Skip to main content

minor-latin;mso-hansi-font-family:Calibri;mso-hansi-theme-font:minor-latin;
mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:minor-bidi">เรื่องเล่าจากเบลเยียม
:
Calibri;mso-ascii-theme-font:minor-latin;mso-hansi-font-family:Calibri;
mso-hansi-theme-font:minor-latin;mso-bidi-font-family:"Cordia New";mso-bidi-theme-font:
minor-bidi">ป้อมค่าย สงครามและการก่อการร้าย

ในอดีตการสร้างป้อมปราการเพื่อการต่อสู้ปกป้องตนเองจากการรุกรานนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ป้อม (fortress) แห่งนี้สร้างมาร่วมหนึ่งพันปีในยุคกลางหรือยุคมืดในยุโรป มีชื่อในภาษาดัชต์ว่า Het steen หรือแปลว่า ปราสาทหิน  เพื่อเป็นปราการต่อต้านการรุกรานของพวกไวกิ้งจากนอรเวย์ และที่สำคัญเพื่อการควบคุมการสัญจรและบริหารจัดการน่านน้ำของแม่น้ำสแกลป์อันเป็นสายเลือดใหญ่ของดินแดนย่านนี้  รอบๆป้อมปราการนี้ก็เป็นชุมชนเมืองเก่าที่สุดในแอนเวิร์ป ยังมีกำแพงเมืองโบราณและคูเมืองเล็กๆหลงเหลือให้เห็นในบางจุด มีอาคารสูงใหญ่ของสมาคมพ่อค้าเนื้อ มีผังถนนที่โค้งรอบป้อมปราสาทแห่งนี้ แต่ด้วยความเจริญที่เข้ามาแทนที่ ปัจจุบันจึงเหลือปราสาทหินแห่งนี้เหลือไว้เป็นอนุสรณ์

ประวัติศาสตร์ยุโรปคือประวัติศาสตร์สงคราม ยุโรปเพิ่งจะมาสงบจริงๆก็หลังสงครามโลกครั้งที่สองนี่เอง แต่ด้วยความเสียหายอย่างยับเยิน  เมืองในสมัยก่อนล้วนตกเป็นดินแดนแห่งการสลับกันเข้าแย่งชิงของอาณาจักรต่างๆ สูญเสียเลือดเนื้อและทรัพย์สินอย่างมากในทุกครั้ง แอนเวิร์ปเคยตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรโรมัน เยอรมัน สเปน ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี และในสมัยสงครามโลกทั้งสองครั้งก็อยู่ภายใต้การปกครองของเยอรมัน ตลอดพันปีในประวัติศาสตร์คือการสงครามแย่งชิงดินแดนและการขยายอิทธิพลของผู้นำ ประชาชนล้วนเดือดร้อนล้มตาย

วันที่ 31 มีนาคม 2555 เป็นวันแห่งความทรงจำในประวัติศาสตร์เมืองหาดใหญ่และยะลา เมื่อเกิดเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ใจกลางศูนย์กลางการพาณิชย์ของเมือง ความเจริญรุ่งเรืองของยุโรปในปัจจุบัน มีส่วนอย่างมากจากสันติภาพที่ยาวนานและการแย่งชิงดินแดนได้สิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาไม่ใช่การขยายหรือการแยกดินแดนอีกต่อไป รัฐชาติแบบเก่าที่ต้องสร้างป้อมปราการสร้างกำแพงสร้างพรมแดนกำลังเสื่อมสลาย ประวัติศาสตร์มนุษยชาติต้องก้าวไปสู่ยุคไร้ประเทศไร้พรมแดนที่ยอมรับความหลากหลายและการอยู่ร่วมกัน ความไม่เป็นธรรมที่มีในสังคมและการกดทับทางวัฒนธรรมแก้ได้ด้วยการต่อสู้อย่างสันติและสร้างสรรค์ หวังว่าคาร์บอมบ์ครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย แม้จะรู้อยู่เต็มอกว่ามันคงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายของสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ที่ยังยืดเยื้อก็ตาม