English version is below
“การทรมานคืออาชญากรรม”
แถลงการณ์ร่วม
เนื่องในวันต่อต้านการทรมานสากล
เผยแพร่วันที่ 26 มิถุนายน 2554
“องค์กรสิทธิมนุษยชน เรียกร้องรัฐบาลไทย ปฏิบัติตามพันธกรณีตามอนุสัญญา เพื่อป้องกันและขจัดการทรมานโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายซึ่งยังคงเกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเรียกร้องให้กำหนดให้การทรมานเป็นอาชญากรรม กำหนดกลไกเพื่อคุ้มครองพยาน เยียวยาเหยื่อจากการทรมาน
และการสอบสวนที่เป็นอิสระ เพื่อขจัดวัฒนธรรมการลอยนวลจากความผิด”
ตามที่มาตรา 32 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้รับรองสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายโดยการห้ามทรมาน ทารุณกรรมหรือลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม ประกอบกับประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ซึ่งทำให้การกระทำใดๆโดยเจ้าพนักงานของรัฐที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ซึ่งเป็นกระทำเพื่อให้ได้รับคำสารภาพ ลงโทษ ข่มขู่ให้กลัวหรือเพราะเหตุใดๆบนพื้นฐานของการเลือกปฏิบัติถือเป็น “การทรมาน” ซึ่งรัฐมีพันธกรณีในการป้องกันและต่อต้านไม่ให้เกิดการทรมานดังกล่าว
อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่เป็นภาคีอนุสัญญาฯดังกล่าวจนปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่ได้ดำเนินการกำหนดมาตรการใดไม่ว่าในทางนิติบัญญัติ บริหาร หรือตุลาการอย่างจริงจังเพื่อป้องกันการกระทำทรมาน เยียวยาผู้เสียหาย คุ้มครองพยาน หรือนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ทำให้การทรมานยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและดำรงอยู่ในสังคมไทยไม่ว่าภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินในจังหวัดชายแดนใต้ สถานการณ์ฉุกเฉินอันเนื่องมาจากการเรียกร้องทางการเมือง หรือภายใต้การบังคับใช้กฎหมายปกติ ซ้ำร้าย ผู้เสียหายซึ่งร้องทุกข์ว่าถูกทรมานให้รับสารภาพในคดีปล้นปืนค่ายปิเหล็ง จังหวัดนราธิวาส เมื่อปีพ.ศ. 2547 ยังถูกเจ้าหน้าที่ฟ้องคดีกลับในข้อหาแจ้งความเท็จ หลังจากหลังจากคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ชี้มูลความผิดว่าไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ ทั้งนี้ผู้เสียหายยังเป็นลูกความและพยานในคดีเกี่ยวเนื่องกับการถูกบังคับให้หายไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร
เนื่องในวันต่อต้านการทรมานสากล องค์กรสิทธิมนุษยชนดังมีรายชื่อข้างท้ายจึงขอเรียกร้องรัฐเร่งดำเนินการปฏิบัติตามพันธกรณีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทรมานโดยการออกกฎหมายเฉพาะ แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหรือกำหนดมาตรการใดๆ เพื่อ
1. ให้ฐานความผิดเรื่องการทรมานเป็นฐานความผิดเฉพาะ และกำหนดอัตราโทษที่เหมาะสมกับฐานความผิดดังกล่าว ปัจจุบันในกฎหมายไทยยังไม่มีฐานความผิดว่าด้วยการทรมานที่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานของรัฐ
2. ให้มีกลไกพิเศษในการสืบสวนสอบสวน และมีกลไกในการตรวจสอบที่อิสระและเป็นกลางจากผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดกรณีทรมาน ในคดีซึ่งมีการร้องทุกข์ว่ามีการทรมานเกิดขึ้น เพราะปัจจุบันเจ้าหน้าที่ ที่กระทำผิดไม่ถูกนำตัวมาลงโทษเนื่องจากผู้ที่ทำการสอบสวนและผู้กระทำผิดมักมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในทางใดทางหนึ่งทำให้ขาดความเป็นอิสระและเป็นกลางในการสอบสวน
3. ให้มีการคุ้มครองพยานที่มีมาตรฐานและปลอดภัย ฝึกอบรมและเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ และมีงบประมาณสนับสนุนเพียงที่จะทำให้ระบบการคุ้มครองพยานเกิดประสิทธิภาพได้จริง
4. ให้สร้างระบบการเยียวยาผู้เสียหายจากการทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะทางจิตใจต้องมีการบำบัด ฟื้นฟูอย่างเป็นรูปแบบ พร้อมทั้งพัฒนาระบบนิติจิตเวชให้แพทย์มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบภาวะทางจิตของผู้เสียหายที่มีภาวะความเครียด วิตกกังวล ภายหลังผ่านประสบการณ์เลวร้าย (Post Traumatic Stress Disorder -PTSD)
5. ให้มีหลักประกันต่อผู้เสียหายว่าคำร้องทุกข์จะได้รับการตรวจสอบโดยสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม และจะไม่ถูกดำเนินคดี ดังที่รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550 มาตรา 62 ได้รับรองไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิติดตามและร้องขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หน่วยการของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคลซึ่งให้ข้อมูลสุจริตแก่องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่นั้นย่อมได้รับการคุ้มครอง แต่ปรากฏในประเทศไทยผู้รอดชีวิตจากการทรมานโดยการกระทำจากเจ้าหน้าที่รัฐกลับไม่ได้รับการคุ้มครอง และถูกฟ้องกลับภายหลัง หากกลไกยุติธรรมของรัฐล้มเหลวในการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ
“การทรมานคืออาชญากรรม”
ด้วยเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน
1.เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
2.สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
3.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
4. คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย
5. ศูนย์ข้อมูลชุมชน
6. มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
7. โครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ
8.มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
9. มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม
10. กลุ่มบุหงารายา
“Torture is a crime”
Statement on International Day Against Torture
For Immediate Release on June 26, 2011
“Human Rights Organizations urge Thai Government to prevent and eliminate the use of torture by law enforcement officials in Thailand by implementing its obligation under UN Convention Against Torture to criminalize torture as a crime, to take effective measure for witness protection and remedy the victims, and most importantly to develop independent investigation mechanism to end impunity”
Section 32 of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 recognized the right to liberty, the right to life and prohibition of torture or brutal treatment or punishment by a cruel or inhumane means. In addition, Thailand is a Party to the UN Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT) which came into force for Thailand since November 1, 2007 which makes any action by the authorities by which severe pain or suffering is intentionally inflicted on a person with the purpose to force for confession or information, to intimidate or to punish the person, or for any other reason based on discrimination of any kind is “torture”. As the state party, Thailand has the obligation to prevent and punish act of torture. However, Thailand has not implemented its obligation to any measures, whether legislative, executive or judicial in order to prevent acts of torture, to protect witnesses, to remedy victims of torture, and most of all, measure to punish offenders.
Torture and cruel treatment is still exists in Thailand and still being used by law enforcement officers, whether under an emergency situation in the southern border provinces, emergency situations arising from political turmoil, or under enforcement of law in normal time. Moreover, tortured victim, who has filed complaint alleged that he was tortured by police to obtain confessions in the case of a gun robbery in Pileng Military Camp in Narathiwat Province in 2004, was pressed charge by the officers on charges of false police report after the Anti- Corruption Commission concluded that there was not enough evidence on torture complaint. The said victim was also a client and witness in cases of the enforced disappeared lawyer Somchai Neelapaijit who defended him in the gun robbery case.
As mark International Day against Torture, today Human rights organizations as listed below urge the Thai government to accelerate the fulfillment of its obligations to prevent torture by taking legislative measures to enact, amend of laws and to take effective measure to
1. Criminalize offense of torture as a specific offense and determine appropriate penalty for such offense because “torture by state officials” is not yet a criminal offence under Thai law.
2. Develop independent and impartial mechanism for the investigation into alleged act of torture. At present, the perpetrators are not brought to justice and impunity continues because the offenders are often associated with investigation body in ways that undermine the independence and impartiality of the investigation.
3. Take effective measure for witness protection in accordance with safety standards. Conduct training and increase the number of officials. Allocate appropriate funding to make the witness protection system truly effective.
4. Develop effective measure to provide remedy to victims of torture, both physically and psychologically especially for psychological rehabilitation. Also to develop forensic psychiatry equipped with medical knowledge and expertise to monitor the post psychological trauma effect on the victim such as stress and anxiety after a bad experience.
5. Take effective measure to guarantee easy access, prompt, impartial and fair investigation of allegation of torture. Also to ensure protection from backlash countersue by alleged offender against complainant as this rights to petition is guarantee by the Constitution section. 62 that a person shall have the right to follow up, and to request for examination of, the performance of duties of a person holding political position, State agency and State officials. And a person who provides information related to the performance of duties of a person holding political position, State agency and State officials to the organisation examining the misuse of State power or State agency shall be protected. But in practice, torture survivor is not protected and still being countersue by alleged offender while state mechanism fails to bring perpetrator to justice.
"Torture is a crime."
With respect to human rights and freedom
Human Rights Lawyers Association (HRLA)
Cross Cultural Foundation (CrCF)
Union for Civil Liberties (UCL)
Asian Human Rights Commission (AHRC)
Asian Human Rights Commission (AHRC)
Community Resources Centre (CRC)
Justice for Peace Foundation (JPF)
Stateless Watch
Human Rights and Development Foundation (HRDF)
Muslim Attorney Center Foundation (MAC)
Bungaraya Group