสดงการพยายามมีส่วนร่วมในการรับมือกับสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้นี้ ซึ่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หรือ สวรส. เป็นหน่วยงานหนึ่งทางด้านสาธารณสุข ที่ตระหนักดีถึงความต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการแก้ไข และหามาตรการที่จะช่วยเหลือให้พี่น้องชายแดนภาคใต้ มีระบบการสาธารณสุขและสุขภาวะที่ดี ด้วยความเคารพถึงความแตกต่างของวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ความคิด ความเชื่อของพี่น้องมุสลิม
โดยได้ให้การสนับสนุน สวรส.ภาคใต้ในการจัดการความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อเป้าหมายในการสนับสนุนความมีสุขภาวะที่ดีให้เกิดในพี่น้องมุสลิมชาวใต้ ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ ประสานเครือข่ายสุขภาพอื่นๆ ให้เกิดเป็นพลังในการแก้ไข สนับสนุนการสร้างสุขภาวะ อย่างมีข้อมูลเชิงประจักษ์ของพื้นที่เป็นตัวสนับสนุน
จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมา องค์กรด้านสาธารณสุขนอกเหนือจาก สวรส.ภาคใต้แล้ว ยังมีองค์กรอื่น ๆเช่น สกว วช สสส สปสช. เครือข่าย สวรส. อย่าง สพช. เป็นต้น เข้าไปดำเนินการด้านสาธารณสุข ในลักษณะวิจัยปฏิบัติการในประเด็นทางด้านสุขภาพมาตลอด ซึ่งการรวบรวมในเบื้องต้นของ สวรส. ภาคใต้ มอ. พบว่า มีจำนวนงานวิจัยที่สร้างโดยเครือข่ายสุขภาพจำนวนหนึ่ง ตามความสนใจ และพันธกิจขององค์กร ซึ่งทั้งหมดจะเป็นโครงการเดี่ยวๆ นำเสนอเพื่อแก้ปัญหาเป็นจุดๆ ควรที่จะได้มีการร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกิดจากงานวิจัยเหล่านี้
ทั้งนี้เพื่อการรับมือด้านการสร้างสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้ในบริบทความไม่สงบนี้อย่างเป็นระบบ บูรณาการทุกภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรม กำหนดทิศทางในอนาคตในการใช้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนและสร้างระบบสุขภาพ และสุขภาวะในพื้นที่ภาคใต้ และสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสุขภาพเพื่อการรับมือสถานการณ์เชิงระบบ รวมทั้งเป็นขวัญ และกำลังใจ แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ดังกล่าว
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายจัดการความรู้ทั้งด้านด้านสุขภาพ และด้านที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ทิศทางการสร้างงานวิจัย
2. วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายระบบสุขภาพ และการสร้างสุขภาวะให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างเป็นระบบ
3. ยกระดับการเรียนรู้ด้านการจัดการความรู้ของบุคลากรในพื้นที่
กลวิธีการดำเนินโครงการ
1.ผลักดันให้เกิดการใช้การจัดการความรู้ในการรับมือ และสร้างสุขภาวะแก่ประชาชนในพื้นที่ ด้วยการเชื่อมโยงความรู้สู่กลุ่มเป้าหมาย และการประยุกต์ใช้งานวิจัยในการรับมือ และสร้างสุขภาวะแก่ประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้ ตัวอย่าง Best Practice และร่วมวิเคราะห์ทิศทางการสร้างงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมมิติต่างๆ
2.การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายระบบสุขภาพ และสร้างสุขภาวะแก่ประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้อย่างเป็นระบบ โดยการใช้กระบวนการสังเคราะห์ความรู้ที่เกิดจากงานวิจัย และประสบการณ์ตรงของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่
3.ยกระดับการเรียนรู้ของบุคลากรในพื้นที่ โดยใช้กลวิธีการสร้างเวทีถอดบทเรียน จากประสบการณ์ที่สั่งสมในการปฏิบัติงานในพื้นที่ และร่วมวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อสรุปที่สามารถนำไปสู่การเรียนรู้ของผู้มีส่วนได้เสีย
กำหนดการ
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2550
12.30-13.00 น. ลงทะเบียนและชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม
13.00-13.40 น. ปาฐกถา "เรียนรู้จากกระบวนการจัดการความรู้ในสถานการณ์วิกฤต"
โดย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
13.40-15.00 น. นำเสนอ "ทิศทางการวิจัยเพื่อสันติสุขภาวะพื้นที่ภาคใต้"
1. กลุ่มสุขภาพ
1.1. ระบบบริการสุขภาพ - นพ.สุวัฒน์ วิริยะพงษ์สุกิจ
1.2. ระบบสุขภาพชุมชน - ผศ.ภก.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
ภก ยูซุป นิมะ
1.3. การพัฒนาระบบ Deep South Watch (DSW) และ
Violence-related Injury urveillance (VIS) - นพ.สุภัทร
ฮาสุวรรณกิจ นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
2. กลุ่มพหุวัฒนธรรม - ผศ.ปิยะ กิจถาวร, ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์
3. กลุ่มการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน -คุณสาการียา บินยูซูป
คุณมานะ ช่วยชู
15.00-16.30 น. เสวนาโต๊ะกลม "ทิศทางการสนับสนุนการจัดการความรู้เพื่อสร้าง
สันติสุขภาวะพื้นที่ภาคใต้"
ผู้ร่วมเสวนา : ผู้บริหาร วช. สกว. สสส. สปสช. สช. และ สวรส.
ผู้ดำเนินรายการ : นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2550
09.00-09.30 น. พิธีเปิดและบรรยายนำ "ความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ภาคใต้"
โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นพ.มงคล ณ สงขลา)
09.30-10.15 น. ปาฐกถา "ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้"
โดย ผอ.ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศอ.บต.
(คุณพระนาย สุวรรณรัฐ)
10.15-10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30-12.00 น. นำเสนอ "ความจริงที่ภาคใต้ : มุมมองจากนักวิชาการ"
ผู้ร่วมอภิปราย : 1. ศ.นพ.ธาดา ยิบอินซอย
2. ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี
3. คุณภัทระ คำพิทักษ์
4. ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา
ผู้ดำเนินรายการ : คุณจอม เพ็ชรประดับ
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-15.30 น. เวทีนโยบาย : ข้อเสนอเชิงระบบเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน
ผู้ร่วมอภิปราย : 1.ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (นำเสนอผลการสังเคราะห์
ข้อเสนอเชิงนโยบายในภาพรวม)
2.หัวหน้าพรรคการเมือง/กลุ่มการเมือง
- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี
- นายบรรหาร ศิลปอาชา
- นายเสนาะ เทียนทอง
- พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
3. ผู้แทนฝ่ายความมั่นคง
- คุณพระนาย สุวรรณรัฐ
- พล.ท.วิโรจน์ บัวจรูญ (แม่ทัพภาคที่ 4)
4. ผู้แทนฝ่ายการศึกษา
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5. ผู้แทนฝ่ายการเมืองท้องถิ่น
- อธิบดีกรมการปกครองท้องถิ่น
ผู้ดำเนินรายการ : รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ (นพ.พลเดช ปิ่นประทีป)
15.30-16.15 น ปาฐกถา "วิธีสร้างศานติสุขอย่างยั่งยืนในจังหวัดชายแดนใต้"
โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี