วิทยาลัยประชาชน เปิดรุ่นที่ 2 มีกระแสตอบรับจากสังคม เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความไม่สงบ ได้ประเด็นจากวิทยากรรุ่นที่ 1 เราต้องสร้างองค์ความรู้เพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
จากเดิมรุ่นที่ 1 นักศึกษาวิทยาลัยประชาชน เป็นผู้นำจากชุมชนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล( อบต.) ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำศาสนา อิหม่านประจำมัสยิด คณะกรรมการมัสยิด ครูตาดีกา หลักสูตร ผู้นำแปรความขัดแย้งสู่สันติภาพ ก็น่าจะเป็นหลักสูตรที่มี่ส่วนในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ เนื่องจาก “วิทยาลัยประชาชนเป็นเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ทางความคิด การสื่อสาร และกระบวนการในการสร้างสันติภาพ ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องใหญ่ โดยเห็นว่าในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง วิทยาลัยประชาชนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะเป็นพื้นที่กลางในการสื่อสารภายในกันเอง ระหว่างองค์กรภาคประชาชน นักศึกษา ผู้นำชุมชน กับประชาชน โดยเน้นรูปแบบที่ง่าย เป็นกันเอง ไม่มีพิธีรีตอง ทุกคนเป็นอาจารย์และมองว่าวิทยาลัยประชาชนควรที่จะขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มอื่นๆด้วย” กล่าวโดย นายมูฮัมมัดอายุบ ปาทาน บรรณาธิการอาวุโส ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ในฐานะที่ปรึกษาวิทยาลัยประชาชน
วิทยาลัยประชาชนควรที่จะขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มอื่นๆด้วย เป็นส่วนหนึ่งในข้อเสนอที่ได้มาจากวิทยากรที่มาให้ความรู้แก่นักศึกษา ส่งผลให้วิทยาลัยประชาชนต้องมีการเปิดใหม่ในรุ่นที่2
(บรรยากาศ ในห้องเรียน)
ในต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา วิทยาลัยประชาชน ได้ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ในหลักสูตรผู้นำแปรความขัดแย้งสู่สันติภาพ รุ่นที่ 2 โดยมีนักศึกษาซึ่งเป็นเยาวชนจากชุมชนต่างๆในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งชายและหญิง จำนวน 50คน ส่งผลให้มีเสียงกระแสจากภาครัฐและภาคประชาชนจากสังคมภายนอก ได้สะท้อนออกมาว่า “วิทยาลัยประชาชน อบรมเยาวชนเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น
ผลจากการศึกษาวิชา การสร้างสันติภาพในสถานการณ์ความรุนแรง ของรุ่นที่ 1 ที่ผ่านมาโดยมี
มูฮัมหมัดอายุบ ปาทาน เป็นวิทยากร
เราต้องการสันติภาพอย่างไร ?เป็นคำถามที่ทุกคนต้องคิด ณ วันนี้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในรูปของโครงสร้าง ฟิรามิตซึ่งสามารถแบ่งได้สามกลุ่ม
กลุ่มแรกซึ่งอยู่ข้างบนสุดคือ กลุ่มรัฐ-กลุ่มขบวนการโดยรัฐกับขบวนการยังขัดแย้งกันอยู่โดยขบวนการมีจุดมุ่งหมายที่ชัดแจน
กลุ่มที่สอง ตรงกลางคือ CSO การทำงานของกลุ่มนี้เป็นไปในทางแสวงหาสันติภาพ เช่น EU, UN ที่คอยให้ การสนับสนุนส่วนใหญ่จะมาจากคนต่างชาติแต่คนที่ทำงานคือคนในพื้นที่เป็นสักส่วนใหญ่
และกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มที่อยู่ล่างสุดและเป็นส่วนที่แข็งที่สุดเนื่องจากมีพื้นที่แน่นและกว้าง ส่วนใหญ่จะเป็นมัสยิด ตาดีกา กลุ่มซาลาฟียะห์ (วาฮาบี) แต่กลุ่มเหล่านี้กลับมีอำนาจการต่อรองที่น้อยที่สุด ซึ่งมาจากกลุ่มที่เรียกว่า ปัญญาชนสะสม
เราจะใช้ทฤษฎีอะไรในการสร้างสันติภาพ ?ก็เป็นคำถามที่สองที่พวกเราทุกคนต้องคิดหากไม่มีทฤษฎีก็ไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนไปได้และทฤษฎีนั้นต้องมีความสอดคล้องกับฐานทั้งสามข้อซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่พวกเราทุกคนจะต้องคิด
วิทยากร มีความเห็นว่า พลังของเยาวชนที่ยังไม่มีความชอบธรรมมากพอ และงานแนวร่วมหนุนหลังก็ยังไม่เพียงพอเป็นประเด็นที่ใหญ่ส่งผลให้สังคมมลายูเป็นประชาชาติที่น่าสงสารมาก ดังนั้นต้องสร้างและขยายพื้นที่การต่อรองในทางการเมือง อาทิเช่น การสร้างข้อมูลเพื่อต่อรองต่อนโยบายของรัฐบาล เราต้องทำด้วยตังเองถ้าเราไม่ทำเองแต่ให้คนอื่นมาช่วยทำประชาชนในพื้นที่ก็จะเชื่อคนอื่นมากกว่าคนในพื้นที่ด้วยกันฉะนั้นสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำ ต้องเริ่มทำให้เยาวชนในสังคมมีการเรียนรู้มากขึ้นโดยการสร้างเวทีเพิ่มพูนความรู้เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตข้างหน้า
ฉะนั้นแล้วจากเสียงสะท้อนว่า “วิทยาลัยประชาชน อบรมเยาวชนเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น นั้นเป็นการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับเยาวชนในการสร้างสันติภาพซึ่งนำมาสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่และเพือที่จะ รองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า
นาย ทวีศักดิ์ ปิ วิทยาลัยประชาชน
กลุ่มแรกซึ่งอยู่ข้างบนสุดคือ กลุ่มรัฐ-กลุ่มขบวนการโดยรัฐกับขบวนการยังขัดแย้งกันอยู่โดยขบวนการมีจุดมุ่งหมายที่ชัดแจน
กลุ่มที่สอง ตรงกลางคือ CSO การทำงานของกลุ่มนี้เป็นไปในทางแสวงหาสันติภาพ เช่น EU, UN ที่คอยให้ การสนับสนุนส่วนใหญ่จะมาจากคนต่างชาติแต่คนที่ทำงานคือคนในพื้นที่เป็นสักส่วนใหญ่
และกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มที่อยู่ล่างสุดและเป็นส่วนที่แข็งที่สุดเนื่องจากมีพื้นที่แน่นและกว้าง ส่วนใหญ่จะเป็นมัสยิด ตาดีกา กลุ่มซาลาฟียะห์ (วาฮาบี) แต่กลุ่มเหล่านี้กลับมีอำนาจการต่อรองที่น้อยที่สุดซึ่งมาจากกลุ่มที่เรียกว่า ปัญญาชนสะสม
เราจะใช้ทฤษฎีอะไรในการสร้างสันติภาพ ?ก็เป็นคำถามที่สองที่พวกเราทุกคนต้องคิดหากไม่มีทฤษฎีก็ไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนไปได้และทฤษฎีนั้นต้องมีความสอดคล้องกับฐานทั้งสามข้อซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่พวกเราทุกคนจะต้องคิด
วิทยากร มีความเห็นว่า พลังของเยาวชนที่ยังไม่มีความชอบธรรมมากพอ และงานแนวร่วมหนุนหลังก็ยังไม่เพียงพอเป็นประเด็นที่ใหญ่ส่งผลให้สังคมมลายูเป็นประชาชาติที่น่าสงสารมาก ดังนั้นต้องสร้างและขยายพื้นที่การต่อรองในทางการเมือง อาทิเช่น การสร้างข้อมูลเพื่อต่อรองต่อนโยบายของรัฐบาล เราต้องทำด้วยตังเองถ้าเราไม่ทำเองแต่ให้คนอื่นมาช่วยทำประชาชนในพื้นที่ก็จะเชื่อคนอื่นมากกว่าคนในพื้นที่ด้วยกันฉะนั้นสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำ ต้องเริ่มทำให้เยาวชนในสังคมมีการเรียนรู้มากขึ้นโดยการสร้างเวทีเพิ่มพูนความรู้เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตข้างหน้า
นาย ทวีศักดิ์ ปิ วิทยาลัยประชาชน