Skip to main content

         เกมการเมืองที่น่าสนใจในเวลานี้ คงไม่ใช่กระแสการเมือง ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านที่กำลังถกเถียงในเรื่องการแก้ปัญหาน้ำท่วมแต่เป็นเกมการเมืองในการเลือกสรรประมุขคนใหม่ของศาสนาอิสลามประจำจังหวัดต่างๆ "คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด" ที่จะมีการเลือกตั้งพร้อมกันทั้ง 38 จังหวัดทั่วประเทศ
        ตาม พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 และกฎกระทรวง (พ.ศ.2542)โดยในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม หมวด 4 ว่าด้วยคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มาตรา 23 บัญญัติว่า จังหวัดใดมีราษฎรนับถือศาสนาอิสลามและมีมัสยิดตามมาตรา 13 ไม่น้อยกว่า 3 มัสยิด ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยประกาศให้จังหวัดนั้นมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดคณะหนึ่ง ประกอบด้วยกรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คนแต่ไม่เกิน 30 คน
การคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการให้อิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นเป็นผู้คัดเลือก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการด้วยกันเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการและตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น
ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ และกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในราชกิจจานุเบกษา
กระบวนการคัดเลือก
        กระบวนการหรือวิธีการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด กำหนดไว้ในกฎกระทรวง (พ.ศ.2542) ข้อ 9 ระบุว่า เมื่อคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทยประกาศให้จังหวัดใดมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำจังหวัดว่างลง ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้ผู้ว่าราชการจัดให้มีการประชุมอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นเพื่อคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
ในการประชุมคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ต้องมีอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงจะเป็นองค์ประชุม และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นประธานในที่ประชุม
ให้อิหม่ามประจำมัสยิดที่มาประชุมคนหนึ่งมีสิทธิเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ไม่เกินจำนวนของกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนั้น หรือไม่เกินจำนวนตำแหน่งที่ว่างลงแล้วแต่กรณี
ข้อ 10 ในกรณีที่ผู้ได้รับการเสนอชื่อมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะทำการคัดเลือกในคราวนั้น ให้ถือว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อเหล่านั้นได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
ข้อ 11 ในกรณีที่ผู้ได้รับการเสนอชื่อมีจำนวนมากกว่ากรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะทำการคัดเลือกในคราวนั้น ให้อิหม่ามประจำมัสยิดที่มาประชุมออกเสียงลงคะแนน
ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลำดับลงมาจนเท่ากับจำนวนกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะทำการคัดเลือกเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
ถ้ามีผู้ได้รับการคัดเลือกได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับตามวรรคสองได้ ให้ประธานในที่ประชุมจับสลากให้ได้ผู้ได้รับการคัดเลือกครบจำนวนกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะทำการคัดเลือกในคราวนั้น
เมื่อได้ครบจำนวนแล้วให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไปยังกระทรวงมหาดไทย
อย่างไรก็ดี มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม ได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 17 (มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ / เป็นมุสลิมผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด / เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี / เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามโดยเคร่งครัด / เป็นผู้มีความสัมพันธ์อันดีกับทุกศาสนา / เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข / ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย / ไม่เป็นผู้เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ / ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง)
(2) เป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีก่อนวันคัดเลือก
(3) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีก่อนวันคัดเลือก
หน้าที่ คณะกรรมอิสลามประจำจังหวัด
         สำหรับวาระการดำรงตำแหน่งและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด บัญญัติไว้ในมาตรา 25-27 พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม สรุปว่า กรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี เมื่อตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำจังหวัดว่างลงก่อนสิ้นวาระให้มีการคัดเลือกกรรมการแทนภายใน 90 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง เว้นแต่ตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนถึงกำหนดตามวาระไม่เกิน 180 วัน และยังมีกรรมการเหลืออยู่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่ได้รับการคัดเลือก จะไม่ให้มีการคัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้ กรรมการที่ได้รับการคัดเลือกแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับศาสนาอิสลามต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) กำกับดูแลและตรวจตราการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดในจังหวัดและจังหวัดอื่นตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย
(3) ประนีประนอมหรือชี้ขาดคำร้องทุกข์ของสัปปุรุษประจำมัสยิดซึ่งเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
(4) กำกับดูแลการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดให้เป็นไปโดยเรียบร้อย
(5) พิจารณาแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
(6) สอบสวนพิจารณาให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 40 (4)
(7) สั่งให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพักหน้าที่ระหว่างถูกสอบสวน
(8) พิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้ง การย้าย การรวม และการเลิกมัสยิด
(9) แต่งตั้งผู้รักษาการแทนในตำแหน่ง อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น เมื่อตำแหน่งดังกล่าวว่างลง
(10) ออกหนังสือรับรองการสมรสและการหย่าตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
(11) ประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามเมื่อได้รับการร้องขอ
(12) จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เอกสารและบัญชีรายรับ รายจ่าย ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบัน และรายงานผลการดำเนินงานฐานะการเงินและทรัพย์สินให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยทราบปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
(13) ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลามในจังหวัด
         ใน การเลือกตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด คนใหม่ที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดี ที่ 24 พฤศจิกายน 2554 จึงกล้าพูดได้ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ พื้นที่น่าจับตามองมากที่สุดหนี้ไม่พ้น พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่ที่เต็มเปี่ยมด้วย ผลประโยชน์จากได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเท่านั้น แต่ยังมี เอกสิทธิ์ หรือสิทธิประโยชน์ที่เอื้อจากภาครัฐ จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ที่ปรึกษา ศอ.บต. กองทัพภาคที่4 ส่วนหน้า และอื่นๆตามมา
          ฉะนั้นการเลือกตั้ง ในองค์กรศาสนาจึงกลายเป็นเกมการเมืองที่สำคัญ โต๊ะอิหมานเพียงตำแหน่งเดียวที่มีอภิสิทธิ์ ในตำแหน่งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมากที่สุด จึงกลายเป็นแสตม์ดวงสำคัญหรือไผ่ใบสุดท้าย ที่บรรดาทีมผู้สมัครตามหา

       CANDIDATE..............ประธานคณะกรรมการอิสลามชายแดนใต้

จังหวัดนราธิวาส  

       

นาย   อับดุลเร๊าะมาน  อับดุลซอมัด   อดีต ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส

    

นาย นิแวอาลี หะยีดอเลาะห์ ดาโต๊ะยุติธรรมประจำศาลจังหวัดนราธิวาส

จังหวัด ยะลา

 นาย อับดุลเราะแม เจะแซ  ประธานกรรมการอิสลามจังหวัดยะลาคนปัจจุบัน ที่กำลังจะหมดวาระ

นาย วันอับดุลกอเดร์  แวมุสตอฟา  รองเลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลาคนปัจจุบัน ทีกำลังจะหมดวาระ

จังหวัดปัตตานี 

นาย นิเดร์ วาบา   นายนิเดร์ วาบา อดีตดาโต๊ะยุติธรรมจังหวัดปัตตานีและอดีตที่ปรึกษานายรัฐมนตรี (พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์) เจ้าของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในอำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี

นาย แวดือราแม  มะมิงจิ   อดีต สมาชิกวุติสภา จังหวัดปัตตานี และประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี คนปัจจุบัน ทีกำลังจะหมดวาระ เจ้าของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในอำเภอเมือง จ.ปัตตานี

(ภาพจาก www.http://prachatai.com     http://www.cicot.or.th http://www.oknation.nethttp://www.halal.or.th)

ข่าว นาย  ทวีศักดิ์   ปิ