มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย
วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
สถานที่ : โรงแรมซีเอส จังหวัดปัตตานี
วันเวลา : 6 มีนาคม 2551 เวลา 08.00 - 12.30 น.
เวทีสาธารณะเรื่อง
"มิติสิทธิมนุษยชนกับการสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้"
(ร่าง) กำหนดการ
07.30 น. รับประทานอาหารเช้า
08.00 น. ลงทะเบียน
08.30 น. กล่าวเปิดโดย ดร.อิสมาแอ อาลี ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลาม * มอ. ปัตตานี
09.00 น. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ เสนอความเห็นโดย
- คุณอังคณา นีละไพจิตร คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ *
- พลตำรวจโทอดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจส่วนหน้า *
- พลตรีจำลอง คุณสงค์ กองอำนวยการผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร *
- คุณอับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์ ดินอะ อับดุลสุโก ดินอะ นักวิชาการ
- คุณพระนาย สุวรรณรัฐ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ *
- ตัวแทนนักศึกษา *
ดำเนินรายการโดย คุณอิสมะแอ สาและ รองเลขาธิการสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย
11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
11.15 น. กลไกและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศกับการสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้
โดย ศ.วิฑิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12.15 น. กล่าวปิด โดย คุณสมชาย หอมลออ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
หมายเหตุ : * อยู่ระหว่างการติดต่อ
1. ความเป็นมาและสภาพของปัญหา
สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อันได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส นั้น นอกจากความเชื่อมโยงกันกับบริบททางประวัติศาสตร์สยาม-ปาตานีแล้ว รากเหง้าสำคัญของปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่คอยเป็นฟืนเติมให้ไฟใต้ปะทุคุกรุ่นอยู่เสมอก็คือปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากการไม่เคารพในความแตกต่าง อีกทั้งการปฎิเสธความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ซึ่งเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมไทย ที่สะท้อนให้เห็นได้ตั้งแต่พัฒนาการการสร้างชาติในอดีตด้วยนโยบายรัฐนิยม 12 ฉบับ ในสมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม อันเป็นการบีบบังคับให้ประชาชนไทยเชื้อสายมาลายูมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องดำเนินชีวิตประจำวันที่ขัดต่อหลักศาสนาและวัฒนธรรมอิสลาม จนกระทั่งปัจจุบันโดยแนวทางการจัดการกับสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สะท้อนให้เห็นการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากสาเหตุความแตกต่างทางเชื้อชาติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นในด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หรือสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ทั้งที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยบุคคลเอกชนด้วยกันเอง หรือการเลือกปฏิบัติโดยนโยบาย กฎหมาย ระเบียบและขั้นตอนการปฏิบัติของรัฐ ซึ่งการไม่ได้รับความไม่เป็นธรรม การเลือกปฏิบัติ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนนี่เองที่เป็นอุปสรรคประการสำคัญต่อความพยายามในการดับไฟใต้ด้วยวิถีทางแห่งนิติธรรม และการเคารพศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นวิถีซึ่งจะนำมาสู่สันติสุขและสันติภาพอย่างแท้จริง
อนึ่ง เพื่อสร้างพื้นที่ทางสังคมในการหารือ ทำความเข้าใจ และแสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์ เกี่ยวกับสถานการณ์รุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยศึกษาถึงปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดอุปสรรค ปัญหาในการเข้าถึงและใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติ และการแก้ไขเยียวยา ทั้งปัจจัยภายใน อันได้แก่ วิถีชีวิต ความเป็นชาติพันธุ์ ภาษา วัฒนธรรมและความเชื่อ เป็นต้น และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ทัศนคติของสังคม และสถาบันต่างๆของสังคม รวมทั้งศึกษากฏหมายระหว่างประเทศและหลักสิทธิมนุษยชนสากล และการขจัดการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจถึงปัจจัยและผลกระทบต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสถานการณ์ความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงอยู่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้น
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย และวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงเห็นควรจัดให้มี เวทีสาธารณะเรื่อง "มิติสิทธิมนุษยชนกับการสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้" เพื่อเป็นการศึกษาและแสดงความคิดเห็นร่วมกันของหุ้นส่วนของปัญหา อันได้แก่ ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคราชการ นักศึกษา ทนายความ ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ทางผู้จัดฯ เรียนเชิญ ศ.วิฑิต มันตาภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน อีกทั้งเป็นผู้มีบทบาทในด้านการสร้างสันติภาพและรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสากล กล่าวปัจฉิมนิเทศ เรื่อง "กลไกและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศกับการสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้" เพื่อศึกษาทำความเข้าใจร่วมกันในประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข โดยอาศัยการมีส่วนร่วมด้วยวิถีทางแห่งสันติวิธีและการเคารพสิทธิมนุษยชน
2. วัตถุประสงค์
1.เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนในบริบทที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็น
2.เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคมเพื่อสร้างความเข้าใจต่อปัญหาสถานการณ์รุนแรงสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อศึกษาและแสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์ในประเด็นสิทธิมนุษยชน
3. ผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คนจาก
- องค์กรและเครือข่ายภาคประชาสังคม
- นักวิชาการ
- ภาคราชการ
- ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ
- นักศึกษา
- ประชาชนทั่วไป
4. ผู้รับผิดชอบการจัดประชุม
- มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
- สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย
- วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
5. วัน เวลา และสถานที่
วันที่ 6 มีนาคม 2551 เวลา 8.00 - 12.30 นาฬิกา ณ โรงแรมซี.เอส. ปัตตานี
299 หมู่ 4 ถ.หนองจิก ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี
โทรศัพท์ 073 335093-4, 073 336090-6
6. ติดต่อประสานงาน
- คุณญาดา หัตถธรรมนูญ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เลขที่ 111 ซ.สิทธิชน ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม. 10310 โทรศัพท์ 02-6934939, 02-6934831, 089-1309757 โทรสาร 02-2753954 e-mail [email protected]