Skip to main content

พรก.ฉุกเฉิน กับ ทางออกชายแดนใต้

     (ภาพ  http://th.macmuslim.com/?p=313)

 

 

       การออกพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถาการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้น แม้ว่าเป็นเรื่องภายในและเป็นอำนาจอธิปไตยของไทยที่จะออกกฎหมายดังกล่าว แต่โดยที่พระราชกำหนดดังกล่าว มีเนื้อหาที่ขัดต่อเจตนารมณ์และหลักการพื้นฐานในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่มีประชาชนทั้งภายในและภายนอกประเทศคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายนี้

   ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่การออกพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเด็นแท้จริงอยู่ที่ การใช้บังคับพระราชกำหนดดังกล่าวให้อำนาจอย่างกว้างขวางเบ็ดเสร็จแก่รัฐบาล โดยปราศจากกลไกที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุล เป็นอำนาจอธิปไตยที่ปราศจากจากการตรวจสอบและถ่วงดุล (Sovereign power with no checks and balance) หรือเป็นอำนาจเถื่อนนั่นเอง (rogue power)

    นอกจากนี้การที่รัฐบาลชี้แจ้งออกมาว่า พระราชกำหนดนี้ไม่ถือว่าเป็นการออกกฎหมายอะไร หากเป็นเพียงการรวบรวมกฎหมายฉบับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ในฉบับเดียวกันเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาร้ายแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้ และว่าประชาชนไม่ควรวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ เพราะผู้ใช้อำนาจเป็นฝ่ายพลเรือนไม่ใช่ฝ่ายทหาร

   การชี้แจ้งดังกล่าวได้จงใจละเว้นในข้อเท็จจริงที่สำคัญสองประการ ประการแรก ผู้มีอำนาจและผู้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อใครทั้งสิ้น อีกทั้งฝ่ายอำนาจบริหารเป็นทั้งผู้กำหนดว่าสถานการณ์อย่างใดจึงถือว่าเป็น “สถานการณ์พิเศษ” หรือ “สถานการณ์การฉุกเฉิน” และเป็นผู้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดนี้

   ประการที่สอง การกล่าวให้เหตุผลว่าผู้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดนี้เป็นพลเรือนไม่ใช่ฝ่ายทหาร จึงไม่ต้องห่วงว่าจะเป็นเผด็จการ เป็นเหตุผลนี้ฟังไม่ขึ้นและปราศจากความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งยืนยันให้เห็นถึงความไร้สาระและไร้เหตุผลของข้ออ้างดังกล่าว เพราะมีประวัติศาสตร์ให้เราเห็นอย่างกลาดเกลื่อนว่าเผด็จการพลเรือนนั้นมีมากกว่าและร้ายแรงกว่าเผด็จการทหารมาก (โปรดดู เผด็จการของฮิตเลอร์และมุสโสลินี เผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศคอมมิวนิสต์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เผด็จการอดีตประธานาธิบดีอาเจนตินา นายฮวน เปรอง เผด็จการของระบอบ Apartheid ของประเทศแอฟริกาใต้ เหล่านี้ล้วนเป็นเผด็จการของฝ่ายพลเรือนทั้งสิ้น)

บทความของ John P. McCormick ได้กล่าวถึงความคิดของนักกฎหมายชาวเยอรมัน Carl Shcmitte ซึ่งได้เสนอแนวคิดของตนเกี่ยวกับความจำเป็นที่รัฐบาลสาธารณรัฐไวมาร์ (Weimar Republic) หรือประเทศเยอรมนีสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 พึงออกกฎหมายพิเศษเพื่อแก้ปัญหาความไร้เสถียรภาพและความมั่นคงของเยอรมนี หลังจากที่ประเทศเยอรมนีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 และถูกฝ่ายพันธมิตรลงโทษอย่างหนัก จากผลของสนธิสัญญากรุงแวร์ซายส์ ประกอบกับต้องประสบกับปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศษฐกิจและการเมืองอย่างมาก

    โดยนาย Carl Schmitte มองว่าฝ่ายซ้ายเป็นฝ่ายก่อความไม่สงบ นาย Schmitte ได้นำตัวอย่างของการออกกฎหมายพิเศษในยุคกรุงโรมที่เป็นสาธารณรัฐมาเป็นกรณีศึกษาและเป็นรูปแบบเสนอให้รัฐบาลเยอรมัน โดยอ้างว่าสมัยสาธารณรัฐโรมัน (Roman Republic) มีการใช้อำนาจเผด็จการผ่านทางสภาสูง (senate) ซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายพิจรณาว่าสถานการณ์เช่นใด จะถือได้ว่าเป็นสถานการณ์ “พิเศษ” หรือ “ฉุกเฉิน” และมอบอำนาจในการเข้าไปจัดการแก้ปัญหาอย่างเด็ดขาดให้กับบุคคลหรือในสมัยสาธารณรัฐโรมันเรียกบุคคลผู้นี้ว่า dictator หรือผู้สั่งการ หรือผู้เผด็จการ

 

     โดยผู้เผด็จการมีหน้าที่อย่างเดียวเท่านั้น กล่าวคือ เข้าไปจัดการแก้ปัญหาแต่ไม่มีอำนาจพิจรณาว่าสถานการณ์เช่นใด จึงถือเป็นสถาการณ์พิเศษ หรือล่อแหลมหรือฉุกเฉินได้กับสู่สภาวะปรกติแล้ว เพราะทั้งสองประเทศหลังนี้เป็นอำนาจของสภาสูงหรือสภาขุนนางหรือที่ปัจจุบันเรียกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ

   จึงเห็นได้ว่าแม้ในสมัยโรมันโบราณกว่าสามพันปีมาแล้วก็ยังเล้งเห็นถึงความจำเป็นเป็น ที่ต้องมีการปกกันการผูกขาดอำนาจโดยฝ่ายใด หรือโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยเฉพาะการใช้อำนาจเผด็จการในสมัยโรมันจึงเป็นสิ่งที่เรียกว่าเผด็จการโดยคณะ (Commissarial Dictatorship) เพราะมีการตรวจสอบและถ่วงดุลของผู้ปฏิบัติตามอำนาจของผู้มอบหมายอำนาจกับอำนาจของผู้ปฏิบัติตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย

แต่นาย Carl Schmitte ไม่ได้เสนอให้มีการใช้อำนาจเผด็จการโดยคณะบุคคล แต่เสนอให้มีบุคคลเดียวเป็นผู้ผูกขาดอำนาจเผด็จการ (Sovereign Dictatorship) อีกทั้งยังเสนอว่าไม่จำเป็นต้องมีรอเวลาว่า จะต้องกลับไปสู่สถานภาพก่อนหน้าที่มีการใช้อำนาจเผด็จการ (Status quo ante) ให้ทุกอย่างอยู่ในดุลพินิจของผู้เผด็จการเพียงคนเดียว

   ซึ่งความเห็นของ Carl Schmitte ดังกล่าวนี้ต่อมา ฮิตเลอร์ก็ได้นำมาใช้เพื่อล้มระบอบการปกครองประชาธิปไตยของสาธารณรัฐไวมาร์ โดยถือโอกาสออกกฎหมายพิเศษที่เรียกว่า Enabling Act (หลังจากที่รัฐสภาในกรุงเบอร์ลินถูกเผาโดยบุคคลสัญชาติเธอร์แลนด์ และอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เนเธอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2477) เพื่อใช้เป็นอาวุธปราบปรามและกำจัดศัตรูทางการเมืองของตน จนเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนารัฐนาซีหรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่ารัฐที่สาม (Third reich) เป็นผลให้ประเทศเยอรมันนีตกอยู่ภายใต้การปกครองของเผด็จการอย่างเบ็ดเสร็จ (Totalitarian Regime) และมีผลทำให้นาย Carl Schmitte ได้รับการตอบแทนจากฮิตเลอร์ให้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐบาลของระบอบเผด็จการนาซี

สำหรับเรื่องข้อวิตกกังวลที่ว่าฝ่ายที่คิดแบ่งแยกดินแดนอาจพยายามทำข้อเรียกร้องของพวกตน ไปขอสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากองค์การสหประชาชาติและกลุ่มประเทศอิสลามนั้น) ในประเด็นนี้จำเป็นต้องทำความเข้าใจในข้อเท็จจริงที่สำคัญประการหนึ่ง ดังนี้

เรื่องของการมีสิทธิในการกำหนดใจตนเอง (Act of self-determination) หรือการที่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศของตน แต่ประเทศถูกรุกราน และยึดครองโดยต่างชาติเรียกร้องเอกราชและอธิปไตยกลับคืนมา เป็นเรื่องที่ประชาคมโลกยอมรับในเหตุผล ความถูกต้องมีความชอบธรรมของการมีสิทธิในการที่จะกำหนดใจตนเองของประชาชนในกลุ่มประเทศที่ถูกรุกรานและยึดครอง (กลุ่มประเทศที่เป็นอาณานิคม)

เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าในองค์การสหประชาชาติจึงมีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการยกเลิกระบอบอาณานิคมหรือเมืองขึ้นได้กลายมาเป็นประเทศที่เป็นเอกราชและอธิปไตยของตนได้ (De-colonization) โดยส่งเสริมให้ดำเนินการผ่านกระบวนการการใช้สิทธิกำหนดใจตนเองของประชาชนในประเทศที่ยังตกอยู่ในสถานะเป็นอาณานิคมของต่างชาติอยู่

(ภาพ www.wikipedia.org)

 กรณีล่าสุดของประเด็นนี้คือ กรณีของประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกได้ใช้สิทธิในการกำหนดใจตนเองผ่านทางการลงคะแนนออกเสียงโดยมีองค์การสหประชาชาติเป็นผู้ควบคุมดูแลความโปร่งใส และความเป็นระเบียบของการใช้สิทธิดังกล่าวของประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก

ซึ่งผลที่ออกมาก็คือ ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกต้องการเป็นเอกราชจาการยึดครองของฝ่ายอินโดนีเซีย โดยมีผู้ออกเสียงสนับสนุนฝ่ายเรียกร้องเอกราชอย่างท่วมท้นปราศจากข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้นและผลจากการใช้สิทธิกำหนดใจตนเองของประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกก็ได้รับการรับรองและยอมรับจากประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติทุกประเทศ (ซึ่งรวมทั้งอินโดนีเซียด้วย)

 

แหล่งข่าว : สุรพงษ์  ชัยนาม   อดีตเอกอัครทูตไทย

 

 โพสโดย :  vjujur (people college)