Skip to main content
หมายเหตุ: ภาษาไทยโปรดเลื่อนลง
 
JPF calls on Thai Government to prevent enforced disappearances and ensure remedies for past disappearances
 
The Justice for Peace Foundation (JPF) today called on the Thai Government to ratify and comply with the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearances in a report which documents the enforced disappearance of 59 people from throughout Thailand.
 
“JPF has found that enforced disappearances take place within a broader context of state violence which is used to silence dissenting views and to eliminate suspected criminals, outside of the rule of law”, said Angkhana Neelapaijit, JPF President.
 
JPF has personally documented 40 incidents of enforced disappearances involving 59 people. 12 people were from northern Thailand, five from western Thailand, seven from Isaan (north east), 33 from the deep south. JPF found that men from minority ethnic groups, such as Malayu or Hill Tribe communities, are disproportionately more vulnerable to enforced disappearances. In the cases documented by JPF, 94% of the victims were male and 86% from ethnic minorities.
 
JPF has found that two government policies directly contributed to increasing enforced disappearances in Thailand: the highly militarized counter-insurgency approach adopted in southern Thailand by various governments and the War on Narcotic Drugs beginning in 2003. In addition to these two policies, JPF has found that particular categories of people are vulnerable to enforced disappearances throughout Thailand. These are: (i) people with close relationships with officials and /or come into conflict with officials; (ii) activists engaged in human rights, political or corruption activism; (iii) witnesses of crimes or human rights violations; and (iv) migrants.
 
“Enforced disappearances are not only a problem in southern Thailand. We have found cases of disappearances in every region in Thailand. Nor is this a new problem. We have information on cases of enforced disappearances since 1952 and multiple cases during particular periods of history such as suspected communists in the early 1970s, northern farmers in the late 1970s and victims of the May 1992 military crackdown on protesters”, said Angkhana Neelapaijit.
 
Methods of disappearing a person follow three patterns throughout Thailand. The first, and most common, involves officials taking the victim from the street by forcing them into a vehicle and driving away. Secondly, the disappearance begins with the victim being arrested from his home or place frequently used by him. Thirdly, the victim is invited to meet an official at a specific location and then disappears. The detention of the individual is consistently denied when families seek information about their missing relative.
 
“JPF believes that people who are disappeared are subject to multiple human rights violations such as arbitrary detention, torture and extra-judicial killings”, said Angkhana Neelapaijit. “We have documented evidence in southern and northern Thailand that indicate these patterns of abuses”, she added.
 
Judicial remedies, the right to truth and the right to reparations for enforced disappearances remain largely denied by the state in Thailand. The failure to define enforced disappearance as a crime in Thailand stands in the way of prosecutions. Compounding this are weak investigatory and prosecutorial bodies that lack independence. Right to truth is systematically denied as government agencies seek to hide, rather than reveal the truth about enforced disappearances. Provision of reparations to relatives of the disappearances has been extremely limited in Thailand.
 
“Decades of impunity have created a context in which administrative and security officials know that their illegal actions are condoned by the state and that the likelihood of legal action against them is extremely low”, said Angkhana Neelapaijit. “Families, including myself, have even been denied the right to know the truth about our loved ones”.
 
JPF today, made the following recommendations:
 
The Government should ratify the International Convention for the Protection of All Persons fromEnforced Disappearances.
 
The Government should adopt legislation that criminalizes the act of enforced disappearance, creates appropriate investigation mechanisms and ensures the full rights of the victim and their relatives.
 
The Government should amend existing legislation relating to witness protection, detention, “good faith”clauses and destruction of evidence.
 
Investigation and prosecution procedures should be improved, including immediate filing of first
information reports, immediate investigation, rapid referral to DSI, involvement of independent
forensic experts, provision of witness protection, and respect for the rights of the relatives.
 
Where necessary commissions of inquiry should be established into particular categories of enforced disappearances and other human rights violations such as (i) ongoing disappearances related to suspicion of involvement with drugs; (ii) human rights violations in northern Thailand in 2003; and(iii) killings and disappearances of activists.
 
A national level reparations mechanism should be established. Until this is established in all cases of enforced disappearance relatives should receive interim compensation.
 
The National Human Rights Commission of Thailand should play a significantly enhanced role in establishing the truth and ensuring justice and reparations.
 
In all known cases of enforced disappearances there should be independent and thorough
investigations leading to prosecutions and sentencing of the perpetrators.
 
 
มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพเรียกร้องรัฐบาลไทยป้องกันการบงคับบุคคลสูญหายและสร้างหลักประกันการให้การเยียวยาผู้สูญหายในอดีต
 
วันนี้ (28 พฤษภาคม 2555) มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ เรียกร้องรัฐบาลไทยให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) ในรายงานซึ่งบันทึกการบังคับบุคคลสูญหาย 59 รายทั่วประเทศ
“มูลนิธิฯพบว่าการบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นปรากฏการณ์ของการใช้ความรุนแรงของรัฐไทยเพื่อปราบปรามความเห็นต่าง หรือเพื่อกำจัดผู้ต้องสงสัย ซึ่งเป็นการกระทำนอกเหนือหลักนิติธรรม” อังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิฯฃยุติธรรมเพื่อสันติภาพกล่าว
 
มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพได้เก็บรวบรวมข้อมูลการบังคับบุคคลให้สูญหาย 40 กรณี ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชน 59 คน ผู้ที่เป็นเหยื่อ 12 คนมาจากภาคเหนือ ห้าคนมาจากภาคตะวันตก เจ็ดคนมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 33 คนมาจากภาคใต้ มูลนิธิฯพบว่า ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อการบังคับบุคคลให้สูญหายมักจะเป็นผู้ชายที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อย อย่างเช่น ชาวมาเลย์หรือชุมชนชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ประมาณ 94% ของผู้เสียหายเป็นผู้ชาย และ 86% เป็นผู้ที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อย
 
มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพพบว่า นโยบายของรัฐอย่างน้อยสองประการส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของปัญหาการบังคับบุคคลให้สูญหาย ประการแรกได้แก่ การต่อต้านการก่อความไม่สงบด้วยกำลังทหารในภาคใต้ของไทยในหลายรัฐบาลที่ผ่านมา และนโยบายสงครามปราบปรามยาเสพติดซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 2546 นอกเหนือจากนั้นมูลนิธิฯยังพบว่ามีกลุ่มบุคคลอย่างน้อยสี่กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการถูกบังคับให้สูญหายทั่วประเทศไทยอันได้แก่ (i) คนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่/ตำรวจ/ทหารและ/หรือคนที่มีความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่เหล่านี้ (ii) นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน การเมือง หรือต่อต้านการทุจริต (iii) ประจักษ์พยานต่ออาชญากรรมหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน (iv) คนต่างด้าว
 
“การบังคับบุคคลสูญหายมิใช่เป็นเพียงปัญหาที่พบในภาคใต้ของประเทศไทย เรายังพบกรณีการสูญหายในทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งนี่มิใช่ปัญหาใหม่ เรามีข้อมูลการบังคับบุคคลสูญหายนับแต่ปี 2495 และอีกหลายกรณีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ในต้นปี 2513 กรณีชาวนาในภาคเหนือหลังปี 2513 และเหยื่อของเหตุการณ์พฤษทมิฬในปี 2535” อังคณา นีละไพจิตร กล่าว
 
วิธีการทำให้บุคคลสูญหายมีรูปแบบสำคัญสามประการ วิธีการแรกซึ่งแพร่หลายมากที่สุดเกิดขึ้นในลักษณะที่เจ้าหน้าที่ซึ่งบางครั้งใส่เครื่องแบบหรืออาจเป็นเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ จับตัวผู้เสียหายจากกลางถนนและบังคับนำตัวเขา(พร้อมกับพาหนะ) ให้เข้าไปในรถยนต์หรือรถบรรทุกและขับหนีไป สอง สองได้แก่ การจับกุมผู้เสียหายจากบ้านหรือสถานที่อื่น ๆที่เขามักจะเดินทางไป และสาม ผู้เสียหายมักได้รับเชิญตัวให้มาพบเจ้าหน้าที่ในสถานที่บางแห่งและหายตัวไป ซึ่งญาติมักได้รับการปฏิเสธเมื่อสอบถามถึงสถานที่ควบคุมตัวหรือข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูญหาย
 
“มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพเชื่อว่าผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการบังคับบุคคลให้สูญหายมักจะเผชิญการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ด้วย อย่างเช่น การควบคุมตัวโดยพลการ การทรมานและการสังหารนอกกระบวนการกฎหมาย” อังคณา นีละไพจิตร กล่าว “เราได้บันทึกหลักฐานในภาคใต้ และภาคเหนือซึ่งชี้ให้เห็นรูปแบบของการละเมิดนี้” อังคณา กล่าวเสริม
 
รัฐไทยยังคงขัดขวางการเข้าถึงการเยียวยาด้านตุลาการ สิทธิที่จะได้ทราบความจริง และสิทธิที่จะได้รับการชดเชยจากการบังคับบุคคลให้สูญหาย การที่ประเทศไทยไม่กำหนดให้ “การบังคับบุคคลให้สูญหาย” เป็นความผิดทางอาญากลายเป็นอุปสรรคต่อการฟ้องคดี ปัญหาอื่น ๆ ยังเกิดขึ้นจากหน่วยงานสืบสวนสอบสวนและฟ้องคดีที่ขาดความเป็นอิสระและอ่อนแอ ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการฟ้องคดีอย่างเป็นผลต่อกรณีการบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทยเลย สิทธิที่จะได้ทราบความจริงมักถูกปฏิเสธอย่างเป็นระบบ เนื่องจากหน่วยงานของรัฐพยายามปกปิดความจริง มากกว่าจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการบังคับบุคคลให้สูญหาย
 
“การงดเว้นโทษในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาได้สร้างบริบทที่ทำให้ผู้บริหารและหน่วยงานความมั่นคงรู้ว่าการกระทำนอกกฎหมายของพวกเขาจะไม่ต้องรับโทษเนื่องจากกฎหมายที่ใช้อยู่อ่อนแอเกินกว่าที่นำผู้กระทำผิดมาลงโทษ”  อังคณา นีละไพจิตร กล่าว “บรรดาครอบครัวของผู้สูญหาย รวมถึงตัวดิฉันเองยังคงถูกปฏิเสธสิทธิในการทราบความจริงเกี่ยวกับบุคคลซึ่งเป็นที่รักของเรา”
 
วันนี้ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทย คือ
 
รัฐบาลควรให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ(International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance)
รัฐบาลควรกำหนดให้การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นความผิดทางอาญา กำหนดกลไกสืบสวนสอบสวนที่เหมาะสม และประกันสิทธิอย่างเต็มที่ของผู้เสียหายและญาติ
 
รัฐบาลควรแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่เกี่ยวกับการคุ้มครองพยาน การควบคุมตัว ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ “โดยสุจริต” และการทำลายพยานหลักฐาน
 
ควรมีการปรับปรุงขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนและการฟ้องคดี รวมทั้งขั้นตอนการแจ้งความ การสืบสวนสอบสวนในเบื้องต้น การส่งต่อคดีอย่างรวดเร็วให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ บทบาทของผู้ชำนาญการด้านนิติเวชที่เป็นอิสระ การกำหนดให้มีการคุ้มครองพยาน และการเคารพสิทธิของญาติ
หากจำเป็น ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการไต่สวนสำหรับปัญหาการบังคับบุคคลให้สูญหายและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ (i)การสูญหายอย่างต่อเนื่องของผู้ที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (ii) การละเมิดสิทธิมนุษยชนในค่ายทหารพรานที่จังหวัดทางภาคเหนือเมื่อปี 2546 และ (iii) การสังหารและการหายตัวไปของนักกิจกรรม
 
ควรมีการกำหนดกลไกชดเชยระดับประเทศ แต่ระหว่างรอให้มีกลไกดังกล่าว ควรดูแลให้ญาติของผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายได้รับค่าชดเชยเป็นการชั่วคราว   
 
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรมีบทบาทเข้มแข็งเพื่อสนับสนุนให้มีการค้นหาความจริงและประกันความยุติธรรมและการชดใช้
 
สำหรับกรณีการบังคับบุคคลให้สูญหายซึ่งเป็นที่ทราบกัน ควรมีการสืบสวนสอบสวนที่เป็นอิสระและครอบคลุมเพื่อหาทางฟ้องร้องดำเนินคดีและลงโทษผู้กระทำผิด