"อ่าน" วารสารฟ้าเดียวกัน : 5 ปีไฟใต้
เอกรินทร์ ต่วนศิริ
ฟ้าเดียวกัน ฉบับ 5 ปีไฟใต้ ได้พาให้เราไปสู่ การมองปัญหาภาคใต้อย่างลึกซึ่งมากขึ้น ผ่านงานเขียนที่ชวนให้เราตั้งคำถาม กับสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดห้าปีที่ผ่านมา แน่นอนไม่ใช่ทั้งหมด แต่ก็ทำให้เรามองเห็นการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ โดยผ่านงานจำนวน 5 ชิ้นด้วยกัน ซึ่ง มีความแตกต่างกันไปทางด้านการทำงานของผุ้เขียนแต่ละท่าน แต่ภาพสะท้อนที่ผ่านงาน ทำให้เราเห็นโจทย์ใหม่ๆมากขึ้น ที่มากกว่า แค่การโยนความผิดให้แก่อย่างง่ายๆเพียงเพราะ “ ปีศาจ” ที่ชื่อทักษิณ แต่การมองอย่างนี้ ไม่ได้ช่วยให้เราเข้าใจความซัยซ้อนมากน่ะ ถ้าหยุดคิดแค่เพียง ทักษิณ สถานการณ์วันนี้ ไม่มีทักษิณแล้ว แต่ความรุนแรงยังคงอยู่ต่อไป...
1/ ชุมโจรในจินตนาการ: ว่าด้วยภูมิรู้ของทหารไทย เกี่ยวกับผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้: สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
สุภลักษณ์ได้วิพากษ์ แสดงให้เห็นถึงของแนวคิดฝ่ายความมั่นคงของไทยที่เชื่อว่า กลุ่ม บีอาร์เอ็น-โคออร์ดิเนต เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้ง โดยอาศัยงานวิทยานิพนธ์ ของ พลตรีสำเร็จ ศรีหร่าย รองแม่ทัพภาคที่ 4 เรื่อง “ขบวนการ BRN-Coordinate กับการก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลาในช่วงปี 2457-2550
สิ่งที่สุภลักษณ์ได้ให้ความสำคัญกับวิทยานิพนธ์ ของพลตรีสำเร็จ ศรีหร่าย ในแง่ของตัวผู้ทำวิทยานิพนธ์ ได้เป็นนายทหารระดับสูงที่สามารถเข้าถึงข้อมูลมากกว่าคนอื่นๆ และถือได้ว่าเป็นภาพตัวแทนทางด้านความคิดของฝ่ายความมั่นคงไทย ที่มีทัศนะการมองความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับงานชิ้นนี้ของสุภลักษณ์ ได้ทำให้คนธรรมดาทั่วไปอย่างเราๆ ที่สนใจเรื่อง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เห็นถึงวิธีคิด คำอธิบาย การให้เห็นเหตุผล ของฝ่ายความมั่นคง และที่สำคัญสุภลักษณ์ได้ ตั้งคำถาม สมมุติฐานของฝ่ายความมั่นคงของไทย จนถึงกระทั่งในเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุดในทางด้านงานวิชาการ ก็คือ เรื่องของ ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) หรือการได้ข้อมูลนำมาวิเคราะห์
สิ่งที่สุภลักษณ์ได้ ทิ้งได้ท้ายอย่างน่าใจ ก็คือ ฝ่ายความมั่นคงของไทยยังยึดถือตำราเดียวที่ใช้ในการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและสรุปว่าได้ผล จึงได้นำมาประยุกต์ตำรานั้นมาใช้อีกในยุคปัจจุบัน
2/ เพราะปืนคือความมั่นคง หรือเพราะไม่มั่นคงจึงต้องติดอาวุธ?:
จันจิรา สมบัติพูนศิริ
งานเขียนชิ้นนี้ของ จันจิรา ได้มุ่งสำรวจการแพร่กระจายของอาวุธปืนท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงทำความเข้าใจสาเหตุการแพร่กระจายดังกล่าว ทั้งจากแง่มุมที่รัฐสนับสนุนให้ประชาชนติดอาวุธ และจากการต้องการของประชาชนเอง จันจิรา ได้มีข้อถกเถียงหลักจากบทความคือ “ความไม่มั่นคง” อันเป็นผลมาจากความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้อาวุธปืนแพร่กระจายในหมู่ประชาชนธรรมดา
งานชิ้นนี้ ได้สำรวจสถานการณ์ปืน ตั้งแต่ในแง่ของทางด้านกฎหมาย การลดหย่อนราคาปืน ผ่านโครงการสวัสดิการของรัฐและโครงการให้กู้เพื่อซื้อปืน และได้ทำความเข้าใจว่าเหตุอันใด ทำให้คนธรรมดาจึงต้องการติดอาวุธ และจากประสบการณ์ประเทศรวันดา ที่คนธรรมดาที่เคยเป็นเพื่อนบ้านกัน สามารถฆ่ากันได้
ท้ายบทความ งานของจันจิรา ได้ วิพากษ์การติดอาวุธพลเรือน ความล้มเหลงของรัฐในการรักษาความปลอดภัย ความกลัว และสายสัมพันธ์ระหว่างชุมชนที่ถูกกัดกร่อน งานชิ้นนี้ถือว่าเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจสายสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่ได้ถูก “ความรุนแรง” ตัดขาด เหลือเพียงแต่ “ความหวาดระแวง” ต่อกัน
3/ บทรำพึงถึงชายแดนใต้: บันทึกใต้พรม 5 ปีไฟใต้:
ศุภรา จันทร์ชิดฟ้า
งานเขียนของ ศุภรา ได้เปิดพรม ให้เห็นถึงผู้คนที่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ องค์กร ระดับทหาร ตำรวจ ทนายความ นักสิทธิมนุษยชน ผู้สื่อข่าว นักวิชาการ งบประมาณที่มหาศาลที่ได้ถูกนำมาใช้ในพื้นที่
ซึ่งหากว่างานชิ้นนี้ เป็นบันทึก ก็เป็นบันทึกที่เราต้องคลี่เปิดอ่านอย่างใจกว้าง ยิ่งคนที่เข้าไปทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยแล้ว ถือว่า ควรอ่านอย่างยิ่ง แน่นอนไม่มากก็น้อยมันเป็นส่วนที่เกิดขึ้นจริงอย่างน่ารับฟัง เพียงแต่ว่าเราจะอ่านมันอย่างไร ไม่ใช่เมื่อกล่าวถึง องค์กรใด องค์กรหนึ่ง กลับมาบอกว่างานชิ้นนี้ เป็นงานที่น่ารำคาญ ไม่น่าเขียนขึ้นมาอีก แต่สำหรับผมงานชิ้นนี้ ถือว่าเป็นงานที่น่าสนใจ และควรจะมีการถกเถียงอย่างกว้างขวางต่อไป เพราะองค์กรที่ทำงาทางด้านสังคม ก็ต้องได้รับการตรวจสอบ และวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างกัลยาณมิตร
4/ สรุปความคืบหน้าคดีจังหวัดชายแดนใต้: กรณีตากใบ กรือเซะ ทนายสมชาย และยะผา กาเซ็ง:
อังคณา นีละไพจิตร และคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
ดูเหมือนว่าสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความรุนแรงและการเกิดขึ้นของคดีความต่างๆมากมาย ทั้งรายวัน จนถึงเหตุการณ์ใหญ่ๆ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม กระบวนการทางศาลของถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยคลี่คลายสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ไม่มากก็น้อย ในแง่ของทางด้านความ เชื่อใจ ต่อกระบวนการยุติธรรม แต่ ยังมีคดีต่างๆที่ได้รับความสนใจจากผู้คนในพื้นที่ ซึ่งทางด้าน อังคณาและคณะยุติธรรมเพื่อสันติภาพได้สรุปความคืบหน้า 4 คดีใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
กรณีตากใบ กรือเซะ ทนายสมชาย และยะผา กาเซ็ง ถือได้ว่าเป็นคดีที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่ง ทั้งสังคมมลายูมุสลิมภายในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จนถึงระดับนานาชาติได้ให้ความสนใจ ทั้งระดับโลกมุสลิมโอไอซี ที่ได้ให้ความสนใจเรื่องคดีตากใบอย่างเป็นพิเศษ จนกระทั่งต้องส่งผู้แทนมาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
กรณีเหตุการณ์วันที่ 28 เมษายน 2547 การไต่สวนการเสียชีวิตอันเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ในวันที่ 28 เมษายน 2547 กำลังอยู่ในระหว่างการไต่สวนการเสียชีวิต ซึ่งวันนี้ ผ่านมา 5 ปีกว่า แล้ว เรายังไม่รู้ว่าคนเหล่านี้ ตายเพราะอะไร ?
กรณีของทนายสมชายทางคณะทำงานด้านคนหายของสหประชาชาติ (United National Working Group or Involuntary Disappearance) ได้รับคดีของทนายสมชายของสหประชาชาติเมื่อวันที่ 1 มิถุยายน 2548 ถือได้ว่าเป็นคดีที่โลกได้ให้ความสนใจ ปัจจุบัน ศาลได้มีคำสั่งให้นายสมชาย นีละไพจิตรเป็นบุคคลสูญหายตาม
กรณีการเสียชีวิตของนายยะผา กาเซ็ง ถือได้ว่าเป็นการเสียชีวิตระหว่างการควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหาร ที่ศาลนราธิวาส ได้มีคำตัดสิน แต่ทว่าในขณะนี้ ยังไม่ได้มีการตั้งข้อกล่าวหาแต่ประการใด แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด
5/ สัญลักษณ์ ร่างกาย และพิธีกรรม: รัฐไทยในความเป็นมลายู:
ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
งานชิ้นนี้ ถือได้ว่าเป็นงานทางด้านวิชาการแนวทางด้านมานุษยวิทยา ที่มีวัตถุประสงค์ให้ความสนใจ เรื่อง การนำเสนอความสัมพันธ์อันละเอียดอ่อนระหว่าง “ความเป็นนายู” กับ “รัฐ” ท่ามกลางเงื่อนไขของสถานการณ์ความรุนแรง โดยเข้าไปศึกษาในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี โดยได้สะท้อนให้เราเห็นถึงเรื่องราวของคนธรรมดาในชีวิตประจำวัน ซึ่งถือว่างานชิ้นนี้ ได้ทำให้เราเห็น เนื้อหนัง ผู้คน ผ่านการลงพื้นที่ของผู้วิจัย ที่ผมเคยได้มีโอกาสอ่านของชิ้นนี้ ในรูปแบบวิทยานิพนธ์ของผู้เขียน
แน่นอนในทางด้านวิชาการหรือการศึกษาเรื่องมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ งานชิ้นนี้ได้ตั้งคำถามกับกรอบแนวคิดของการศึกษาเรื่องชายแดนภาคใต้อย่างน่าใจ ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นอำนาจรัฐที่ไม่สามารถเข้ายึดพื้นที่ในหัวใจของผู้คนที่นั้นได้ พิจารณา อ่าน ร่างทหารหรือร่างมลายู ความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์ ? ในงานชิ้นนี้