Skip to main content

ปกรณ์ พึ่งเนตร
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
 


         
เปิดศักราชใหม่อย่างน่าสะพรึงกลัวยิ่ง สำหรับสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับเหตุการณ์ซุ่มโจมตีทหารชุด รปภ.ครู สังกัด ร้อย ร.2933 ในท้องที่หมู่ 4 .ดุซงญอ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส เมื่อวันจันทร์ที่ 14 ..ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ทหารต้องพลีชีพพร้อมกันทีเดียว 8 นาย

          ยุทธวิธีของกลุ่มคนร้ายยังไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก คือ ลอบฝังระเบิดแสวงเครื่องแรงสูงเอาไว้ใต้ถนน เมื่อรถของทหารผ่านมาก็กดจุดชนวน พลันที่เสียงตูมดังสนั่นและรถเป้าหมายกระเด็นไปตามแรงอัดของดินระเบิด กองกำลังที่ซ่อนอยู่ก็จะกรูกันออกมา ใช้อาวุธสงครามรัวยิงที่ศีรษะอย่างโหดเหี้ยม ก่อนจะชิงอาวุธประจำกายแล้วหลบหนีไป

          ไม่รู้เป็นความบังเอิญหรือไม่ที่เหตุรุนแรงครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเพิ่งมีข่าวฉาวกรณี "กำลังพล" ของหน่วยข่าวกรอง 251 ถูกตั้งข้อหาฉกรรจ์ว่า "ขายข้อมูลลับ" ให้กับกลุ่มก่อความไม่สงบ แต่เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน จึงถูกจับโยงอย่างช่วยไม่ได้

          อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่าสิ่งที่ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อดีตกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) เรียกมันว่า "อุตสาหกรรมความไม่มั่นคง" นั้นมีอยู่จริง และเป็นที่รับรู้มาเนิ่นนานว่า มีกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์จากความรุนแรงที่ดำรงอยู่ ซึ่งบางแง่มุมอาจเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง ดังที่เคยมีเสียงวิจารณ์หนาหูเรื่อง "พูเรา" อันหมายถึงเหตุการณ์รุนแรงบางเหตุการณ์อาจเป็นฝีมือคนของรัฐ ไม่ใช่ขบวนการ "พูโล" แบ่งแยกดินแดนที่ไหน

          ทว่าปัจจุบันดูเหมือนสถานการณ์จะดิ่งลึกไปมากกว่าเดิม เพราะประเด็นที่พูดกันให้แซ่ดในหน่วยงานความมั่นคงวันนี้ก็คือ "สายลับสองหน้า" อันได้แก่ คนที่ตัวอยู่ฝ่ายรัฐ แต่ใจอยู่ข้างกลุ่มก่อความไม่สงบ ซึ่งในที่นี้เป็นได้ทั้ง 2 รูปแบบ คือเป็นแนวร่วมโจร แต่แทรกซึมเข้ามาอยู่ในหน่วยงานของรัฐตามช่องทางเปิดต่างๆ อาทิเช่น ทหารพราน หรือ อาสามัครรักษาดินแดน (..) เป็นต้น

          คงจะจำกันได้ เมื่อปลายเดือน ธ..2549 มีการจับกุม นายเปาซี ..บันนังสตา ในข้อหาเป็นสายโจร โดยนายเปาซีผู้นี้ทำหน้าที่เป็นพนักงานวิทยุของอำเภอ ทำให้รู้ข้อมูลความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐทุกระดับ และเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ส่งข้อมูลเหล่านั้นให้กลุ่มก่อความไม่สงบ แต่กรณีของนายเปาซีก็เงียบหายไปโดยไม่มีใครรู้ว่าเขาถูกดำเนินคดีอะไรบ้าง แว่วๆ ว่าได้รับการปล่อยตัวและหายไปอย่างไร้ร่องรอย

          ส่วนอีกรูปแบบหนึ่ง คือ เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วขายข้อมูลให้กลุ่มโจร ดังที่เป็นข่าวครึกโครมกันอยู่กรณีหน่วยข่าว 251 ซึ่งล่าสุด พล..อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ได้สั่งยุบหน่วยข่าวฉาวแห่งนี้แล้ว

          สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ข้อสันนิษฐานที่ว่า ฝ่ายโจรรู้ข่าวสารของทางราชการ และใช้ข่าวนั้นสร้างความสูญเสียให้กับฝ่ายรัฐ เป็นความจริงที่มิอาจปฏิเสธ

          ประเด็นที่น่าวิเคราะห์ต่อก็คือว่า แล้วเหตุการณ์สูญเสียครั้งรุนแรงดังเช่นการดักซุ่มโจมตีทหารเสียชีวิตถึง 8 นายเมื่อวันที่ 14 ..นั้น เป็นผลพวงจากขบวนการ "สายลับสองหน้า" หรือไม่

          หากย้อนดูเหตุการณ์ดักซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐครั้งรุนแรง เลือดเย็น ถึงพร้อมด้วยยุทธการ และสร้างความสูญเสียเกินกว่า 5 ศพ จะพบว่าเกิดเหตุลักษณะนี้ในปี 2550 ถึง 3 ครั้ง

          คือที่บ้านลาแป หมู่ 4 .บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อบ่ายวันที่ 9 ..2550 เป็นเหตุให้ทหารหน่วยรบพิเศษเสียชีวิต 7 นาย, ที่หมู่ 5 .ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา เมื่อค่ำวันที่ 31 มิ..2550 เป็นเหตุให้ทหารพรานชุดเฉพาะกิจที่ 4105 เสียชีวิต 11 นาย และที่บ้านบือซู หมู่ 6 .บันนังสตา เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 15 มิ..2550 เป็นเหตุให้ทหารชุดคุ้มครองครู สังกัด ร้อย ร.2514 ค่ายวิภาวดีรังสิต เสียชีวิตอีก 7 นาย รวม 3 เหตุการณ์ทหารพลีชีพไปถึง 25 นาย

          นี่ยังไม่นับรวมเหตุการณ์ลอบวางระเบิดสังหาร นายชยพัทธ์ รักษายศ นายอำเภอไม้แก่น จ.ปัตตานี ขณะออกปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ต้องสูญเสียนายอำเภอนักพัฒนา และนายทหารระดับพันโทอีก 1 นาย เมื่อวันที่ 19 มิ..ปีเดียวกัน

          เป็นที่ทราบกันดีว่า ในพื้นที่สีแดงเช่นนี้ การใช้ "." หรือวิทยุสื่อสาร ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ มีการใช้ "รหัสลับ" หลายชั้นเพื่อสร้างความสับสนและป้องกันการถูกดักฟัง เช่นเดียวกับการแจ้งหมายหรือแจ้งข้อมูลว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงจะเดินทางไปที่ไหน ใช้เส้นทางใด ต้องถือเป็นความลับขั้นสุดยอด หลายครั้งมีการแจ้งหมายหลอกกันด้วย

          ฉะนั้นหากชุดที่ถูกซุ่มโจมตีเป็นชุด รปภ.ครู ที่ต้องใช้เส้นทางเดิมในการเดินทางเกือบทุกวัน การก่อเหตุอาจไม่ต้องใช้ "การข่าว" ที่ลึกลับอะไรมากมาย แต่การซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนที่พยายามเปลี่ยนเส้นทางไม่ให้ซ้ำเดิม ต้องถือว่าไม่ธรรมดา และฝ่ายตรงข้ามต้องรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวของฝ่ายรัฐอย่างแน่นอน

          เมื่อหันไปพิจารณาจากวัตถุระเบิดที่ฝังไว้ใต้พื้นถนน ก็ไม่ใช่ฝังกันแค่วันเดียว แต่ต้องมีการเตรียมการ และมีวิธีตัดตอน ซึ่งในทางตำรวจเรียก "คัทเอาท์" แต่ในศัพท์ทางการทหารเรียก "คอมพาร์ท นีด ทู โนว์" (compart need to know) คือ มีการตัดช่วงการรับรู้ของบุคคลที่ร่วมก่อการ คนวางระเบิดกับคนมาจุดระเบิดจะเป็นคนละคนกัน และยิ่งไปกว่านั้นคือ ไม่รู้จักกัน

          เหตุซุ่มโจมตีที่เกิดขึ้น 3 ครั้งในปี 2550 และล่าสุดคือเมื่อวันที่ 14 ม.ค.2551 ฝ่ายตรงข้ามฝังระเบิดแรงสูงไว้ล่วงหน้า หนำซ้ำยังขนกำลังนับสิบมารอถล่มซ้ำอีก นั่นแสดงว่าการข่าวต้องแม่นยำว่า "เป้าหมายต้องมาแน่" และรู้ล่วงหน้าก่อนเป็นเวลานานด้วย เพราะชุดปฏิบัติการพวกนี้เป็นชุด "โมบาย" ที่มาจากนอกพื้นที่เพื่อเปิดปฏิบัติการโหดโดยเฉพาะ

          ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมีแนวร่วมปะปนกับชาวบ้านเป็นจำนวนมาก และคุ้นชินกับสภาพภูมิประเทศมากกว่า คือความได้เปรียบอย่างชัดเจนของกลุ่มก่อความไม่สงบ แต่หลายต่อหลายครั้งที่ผู้ก่อเหตุมีความแม่นยำต่อเป้าหมายสำคัญมากเกินไป ซ้ำยังหลบหนีเล็ดรอดด่านตรวจถี่ยิบไปได้อย่างลอยนวล ฉะนั้น นอกจากปัจจัยได้เปรียบ 2 ปัจจัยดังกล่าวแล้ว การข่าวที่แม่นยำย่อมเป็นเหตุผลสำคัญในความสำเร็จของปฏิบัติการด้วย

          แม้นักวิชาการที่ศึกษาประเด็นด้านความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาเนิ่นนานอย่าง ชิดชนก ราฮิมมูลา จาก ม.อ.ปัตตานี จะประเมินว่าการที่ "คนของรัฐ" ขายข่าวให้กับกลุ่มโจรโดยตรงไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในระบบปัจจุบัน แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่ามีแนวร่วมเชิงอุดมการณ์มากมายแทรกซึมเข้าไปอยู่ตามหน่วยงานราชการต่างๆ เพราะแม้แต่รถบัสทหารใหม่ที่เดินทางลงพื้นที่วันแรกหลังสับเปลี่ยนกำลังเมื่อปลายปีที่แล้วก็ยังถูกวางระเบิด

            ได้เวลาที่หน่วยงานด้านความมั่นคงจักต้องกวาดบ้านตัวเองกันขนานใหญ่เสียที !

 

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
- จากการข่าว' ถึงยุทธวิธี' จุดอ่อนไฟใต้ที่รัฐต้องปรับ
- พล..บุญรอด มองการข่าวใต้ "เราไม่รู้เขา แต่เขารู้เราหมด"