Skip to main content

อลิสา  หะสาเมาะ
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ชาวอะเจห์เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในประเด็นการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อการประกาศเป็นอิสรภาพ จากรัฐบาลกลางในยุคสมัย Suharto รวมถึงการต่อสู้เพื่อต้านการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมจากเจ้าอาณานิคมดัตช์

อัตลักษณ์ของชาวอะเจห์ถูกสร้างมาจากกระบวนการ 2 ส่วนที่สัมพันธ์กัน ประการแรก ความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ และอีกความรู้สึกหนึ่งคือ ความรู้สึกของผู้ที่ตกเป็นคนชายขอบ สำหรับประวัติศาสตร์ของสังคมอะเจห์แล้ว ในช่วงยุคหลังอาณานิคม รัฐบาลกลางอินโดนีเซียได้เข้ามาควบคุมแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แก๊ซและน้ำมัน ทั้งยังรวมไปถึงการรวมศูนย์อำนาจในประเด็นทางวัฒนธรรมและศาสนา นั้นหมายความว่า นอกจากพื้นที่ทางทรัพยากรธรรมชาติถูกช่วงชิงและเป็นกระบวนการหนึ่งทำให้อัตลักษณ์ของชาวอะเจห์กลายเป็นผู้ที่ตกอยู่ชายขอบของสังคม ปฏิกิริยาโต้ตอบจึงแสดงออกมาในรูปแบบของความขัดแย้งต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนระหว่างรัฐบาลกลางกับกลุ่ม GAM (Gerakan Aceh Merdeka หรือ Free Aceh Movement)

อ่านทั้งหมด...  
         
ดาวน์โหลดเอกสาร

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ได้มาจากการวิจัยภาคสนามในประเทศอินโดนีเซียระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยได้รับการสนับสนุนจาก "โครงการทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเซีย" (API Fellowship Program)  หัวข้อเดิมชื่อ Regionalism and Inter-Ethnic Relations: A Case of Acehnese in Indonesia