จดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 3
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555
เรื่อง ขอให้ทบทวนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เรียน นายกรัฐมนตรี
สำเนาถึง 1. ประธานวุฒิสภา
2. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
3. ประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. จดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 1 เรื่องขอให้ทบทวนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 14 กันยายน 2554
2. จดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 2 เรื่องขอให้ทบทวนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 12 มีนาคม 2555
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้คือ จังหวัดปัตตานี ยะลาและจังหวัดนราธิวาส ต่อไปอีก 3 เดือน เป็นการขยายระยะเวลาครั้งที่ 27 ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม – 19 มิถุนายน 2555
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ขอให้ ท่านนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาข้อมูลและข้อคิดเห็นต่อจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 14 กันยายน 2554 และวันที่ 12 มีนาคม 2555 ตามลำดับซึ่งได้เคยนำเสนอข้อมูลและข้อคิดเห็นต่อกรณีการประกาศขยายระยะเวลาการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีกครั้งก่อนพิจารณาประกาศให้พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่สถานกาณณ์ฉุกเฉินประเภทร้ายแรงต่อไปอีก 3 เดือน ซึ่งจะทำให้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีผลใช้บังคับในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ครบ 8 ปี นอกจากนี้ทางมูลนิธิฯ ยังมีความเห็นคัดค้านการต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และข้อเสนอเพิ่มเติมดังนี้
1. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กปต.) และวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 ประธานกปต.ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันกับผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 17 กระทรวง 66 หน่วยงาน รวมทั้งหน่วยงานในระดับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ศูนย์อำนวยการการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน) และตัวแทนผู้บริหารเห็นชอบในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างยุทธศาสตร์ของศอ.บต.จำนวน 9 ข้อ เน้นงานด้านการพัฒนา และยุทธศาสตร์ 6 ข้อ ของ กอ.รมน.ที่เน้นงานด้านความมั่นคง ภายใต้กรอบของแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2555-2557 เสนอโดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
2. มูลนิธิฯ มีข้อมูลอันเป็นที่ประจักษ์ว่า ศอ.บต.ได้เดินหน้านโยบายในการพัฒนาเพื่อฟื้นฟูความเข้าใจและลดเงื่อนไขความรุนแรง โดยการเปิดนโยบายการเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ เช่น มีการซ้อมทรมาน การอุ้มหาย การควบคุมตัวโดยไม่ชอบ การวิสามัญฆาตรกรรม และการปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยไม่สามารถดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลต้องสงสัยนั้นได้ ซึ่งย่อมเป็นการยอมรับโดยรัฐในการใช้อำนาจในการบังคับใช้กฎหมายที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ และความปลอดภัยของประชาชน นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังพบว่าศอ.บต.ได้ดำเนินการโดยดำเนินการแก้ไข กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกฎหายต่างๆที่ขัดต่อวิถีชีวิตอัตลักษณ์ของพี่น้องมุสลิม เป็นการยกระดับบรรยากาศของการยอมรับอัตลักษณ์ของบุคคลที่ได้รับการรับรองไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญและหลักกติกาสากล รวมทั้งการเปิดพื้นที่การพูดคุยด้านสันติภาพต่อสาธารณะมากขึ้น
3. พิจารณาในแผนการรักษาความมั่นคง ทาง มูลนิธิฯ พบว่า ไม่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐ หรือประชาชนผู้บริสุทธิ์ ยังคงตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง ยังคงความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สิน ขณะเดียวกันการจัดการเพื่อยับยั้งความรุนแรงโดยการปราบปราม โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายที่เน้นไปในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลต้องสงสัย การจำกัดสิทธิและเสรีภาพที่ยังก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะสิทธิในการพบญาติและทนายความ อันนำไปสู่ความไม่โปร่งใสในกระบวนการการซักถาม
4. กรณีการจับกุมและควบคุมตัวนักศึกษาและนักกิจกรรมในพื้นที่จังหวัดยะลาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2555 ส่งผลให้กลุ่มนักศึกษาได้รวมตัวกันเรียกร้องให้มีการชี้แจงจากหน่วยงานความมั่นคงถึงเหตุที่ต้องสงสัย เนื่องจากมีอดีตนักกิจกรรมและนักศึกษาที่ถูกควบคุมตัวเหล่านั้นจัดทำกิจกรรมและการเคลื่อนไหวไม่ให้มีการบังคับใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ที่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน สิทธิและเสรีภาพมากกว่าความรู้สึกปลอดภัย หรือการแก้ไขเหตุร้ายได้จริง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ย่อมเป็นการคุกคามประชาชนในพื้นที่ ที่ต้องการเคลื่อนไหวและเรียกร้อง ให้มีการทบทวนการบังคับใช้กฎหมายพิเศษที่ละเมิดต่อสิทธิของประชาชน โดยล่าสุดกลุ่มนักศึกษามีการเคลื่อนไหวตามหลักการสันติวิธี ด้วยการยื่นหนังสือต่อตัวแทนนักการทูตขององค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ “โอไอซี” ให้มีการเจรจาพูดคุยกับรัฐบาลไทย เพื่อพิจารณาข้อเรียกร้องในการทบทวนการบังคับใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ซึ่งมีข้อเสนอนี้มีความสอดคล้องต่อความห่วงใยของผู้แทนโอไอซี ถึงรัฐบาลไทยกรณีการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ที่เป็นต้นเหตุสำคัญในการร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้มีแนวคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลผ่านสื่อมวลชนในการเรียกร้องให้มีการทบทวนการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ และใช้วิธีการแบบสันติวิธีและการพัฒนา
5. มูลนิธิฯ เห็นว่า เมื่อนโยบายและการปฏิบัติของฝ่าย ศอ.บต.และกอ.รมน.เป็นไปในลักษณะของเส้นขนานกับการบังคับใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ที่ยังจำกัดสิทธิและละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมต่อไป จะส่งผลให้โอกาสในการสร้างบรรยากาศให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในแบบสันติภาพย่อมเกิดขึ้นจริงได้ยากยิ่งขึ้น
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลได้ทดลองไม่ขยายการประกาศการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในครั้งนี้เป็นระยะเวลาสามเดือน เพื่อเปิดโอกาสให้ฝ่ายบริหารโดย ศอ.บต.สามารถดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ที่เน้นการพัฒนาและสร้างสันติภาพ โดยสันติวิธี เพื่อเปรียบเทียบถึงความจำเป็นที่จะยังคงมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต่อไป ทั้งนี้เพื่อเป็นส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจในประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืนและมีเสถียรภาพพร้อมที่จะมีการพัฒนากรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งของรัฐและความมั่นคงของประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมกันต่อไปในอนาคตอันใกล้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
(นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ)
ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
|
(นายกิจจา อาลีอิสเฮาะ)
เลขานุการมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม
|
(English Version)
Open Letter No. 3
15 June 2012
Subject Review of the renewal of Emergency Decree in the Southern Border Provinces urged
Attention HE the Prime Minister
CC: 1. Secretary General of National Security Council (NSC)
2. House Speaker
3. President of the Senate
Attachments 1. Open Letter no.1 “Renewal of the Emergency Decree Should be Reviewed” dated 14 September 2011
2. Open Letter no.2 “Renewal of the Emergency Decree Should be Reviewed” dated 12 March 2012
On 13 March 2012, the cabinet endorsed the renewal of the enforcement of the Emergency Decree for three months in the three Southern Border Provinces including Pattani, Yala and Narathiwat. The 27th renewal shall be effective from 20 March to 19 June 2012.
The Cross Cultural Foundation (CrCF) and Muslim Attorney Centre Foundation (MAC) would like to bring to the attention of the Prime Minister the information and opinion stated in Open Letter No. 1 and 2 dated 14 September 2011 and 12 March 2012, respectively. In the two letter, you are asked to review the impact of the renewal of the Emergency Decree, prior to endorsing its another renewal for three months, as the law has been effective in the Southern Border Provinces for eight years in a row. An objection to the renewal of the law has been stated including the following;
1. On 1 May 2012, General Yutthasak Sasiprabha, Deputy PM, was appointed by the cabinet as the Chairperson of the Committee to Mobilize Policy and Strategy to Solve Problems in the Southern Border Provinces. On 17 May 2012, a workshop was convened by the Chairperson among high ranking officers from 17 concerned Ministries and 66 agencies including agencies at the policy level working on administration in the Southern Border Provinces such as the National Security Council (NSC), the Southern Border Provinces Administrative Center (SBPAC) and the Internal Security Operations Command (ISOC). An agreement has been reached among the executive officers to implement nine point integrated policy set out by SBPAC with an emphasis on development and the six point strategy of ISOC to ensure security under the 2012-2015 Strategic Framework to Solve Problems in the Southern Border Provinces proposed by NSC.
2. Evidence based information has been obtained by both Foundations that SBPAC has been implementing policy to enhance development through nurturing understanding and minimizing causes of conflict. Access to remedies has been made available to people who have been affected by the unrest including those affected by the enforcement of special laws. Some have been subjected to human rights abuse while being held in custody invoking the specials laws including torture, enforced disappearance, unlawful detention, and extrajudicial killing. That the persons held in custody have been subsequently released and have not been prosecuted reflects the impact of the enforcement of special laws including the infringement on the right to freedom and security. In addition, the Foundations have found that insofar SBPAC has initiated the revision of local ordinances, rules and regulations which are inappropriate to the cultural identity of the local Muslim sisters and brothers. By the virtue of such revision, their identity has been recognized on par with provisions in the Constitution and international standards, and that has paved the way for bigger public space to dialogue for peace.
3. As for plans to ensure security, the Foundations have found that both governmental officials and civilians have still be victims of violence and the loss of life and damage of property has continued unabated. Meanwhile, the preemptive measures and the suppression methods based on invoking law to arrest and hold in custody suspects have led to restriction of people’s rights and freedom as well as infringement on the right to justice process including access to lawyer and relatives and a lack of transparency during the inquiries.
4. The arrest and holding in custody of students and activists in the province of Yala in May 2012 has prompted student groups to demand an explanation from security agencies since those students and activists detained had been working actively to demand a lift of the Emergency Decree. They deem that the law bears impact on people’s daily life and leads to restriction of rights and freedom and is not effective in addressing the unrest. The arrest and detention simply sends out ripples of intimidation among local people who are active in demanding a lift of the special law which causes infringement of people’s rights. Lately, the student groups have led a nonviolent action to submit and letter of petition to representatives of Organization of Islamic Conference (OIC) urging them to negotiate with the Royal Thai Government in order to review the enforcement of Emergency Decree. The OIC representatives have promptly expressed their concern upon receiving the letter and expressed their similar concern to the RTG concerning impact of the enforcement of Emergency Decree which has led to complaints of human rights abuse. They have also shared their views and recommendations to through the press urging the Thai authorities to review the enforcement of the Emergency Decree and to resort to solutions based on nonviolence and development.
5. The Foundations have found that the implementation of policy by SBPAC and ISOC continues to lack congruency with the restriction of right to freedom and right to justice process as a result of the enforcement of Emergency Decree. That shall simply minimize the chance to establish peace in the Southern Border Provinces.
Therefore, the Cross Cultural Foundation (CrCF) and Muslim Attorney Centre Foundation (MAC) would like to urge the government to experiment with the three month moratorium of the Emergency Decree in order to allow the administrative agencies including SBPAC to carry out their activities based on the strategy to enhance development and peace through nonviolence. The information obtained shall be useful to review the necessity of the enforcement of the Emergency Decree. In addition, it shall help to increase confidence in a sustainable and stable ASEAN community and help to set out cooperation framework to address security issues faced by both the states and people in ASEAN in the near future.
Thank you very much.
Yours sincerely,
(Ms. Pornpen Khongkachonkiet)
Cross Cultural Foundation (CrCF), Director
|
(Mr.Kitcha Ali-ishoh)
Muslim Attorney Centre Foundation (MAC), Secretary
|