Skip to main content
วิทยาลัยประชาชนเกิดจากการร่วมกลุ่มนักพัฒนา นักวิชาการ และเยาวชนที่เคยเป็นอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ที่เคยผ่านการอบรมเรื่องกฎหมาย การอบรมการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม จากหลายๆองค์กรที่เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

                กลุ่มเป้าหมายของวิทยาลัยประชาชน คือกลุ่มเยาวชน นักศึกษา ผู้นำชุมชนที่เคยเป็นอาสาสมัครที่มีประสบการณ์ ในการช่วยเหลือชาวบ้าน รวมทั้งลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลข้อเท็จจริง การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของกระบวนการยุติธรรม และการอบรมกฎหมายเป็นต้น ดังนั้นวิทยาลัยประชาชนจึงเล็งเห็นว่า ควรที่จะมีการรวมกลุ่มเยาวชน นักศึกษา และผู้นำชุมชนเหล่านี้ มาการรวมตัวกันเพื่อสร้างนักวิชาการของชุมชนเพื่อกลับไปให้ความรู้แก่ชุมชนของตนเอง ผ่านวิทยาลัยประชาชนเพื่อประชาชน

                 จากปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมา วิทยาลัยประชาชนมองว่า ปัญหาหนึ่งที่เป็นปัญหาสำคัญของความขัดแย้งในพื้นที่ คือ ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชุมชน จนก่อให้เกิดความหวาดระแวงต่อกัน เนื่องจากขาดพื้นที่สาธารณะในการสื่อสารระหว่างกัน ดังนั้นในการที่จะสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นก็ควรที่จะสร้างโอกาส สร้างพื้นที่เพื่อพบปะสร้างสรรค์ให้คนในชุมชนได้มาร่วมพูดคุยกัน สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ทางด้านสันติศึกษา ด้านคุณธรรมจริยธรรม วิถีชีวิตแบบพอเพียง เป็นต้น โดยมีนักวิชาการของชุมชนที่ผ่านการอบรมจากวิทยาลัยประชาชน ทั้งนี้ทางวิทยาลัยประชาชนมีความเชื่อว่าความหวาดระแวง ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชุมชนนั้นจะสามารถคลี่คลายปัญหานี้ได้ จากคนในชุมชนด้วยกันเองผ่านนักวิชาการของชุมชนตนเอง โดยการสร้างพื้นที่สาธารณะให้คนเหล่านี้มาพบปะพูดคุยกันเพื่อสร้างความเข้าใจต่อกันให้มากขึ้น

                     จุดประสงค์หลักของโครงการครั้งนี้คือ เปิดอบรมหลักสูตร “ผู้นำแห่งการแปรเปลี่ยนสู่สันติภาพ  ให้กับเยาวชน นักศึกษา ทีมงาน บุคลากรในองค์กรภาคประชาชน และผู้นำในชุมชน และให้ผู้ที่ผ่านหลักสูตรอบรมไปต่อยอดด้วยการเปิดพื้นที่สาธารณะของคนในชุมชนซึ่งเป็นชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบผ่านกระบวนการสร้างสันติภาพจากคนในพื้นที่เอง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้แต่ละชุมชนในพื้นที่ด้ามขวาน มีการทำกิจกรรมร่วมกันของแต่ละชุมชนอยู่บ่อยครั้ง เช่น การพบปะพูดคุยกัน การบรรยายเรื่องศาสนา คุณธรรม จริยธรรมและการจัดงานตามวิถีของคนในพื้นที่มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันนี้กิจกรรมเหล่านี้กลับหายไปจากชุมชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฉะนั้นโครงการนี้จะเป็นการเปิดพื้นทีให้ชาวบ้านมารวมตัวกัน มาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างเข้มแข็ง และสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชนอีกครั้งหนึ่ง

       ด้านนายมูฮัมมัดอายุบ ปาทาน หนึ่งในวิทยากรของวิทยาลัยประชาชนกล่าวว่า วิทยาลัยประชาชนเป็นเวทีในแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ทางความคิด การสื่อสาร และกระบวนการในการสร้างสันติภาพ ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องใหญ่แต่กลับไม่ค่อยมีคนให้ความสำคัญ โดยเห็นว่าในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง วิทยาลัยประชาชนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะเป็นพื้นที่กลางในการสื่อสารภายในกันเอง ระหว่างองค์กรภาคประชาชน นักศึกษา ผู้นำชุมชน กับประชาชน โดยเน้นรูปแบบที่ง่าย เป็นกันเอง ไม่มีพิธีรีตอง ทุกคนเป็นอาจารย์และมองว่าวิทยาลัยประชาชนควรที่จะขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มอื่นๆด้วย

ส่วนนายซูกิฟลี ยูนุ๊ หนึ่งในนักศึกษาของวิทยาลัยประชาชนรุ่นแรก กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดี ที่มีเวทีในการสร้างองค์ความรู้สู่ชุมชน และเป็นการสร้างบรรยากาศของกระบวนการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในชุมชน และสิ่งที่ได้จากวิทยาลัยแห่งนี้ก็คือ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ ในแง่มุมต่างๆ เพราะ วิทยากรที่มาพูดมาจากหลากหลายสาขาวิชา ทำให้เป็นการเปิดมุมมองใหม่ในการเรียนรู้

วิทยาลัยประชาชนหวังว่าโครงการนี้เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะสร้างนักคิด นักพัฒนา และนักวิชาการที่คนในชุมชนให้ความนับถือ เพื่อเป็นการสร้างเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั้งยืนโดยแท้จริง เพราะไม่มีใครเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง นอกจากคนในชุมชนด้วยกันเอง

 ทวีศักดิ์  ปิ