Skip to main content
เมื่อวันที่ 11พฤศจิกายน 2554เครือข่ายพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้โครงการ วิทยาลัยประชาชน (people college) ผู้นำแห่งการแปรเปลี่ยนสู่สันติภาพ ได้จัดเสวนา ในหัวข้อ “สังคมมลายูปาตานีภายใต้นโยบายรัฐไทย” โดย อาจารย์ ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ ห้องประชุมศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (บ้านพักรับรอง) มอ.ปัตตานี
        
ภาพโดยhttp://www.songklatoday.com
          อาจารย์ ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ (ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้)กล่าวว่า สังคมมลายูเป็นสังคมที่กว้างเพราะความเป็นมลายูนั้นมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากหมู่บ้านไปสู่หมู่บ้าน ตำบลไปสู่ตำบลและยังรวมไปถึงจากภูมิภาคและทวีป ซึ่งเป็นสังคมที่มีกระจายอย่างกว้าง
 
         แต่บทบาทของสังคมมลายูกลับทำให้คนภายนอกสังคมมองข้ามหรือไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักจึงทำให้สังคมมลายูค่อยๆจางไป สาเหตุหนึ่งอาจมาจากกระแสวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาบทบาทมากในสังคมได้เข้ามาทำลายวัฒนธรรมดั่งเดิม
 
           ความเป็นสังคมมลายูปาตานีต้องเป็นตัวตนของมลายูปัตตานี เพื่อให้คนภายนอกได้รับรู้ถึงความหลายหลายและความเข้มแข็งของมลายูปัตตานีอย่างชัดเจน ความเป็นศาสนาอิสลาม และความความศรัทธาที่หนักแน่น ทุกอย่างนี้ถ้าเรามีการจัดวางได้อย่างเหมาะสมก็จะสามารถสร้างความเข้มแข็งได้
          ปัจจุบันสังคมมลายูยังขาดการจัดตั้ง ซึ่งหมายความว่าเราต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่แน่นอนเพื่อง่ายต่อการดำเนินการและต้องมีการตั้งเป้าหมายเพื่อให้ได้ก้าวสู่ความเป็นจริงไม่ใช่แค่ความฝัน โดยประเด็นหลักๆในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม ประกอบด้วย
                -การกำหนดสังคมมลายูปาตานีให้ชัดเจน นั่นคือสังคมมลายูปาตานีต้องเป็นแกนหลักในการสร้างความสามัคคีกันภายในกลุ่ม สร้างผู้นำจากสังคมอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
            -มีการแบ่งหน้าที่ให้ดีภายในกลุ่มเพื่อตอบสนองนโยบายที่ได้วางไว้
            -ต้องมีผู้นำเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนไปด้วยกันได้
-คนมลายูปาตานี จะต้องยืนด้วยลำแข้งของตัวเอง โดยเอาสังคมอื่นเป็นภาคีร่วมในเครือข่าย คุณประสิทธิ์ยกตัวอย่าง คนมลายูปาตานี ได้เปรียบเทียบว่า คนมลายูปาตานีเป็นเหมือนดวงอาทิตย์ส่วนคนอื่นเป็นดาวเคราะห์ที่ล้อมรอบดวงอาทิตย์ และที่สำคัญคนมลายูปาตานีจะต้องไม่เห็นผลประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของคนมลายูปาตานี
 
         การติดอาวุธทางความคิด จะต้องมีการศึกษาข้อมูลให้กว้าง ไม่ใช่แค่รู้เรื่องอย่างเดียวแต่ก็ควรที่จะต้องศึกษาสังคมอื่นๆด้วยเพื่อความก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ยกตัวอย่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประชากรของประเทศจีนมีความก้าวหน้ากว่าชาติอื่น ส่วนหนึ่งมาจากลักษณะนิสัยที่เป็นคนชอบช่วยเหลือพวกกันเองและมีความขยันอดทนกว่าชาติอื่น ซึ่งคนจีนนั้นจะประสบความสำเร็จในหลายๆด้าน
      
         อาจารย์ ประสิทธิ์ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ไม่จำเป็นต้องมีความพร้อมหรือสมบูรณ์แบบ ทุกอย่างก่อน โดยคนธรรมดาก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่างถ้าเรารู้จัก วิธีคิดและวิธีทำ หากเราเทียบกับประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้นมีตัวอย่างให้เราศึกษา สิ่งที่เรายังขาดคือ การนำมาใช้และประยุกต์ประวัติศาสตร์เหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ เพราะสังคมจะดำเนินไปในทิศทางใดนั้นส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับคนภายในสังคมว่ามีการดำเนินการอย่างไร คนในสังคมก็ควรที่จะสร้างความเข้มแข็งสามัคคีภายในกลุ่มและศึกษาหาแนวทางแก้ไข พัฒนาสังคมของเราเอง