Skip to main content

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ : Deep South Watch

 

สรุปรายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Violence-related Injury Surveillance - VIS) ประจำปี 2550 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม โดยเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรงฯ สรุปเหตุการณ์และวิเคราะห์เปรียบเทียบ ตลอดปี 2550 ที่ผ่านมาในประเด็นต่อไปนี้คือ

ภาพรวมสถานการณ์ ปี 2550

มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด 1,228 ครั้ง เฉลี่ย 3.4 ครั้ง/วัน มีจำนวนผู้บาดเจ็บรวม 2,362 ราย หรือ 6.5 ราย/วัน (อัตราการบาดเจ็บ 5.9 ราย /ประชากรแสนคน /เดือน) มากกว่า 1 ใน 4 ของคนเหล่านี้เสียชีวิต (จำนวน 628 ราย) เฉลี่ย 1.7 ราย/วัน (อัตราตาย 1.6 ราย /ประชากรแสนคน/เดือน) อัตราป่วยตาย (case fatality rate-CFR) เท่ากับร้อยละ 26.6

การเกิดเหตุ

พื้นที่ที่เกิดเหตุสูงสุดคือ อ.เมืองยะลา โดยเหตุการณ์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60) เกิดขึ้นบนถนน ในช่วง 07.00-09.00 น. และ 20.00-21.00 น.

ผู้บาดเจ็บ

2 ใน 3 อายุ 15-44 ปี กว่าร้อยละ 80 เป็นผู้ชาย อาชีพเกษตรกร ทหาร และกรรมกร ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่ (ร้อยละ 57) นับถือศาสนาพุทธ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63) นับถือศาสนาอิสลาม

การบาดเจ็บ

เกือบครึ่งหนึ่งมีสาเหตุจากอาวุธปืน (ครึ่งหนึ่งเสียชีวิต) มากกว่า 1 ใน 3 มีสาเหตุจากวัตถุระเบิด (เสียชีวิตร้อยละ 7) ร้อยละ 18 เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

การรักษาพยาบาล

ผู้บาดเจ็บเข้ารักษาในร.พ. 2,475 ครั้ง ส่งตัวไปรักษาในร.พ.อื่น 589 ครั้ง ระยะเวลาการรักษาตัวในร.พ.รวม 5,254 วัน เสียค่าใช้จ่ายโดยตรงทางการแพทย์กว่า 12.5 ล้านบาท

รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (VIS)  รายงานวิเคราะห์เปรียบเทียบ 1 ปี มกราคม-ธันวาคม 2550 เป็นความร่วมมือระหว่างความร่วมมือของโรงพยาบาลของรัฐและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้, ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.ชต.), สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา, สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศว.ชต.) และหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

หมายเหตุ :

 

 

(คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น)


จำนวนเหตุการณ์รายเดือนเปรียบเทียบกับจำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบทุกประเภท
ทั้งที่มีและไม่มีผู้บาดเจ็บ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547


จำนวนเหตุการณ์รายเดือนเปรียบเทียบกับจำนวนเฉลี่ยรายเดือน
ของเหตุการณ์ความไม่สงบทุกประเภท
ทั้งที่มีและไม่มีผู้บาดเจ็บ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547


จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ตามจังหวัดที่เกิดเหตุ จำแนกตามเดือน


จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ตามอำเภอที่เกิดเหตุ
5 อันดับแรก จำแนกตามเดือน


ลักษณะของผู้บาดเจ็บจำแนกตามกลุ่มอายุ และเดือนที่เกิดเหตุ
(Mosaic plot)
ความกว้างของแท่งแสดงอัตราส่วนของผู้บาดเจ็บในเดือนนั้นจากผู้บาดเจ็บทั้งหมด
ความสูงของส่วนย่อยในแต่ละแท่งแสดงอัตราส่วนของกลุ่มอายุ