Skip to main content

        อีกไม่กี่วันข้างหน้าปี 2011ที่หลายคนมองว่าเป็นปีที่เลยร้ายที่สุดสำหรับผู้นำที่ครองอำนาจมายาวนาน โดยล่าสุด  ผู้นำตูนิเซีย นายซีน เอล-อาบิดีน เบน-อาลี ที่ครองอำนาจมายาวนานถึง 24 ปีถูกโค่นอำนาจจากการลุกฮือประท้วงของประชาชนซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของปรากฏการณ์ที่เรียกกันว่า"อาหรับสปริง" 

ผู้นำตูนีเซีย (http://www.chaoprayanews.com)

       และกลายเป็นโดมิโน่ตัวแรกที่ล้ม และในอีก 10 วันต่อมาการชุมุนุมประท้วงในลักษณะเดียวกันกับที่ตูนิเซียก็ปะทุขึ้นในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ จากนั้นในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ครึ่ง อดีตประธานธิบดีฮอสนี มูบารัค ก็ถูกโค่นอำนาจหลังจากปกครองอียิปต์มายาวนาน 3 ทศวรรษ จากนั้นชะตากรรมของผู้นำที่โลกมองว่าเป็นผู้นำเผด็จการที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดในโลกอาหรับ นายมูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียที่ครอบครองประเทศมายาวนานถึง 42 ปี ก็ไม่สามารถต้านทานกองกำลังฝ่ายต่อต้านของลิเบียที่มีนาโต้เป็นหน่วยสนับสนุนได้ จนวาระสุดท้ายของเขามาถึงเมื่อเครื่องบินรบนาโต้ถล่มขบวนรถของกัดดาฟี่และเกิดการยิงต่อสู้กับกองกำลังถ่ายโอนอำนาจลิเบียได้รับบาดเจ็บสาหัสและไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ยุติปฏิบัติการตามล่านาน 7 เดือน

 

                            
 ฮอสนี้ มูบารัค อดีตผูู้้นำอิยิปต์  (http://muslimvoicetv.com)

                                                           

                                                         มูอัมมาร์ กัดดาฟี อดีตผู้นำลิเบีย  

     ส่วนผู้นำเยเมน อาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ก็เกือบเอาชีวิตไม่รอดจากการถูกโจมตีจนต้องหลบหนีไปที่ซาอุดิอาระเบียและกลับมาเยเมนอีกครั้ง แต่ต้องยอมสละอำนาจในที่สุด แต่ที่ยังคงต้านทานกระแสอาหรับสปริงได้อยู่จนถึงขณะนี้ก็คือ ประธานาธิบดีบาร์ชาร์ อัล-อัสซาด ของซีเรียที่ยังคงได้รับชะตากรรมเช่นนี้อยู่แต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้าน "อาหรับสปริง"ได้นานแค่ไหน

                                                                  

                                                                           อดีตผู้นำเยเมน อาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์

 

 

     ปี 2011 นี้ยังถือว่าเป็นปีแห่งความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดของกลุ่มที่โลกรู้จักในนานกลุ่มก่อการร้ายระดับโลกอย่างเครือข่ายอัลกออิดะห์ เมื่ออุซามะบินลาดิน ถูกหน่วยซีลของสหรัฐฯ ปลิดชีพได้ที่ปากีสถานเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา 

                                                        อุซามะบินลาเดน  ( http://www.ethailand.com)  

 

 

       สำหรับปรากฏการณ์เช่นนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะโลกอาหรับเพียงอย่างเดียว สำหรับในเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะประเทศไทยเองเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงต้านอำนาจผู้นำของตัวเองก็ปรากฏขึ้นในลักษณะของการประท้วงชุมนุมของกลุ่มที่อ้างตัวเอง เป็นแนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่า กลุ่มเสื้อแดง ได้ก่อตัวขึ้นทำการชุมนุมประท้วงเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้ได้จบลงเมื่อประเทศไทยได้มีการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา                      
                                         
                                                          การชุมนุมในประเทศ (http://www.chaoprayanews.com )
   
        โดมิโน่ของประเทศไทยส่งอิทธิผลต่อประเทศเพื่อนบ้าน อย่างมาเลเซียที่สงบสุขมาโดยตลอด เมื่อพรรคค้านขอมาเลย์ได้เดินขบวนการ เพื่อรณรงค์ประชาธิปไตยให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ Bersih ในภาษามาเลย์แปลว่า บริสุทธิ์ เมื่อเดือนกรกฎาคมเช่นเดียวกัน  

                                          การเรียกร้องเลือกตั้งในมาเลเซียเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2011

 

      และปิดท้ายปี 2011 ด้วยการเสียชีวิตของนายคิม จอง อิล ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือด้วยวัย 69 ปี ที่ทำให้ทั่วโลกต่างจับจ้องสถานการณ์ในเกาหลีเหนืออย่างไม่กระพริบตา
 
นายคิม จอง อิล ผู้นำเกาหลีเหนือ (http://tnews.co.th)
 
 
 
 
   เรียบเรียงโดย  ทวีศักดิ์   ปิ