Skip to main content
 

 

เสียงสะท้อนวง Filem  Cafe

จากหนัง Laskar  Pelangi

http://www.bungarayanews.org/news/view_news.php?id=597

 

อาทิตย์วันหยุดที่ 18  ธ.ค.54  บรรยากาศสบายๆในช่วงเช้าที่ฝนตก แต่เมื่อสายฝนซาลงไป  ผู้เข้าชมภาพยนตร์ภายใต้กิจกรรม Filem  Cafe  ต่างทยอยกันมาตามกำหนดการที่ได้วางไว้  หนังเรื่องแรกเริ่มฉาย Laskar  Pelangi  ภาพยนตร์อินโดนีเซีย เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาและความเป็นครูใน เมืองเบลิตอง บนเกาะสุมาตรา  เมื่อหนังจบการพูดคุยวงกาแฟในประเด็นการศึกษาในพื้นที่ชายแดนได้ก็เริ่มต้น

                ผู้เข้าชมใน Filem  Cafe รอบนี้ส่วนใหญ่เป็นครูผู้สอนตาดีกา  ครูวิทยากรสอนศาสนาในโรงเรียนสามัญของรัฐ  อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย  และคนทำงานภาคประชาสังคมในพื้นที่  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภาพยนตร์  Laskar  Pengali  ประเด็นสิทธิทางการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้  เริ่มต้นจากการสะท้อนปัญหาของตาดีกา

อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย  สะท้อนถึง  การศึกษาในอดีตสำหรับพื้นที่ชายแดนภาคใต้  ปัตตานี  ยะลา  และนราธิวาส คือ ตาดีกา  TADIKA – Taman Didikan Kanak-kanak  ซึ่งเดิมไม่ได้มีค่าตอบแทนจากหน่วยงานรัฐแต่อย่างใด  ครูผู้สอนเป็นผู้ที่มีความตั้งใจ และเจตนาที่ดีที่จะสอน ลูกหลานของตนเอง   แต่เมื่อมีค่าตอบแทนหรือการสนับสนุนจากรัฐ  ทำให้ความตั้งใจ และความเสียสละเดิมหดหายไป

ครูผู้สอนตาดีกา   การปลูกฝั่งความรู้ทางด้านศาสนาเป็นสิ่งสำคัญ  เมื่อพูดถึงตาดีกา TADIKA   ตาดีกาไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐเท่าใดนัก  แท้จริง ผู้ที่ให้การสนับสนุนส่วนใหญ่เป็นชาวบ้าน หากว่าชาวบ้าน หรือประชาชนในพื้นที่ไม่ได้ให้การสนับสนุนแน่นอนตาดีกาก็อาจจะจบลงไปได้   สำหรับเวลาที่ทำการเรียนการสอน ก็ไม่เพียงพอ  ต่างกับช่วงเวลาการเรียนสามัญที่โรงเรียนของรัฐมีมากกว่า 

เมื่อผู้ปกครองเล็งเห็นแต่ความสำคัญของสามัญ ซึ่งมองว่า เมื่อเรียนศาสนาจบชั้น สิบแล้วก็ไม่มีงานทำ  นอกเสียจากจะเป็นผู้สอนตาดีกา  ซึ่งต่างไปจากการเรียนสามัญ ที่เมื่อจบไปแล้วจะทำให้สามารถทำงานได้หลากหลายอาชีพ

ครูผู้สอนตาดีกา  ปัญหาของตาดีกา  ที่ไม่ได้พัฒนา  อาจจะมาจากไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง  ซึ่งเป็นเพียงสาเหตุเพียงเล็กน้อย  เมื่อเราเทียบกันกับ ผู้เป็นครูที่สอนใน ภาพยนตร์ จนเสียชีวิตบนโต๊ะ นั่นคืออะไร  การสอนไม่ได้เป็นการรับเพียงอย่างเดียว  การสอนเป็นการให้มากกว่า  หากว่าเรามีจิตวิญญาณของความเป็นครู  และเสียสละแล้ว  จะทำให้ตาดีกามีการพัฒนาไปได้ดีกว่า  การมองปัญหาไปที่ตัวเงิน  ไม่ใช่ว่าเงินไม่สำคัญ  ต้องมาตั้งคำถามกับตนเองว่า  ทำไมเราถึงได้มาเป็นครู  และในวันนี้ Sekolah Melayu หรือ TADIKA  ทำไมถึงไม่มีการพัฒนา เป็นเพราะคนอื่น หรือว่าตัวเราเอง

ครูผู้สอนตาดีกา สะท้อนสิ่งที่ได้เห็นจากภาพยนตร์ว่า  เรื่องราวในภาพยนตร์เมื่อมาเทียบกับพื้นที่ชายแดนใต้  เห็นถึงสิทธิทางการศึกษา  ที่ได้รับการพัฒนาไม่เต็มที่  และไม่เท่าเทียมกัน ในพื้นที่บ้านเราก็เป็นเช่นเดียวกัน  การจัดการทางด้านการศึกษา  คนที่มีรายได้ได้รับการศึกษาเต็มที่  และคนที่ยากจนไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเท่าเทียมกัน   สิ่งที่เห็นต่างกัน  คือสภาพแวดล้อม  กิจกรรม การทำการเรียนการสอน

สภาพของการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้  อย่างหลักสูตรการศึกษา ในอดีตเป็นอย่างไรปัจจุบันก็ยังคงเหมือนเดิม  ไม่มีการพัฒนา  แม้ว่าเรามองเห็นเทคโนโลยีมากมาย  แต่กลับไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาแต่อย่างใด  เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำใช้ประโยชน์ต่อการศึกษาได้  แต่เราจะนำมาใช้หรือไม่  เราจะทำอย่างไรให้สิ่งที่อยู่ในหนังสือให้เปิดมาแล้วเป็นสิ่งที่สามารถสัมผัสได้จริงในชีวิตประจำวัน

สภาพของโรงเรียนตาดีกา ในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับอดีต มีความต่าง เมื่อก่อนต้องเรียนที่บนลานหน้ามัสยิด  ปัจจุบันเป็นตัวอาคารสองชั้น  เมื่ออดีตเรามองเห็นถึงคือความเสียสละของชุมชน  ซึ่งมีการเสียสละจากผู้นำศาสนา  แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นมองเห็นถึงความขัดแย้งระหว่างผู้นำศาสนากับผู้นำชุมชน  กำนัน ผู้ใหญ่บ้านแทน

แม้ว่าชาวบ้านในพื้นที่ ไม่มีอำนาจในระบบการศึกษา  แต่เราสามารถเอาสิ่งที่ไม่ดีออกไป หรือนำเอาสิ่งที่ดีๆเข้ามาได้   ทำไมถึงไม่มีโรงเรียนระดับประถมที่คนในพื้นที่จัดตั้งขึ้นมาเอง  โดยทำหลักสูตรที่เหมาะสำหรับพื้นที่โดยคนในพื้นที่เอง  ให้เป็นไปตามความต้องการของชุมชน

มองเห็นจิตวิญญาณความเป็นครูในภาพยนตร์  และบทบาทจิตวิทยาอย่างครบครัน  หากเทียบกับความเป็นครูในบ้านเราแล้วมองเห็นความต่าง  สิ่งแรกที่ทางครูในภาพยนตร์ได้เอามานำหน้าคือหน้าที่  และบทบาทของความเป็นครู  มากกว่าตัวเงิน

อดีตนักศึกษาอินโดนีเซีย  เราต้องมีจิตใจที่บริสุทธิ์ และ จิตสำนึกของผู้สอน  หากไม่มีการปลูกจิตสำนึกของความเป็นครูก่อน  ครูผู้นั้นจะสอนด้วยความเป็นงานวิชาการหรือป้อนแต่เนื้อเพียงอย่างเดียว  ไม่มีการนำเอาจิตวิญญาณของครูออกมา  สำหรับในบ้านเราพื้นที่ชายแดนใต้การพูดคุยเรื่องเกี่ยวกับตาดีกา  หรือสถานศึกษาต่างๆ  หากว่าเรามัวไปอยู่กับปัญหาของสถานภาพของสถานศึกษาแสดงว่าเรายังไม่มีการพัฒนา  เราต้องมองข้ามปัญหาดังกล่าวได้  ในภาพยนตร์ พยายามฉายให้เห็นถึงบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ  จิตวิญญาณความบริสุทธิ์ของผู้เป็นครู  มากกว่าปัญหาของสภาพของโรงเรียนหรือหลักสูตร

เมื่อหันมามองดูเด็กบ้านเรามีความสามารถมาก  เด็กชนบทมีความสามารถด้านการวาดรูป  แต่ทำไมเด็กถึงไม่ได้ถูกพัฒนา  หรือไปไกลกว่าที่เป็นอยู่   เหตุเพราะว่าผู้เป็นครูเป็นคนที่ปิดโอกาสซะเอง   ทำไมเราไม่ให้เด็กได้รับการพัฒนาไปด้วยความสามารถของเด็กอย่างเต็มที่  การพัฒนาด้านความคิดของครูในบ้านเราเพิ่งอยู่ในระดับคนหนุ่ม  ยังไม่เป็นผู้ใหญ่ และเป็นความคิดที่ยังไม่มีการพัฒนาแต่อย่างใด

สิ่งที่ได้รับคือ จิตวิญญาณของความเป็นครู  ผู้ที่เป็นครูสามารถทำให้เด็กได้รับความสำเร็จในชีวิตได้  แม้ว่าจะอยู่ในเมืองหรือชนบท   “อย่าเอาความขาดแคลนมาเป็นอุปสรรคของความเป็นครู”

 

เรื่องย่อ

Laskar  Pelangi  ลาสกา เปอลางี นักรบสายรุ้งภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากงานเขียนของอันเดรีย ฮิราตา ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2004 โดยกลั่นกรองมาจากความทรงจาในวัยเยาว์ของเขาเอง

ณ เมืองเบลิตอง บนเกาะสุมาตรา ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดฉากขณะที่ชายผู้หนึ่งกาลังเดินทางกลับบ้านเกิด ภายหลังจากมานานหลายปี จากนั้นเรื่องราวถูกย้อนกลับไปยังวันแรกที่เขาเข้าเรียน วันนั้นมีครูสองคนคือ มุสลิมะห์และฮาร์ฟัน ซึ่งกาลังตั้งหน้าตั้งตารอนักเรียนมาสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาระดับประถมที่แสนจะเก่าและทรุดโทรม ก่อนหน้านั้นคณะกรรมการการศึกษาเขตพื้นที่ประกาศจะยุบโรงเรียนแห่งนี้ทิ้ง หากมีนักเรียนมาสมัครเรียนไม่ถึงสิบคน

ทว่าในที่สุดแล้ว มีนักเรียนมาสมัครเรียนที่นี้ครบสิบคนพอดี โดยเด็ก ๆ ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวยากจนมีอาชีพรับจ้างรายวัน และเด็กกลุ่ม ๆ นี้เองที่ครูมุสลิมะห์ขนานนามว่า นักรบสายรุ้งนอกจากอีกัล ซึ่งเป็นตัวนาในภาพยนตร์เรื่องนี้แล้ว กลุ่มนักรบสายรุ้งยังประกอบด้วยเด็ก ๆ อีก 9 คน อาทิ ลินตัง ลูกชาวประมงซึ่งจะกลายเป็นอัจฉริยะ และมาฮาร์ เด็กหนุ่มช่างฝันผู้หลงใหลในดนตรี โดยไม่เคยยอมให้วิทยุคู่ใจออกห่างกาย จากนั้น 5 ปีต่อมา ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทอดเรื่องราวชะตาชีวิตทั้งดีและร้าย ทั้งสุขและทุกข์ของเด็ก ๆ กลุ่มนี้ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 5

ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทอดเรื่องราวการต่อสู้ดิ้นรนของกลุ่มคนชายขอบในสังคมในการที่จะพิชิตฝันของตนเอง ตลอดจนสะท้อนความงดงามของมิตรภาพระหว่างเพื่อน