เมื่อสถานการณ์ความขัดแย้งในหลายประเทศทั่วโลกก้าวถึงจุดที่เรียกว่า ‘สงคราม’ และประชาชนต้องเผชิญกับความสูญเสียและความเศร้าโศกจนเกินขีดความอดทน ส่งผลให้กระบวนการสร้างสันติภาพมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ชัดเจน ขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งยังไม่ไปไกลถึงภาวะสงคราม แต่อยู่ ‘ระหว่างทาง’ ของคำว่าความขัดแย้งรุนแรงกับคำว่าสงคราม ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องใช้พลังในการสร้างสรรค์และทุ่มเทมากขึ้น เพื่อเปลี่ยนเป้าหมายของความรุนแรงให้กลายเป็นพื้นที่ที่อยู่ร่วมกันได้อย่างมีกติการ่วม ด้วยเหตุนี้ พันธกิจที่ท้าทายช่างภาพชายแดนใต้จึงมีเป้าหมายอยู่บนโจทย์พื้นฐานที่ว่า “เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร?” และการถักทอเครือข่ายสื่อ โดยเฉพาะกลุ่มช่างภาพชายแดนใต้เพื่อทำงานร่วมกัน เชื่อว่า จะเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การผลักดันให้เกิด ‘กระบวนการสันติภาพ’ ได้ทางหนึ่ง และภาพบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชายแดนใต้ในหลากหลายแง่มุมจะช่วยสะท้อนให้เห็นภาพจินตนาการที่ชัดเจนของสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันในอนาคต ซึ่งทุกคนต่างหวังและเฝ้ารอ”
“When the so-called ‘conflict situations’ in many countries around the world were reached the boundary of ‘war’ and people fed up with the loss and grievance, the peace-building process would become clearly with the goals to achieve. Unlike the restive situations in the Deep South of Thailand, which is still ‘in between’ whether to defy them just the ‘battle’ or complete ‘warfare’? For this reason, the peace-building process in the Deep South call on more powerful creativity and contribution from everyone involved, in the hope to change the hotbed of violence into one peaceful place where people can live in co-existence. Thus, the obligations of Deep South photographers in recording and reflecting various states of people and community would be related to the important question in mind; ‘How shall we live together?’ Furthermore, the empowerment of the Deep South media, especially Photographers Networks can be one factor in peace-building processes, as the collection of the Deep South related images can be used in finding a comprehensive imagination to the ‘future Deep South’ which all people are hoping and longing for.”
- 7 ปีภาพชายแดนใต้ กับ 170 ปีประวัติศาสตร์ภาพข่าวโลก โดย ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
- ประชาคมสื่อชายแดนใต้ในสถานการณ์ภัยพิบัติ 2553
- พินิจพิเคราะห์ 'ความจริง' กับ 'ภาพข่าวชายแดนใต้' เราจะจัดการความรุนแรงอย่างไร ?
- นิทรรศการภาพถ่าย "In Between; Restive South" โดย เครือข่ายช่างภาพชายแดนใต้
- รายงาน : ชุมนุมช่างภาพชายแดนใต้
- อ่านภาพ : ภาพถ่ายของอำนาจและอำนาจในภาพถ่าย โดย รอมฎอน ปันจอร์
- คมคิดหลังเลนส์ 9 ช่างภาพชายแดนใต้
- บทความพิเศษ War Photography โดย ภูมิกมล ผดุงรัตน์
- ขุดคุ้ยความจริง 'ข้างหลังภาพ'
- มองผ่านภาพถ่ายใน 'แสงเงาประวัติศาสตร์' เดียวกัน โดย ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง
- ฯลฯ