Skip to main content

สัญญานสงครามศาสนาในประเทศไทย (Signal  Religious Wars in Thailand)

รวบรวมเรียบเรียงโดย  คอลดูน  ยีหวังกอง

บทนำ

สงครามศาสนา: Religious Wars

 

สงครามครูเสด : ต้นแบบของสงครามศาสนา

 

ความขัดแย้งของโลกในปัจจุบันมักจะต่อสู้กันภายใต้วาทะที่มีคำว่า สงครามศักดิ์สิทธิ์-a holy war”

 

ความเชื่อเรื่องนี้มีปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิลมาตั้งแต่ยุคที่ชาวยิวภายใต้การนำของท่านโมเสส พากันอพยพหนีความเป็นทาสจากจักรวรรดิอิยิปต์โบราณ และพากันมาตั้งรกรากอยู่ในดินแดนที่พวกเขาเชื่อมั่นศรัทธาว่า เป็น ดินแดนแห่งพันธะสัญญา-The Promised Land” บรรพบุรุษชาวฮีบรูว์ทำสงครามก่อตั้งดินแดนด้วยการอัญเชิญพระบํญญัตินำหน้ากองทัพ เชื่อมั่นว่า เป็นสงครามเพื่อ ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์-The Holy Land”ซึ่งในปัจจุบันนี้คือ นครเยรูซาเล็ม-Jerusalem”

 

แต่แนวคิดการสงครามศักดิ์สิทธิ์เพื่อการฆ่าและการเบียดเบียนไม่มีปรากฏเป็นหลักคำสอนหากหลอมรวมตัวอยู่ในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อพิทักษ์เยรูซาเล็ม ที่ประดิษฐานของพระนิเวศเพื่อสักการบูชาพระยะโฮวาห์ (The Temple) ซึ่งปัจจุบันคงเหลือแต่เพียงซากำแพงที่ชาวยิวทั่วโลกต้องจารึกบุญไปสวดมนต์คร่ำครวญชนชาติฮีบรูว์ นับถือศาสนายูดาห์ (Judaism) ซึ่งแตกต่างจากศาสนาอื่นๆตรงที่เป็นศาสนาแห่งขนบประเพณี (Tradition) ที่ใช้เป็นแบบแผนปฏิบัติสืบต่อกันมานับเป็นพันๆปี โดยยึดหลักพระบัญญัติ หรือกฎหมายทางศาสนาใช้เป็นจารีตปกครองและกฎหมายร่วมกันเป็นกฎหมายศาสนาที่อยู่รากฐานของกฎหมายโมเสส ที่จารึกไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิลโทราห์

 

นครเยรูซาเล็ม ได้ผ่านกาลเวลาอันยาวนาน มีชาติมหาอำนาจที่เข้ามายึดครองอยู่ทุกยุคสมัย ศาสนายูดาห์มีแบบฉบับการปกครองด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นแบบฉบับของการตุลาการและการอำนวยความยุติธรรม ชนชาติต่างๆจึงนำหลักพระคัมภีร์ไบเบิลไปใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตและการปกครองสังคม มีการแปลพระคัมภีร์ไบเบิลหลากหลายภาษา ต่อมานครเยรูซาเล็มยิ่งมีคุณค่าความสำคัญทางศาสนาของศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม พระมหาวิหาร มีจุดที่ตั้งที่เชื่อกันว่า เป็นทางไปสู่สวรรค์

 

เมื่อจุดระวางที่ตั้งเป็นที่รวมความสำคัญของทุกศาสนา จึงมีความพยายามที่จะพิทักษ์ ปกป้อง เพื่อความบริสุทธิ์และมั่นคงของศาสนา นี่คือที่มาของสงครามศาสนาของโลกมนุษย์เรา

 

สงครามครูเสด เป็นสงครามศาสนาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์สงครามระหว่างมนุษยชาติ เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่คริสตวรรษที่ ๑๑ ถึง ๑๓ จากศาสนจักรโรมันคาธอลิก พระสันตปาปาที่กรุงโรม ที่ต้องการยึดครองนครอันศักดิ์สิทธิ์ ให้พ้นจากเงื้อมมือของพวกมุสลิม และชาวคริสต์บางกลุ่มที่อยู่คนละฝ่ายกับศาสนจักร เช่น เมื่อคราวสงครามครูเสดครั้งที่ ๔ ที่ต่อต้านพวกคอนสแตนติโนเปิลกับสงคราครูเสดกับพวกอัลบีเจนเชียน (The Albigensian Crusade) และสงครามครูเสดต่อต้านพวกคาธาร์ (The Cathars) ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส

 

สงครามครูเสดมีความหมายว่า เป็น การต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรม (righteous) เป็นความถูกต้องชอบธรรมตามหลักศรัทธาทางศาสนา (a religious justification) ทำนองว่า เป็นสงครามที่ต่อสู้ความถูกต้องชอบธรรมตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า (God with us) ซึ่งชาวมุสลิมใช้คำว่า จิฮัด-jihad”

 

ต่อมาในภายหลังคำว่า สงครามครูเสดถูกนำไปใช้ในทำนอง การรณรงค์ต่อสู้เพื่อความชอบธรรมด้านต่างๆ และมีการนำไปใช้ในการก่อการร้ายกับเพื่อนมนุษย์ ว่า เป็นสงครามศักดิ์สิทธิ์ตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ฆ่าคนนอกรีต-คนต่างศาสนา ไม่บาป แล้วยังได้ขึ้นสวรรค์

 

ยุโรปในยุคกลาง มีสงครามระหว่างชนชาติเกิดขึ้นมากมาย พร้อมๆไปกับการกระทำรัฐชาติต่างๆให้เป็นรัฐชาติคริสเตียน ศาสนจักรโรมันคาธอลิกในยุคนั้นจึงทรงอำนาจทางการทหารแบบฉบับจักรวรรดิโรมัน

 

สงครามครูเสด เป็นที่มาของตำนาน ขุนศึก-The Knights” ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิทักษ์ประชาชน ภายใต้พระบัญชาและได้รับการสนับสนุนจากพระสันตปาปา ภาพลักษณ์ของขุนศึก คือ ผู้พิทักษ์ความชอบธรรมแก่ผู้ที่ไปจาริกแสวงบุญที่นครศักดิ์สิทธิ์ ทำให้มีนัยเป็นการต่อสู้ระหว่างตะวันตก คือ คริสตจักร กับ ตะวันออกคือ อาหรับมุสลิม ต่างผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ และบางครั้งก็จเรจากันได้ เกิดสันติภาพ ที่ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสันติในนครเยรูซาเล็มได้

 

การที่ใครจะมายึดครองเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ แต่เพียงผู้เดียว คือปัญหาที่ยิ่งใหญ่

 

สงครามครูเสด เกิดขึ้นเพราะ การแย่งกันเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว เราลองมาศึกษาเหตุการณ์ในสงครามครูเสด บางช่วงที่น่าสนใจ

 

-จักพรรดิ์อเล็กซิอุส โดยพระบัญชาของพระสันตะปาปาเออร์บันที่II ทำสงครามต่อต้านพวกมุสลิม ในดินแดนไบเซ็นทีน สงครามครูเสดครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. ๑๐๙๕ มีเจ้าชายจากแว่นแคว้นต่างๆเข้าร่วมรบ เช่น เจ้าชายจากอิบิเลีย เจ้าชายจากแคว้นเดอลิยง คิงอาร์เธอร์ กษัตริย์ของพวกแองโกลแซกซอน หรือคนเชื้อสายอังกฤษในปัจจุบัน

 

-สงครามครูเสด ทำให้เกิดตำนานกษัตริย์นักรบจากยุโรปผู้เรืองนาม เช่น พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์(Richard the Lion Heart)

 

-สงครามครูเสด ครั้งที่ สาม เกิดขึ้นในปี ค.ศ. ๑๑๘๗ เมื่อซาลาดิน-Saladin เข้ายึดนครเยรูซาเล็ม พระสันตปาปาต้องขอกองกำลังจากกษัตริย์ในยุโรปมาช่วยรบ

 

ซาลาดิน (ค.ศ.๑๑๓๗-๑๑๙๓) เป็นกษัตริย์นักรบแห่งอิยิปต์มุสลิม มีพระนามเต็มว่า ซาลาห์ อัล ดิน อิบ อยยุบ(Salah al Din Ayyub- صلاح الدين يوسف ابن ايوب))คำว่า ซาลาห์ อัล ดิน แปลว่า ความชอบธรรมแห่งศรัทธา-The Righteousness of Faith) ท่านเป็นที่รู้จักเลื่องลือไปทั่วทั้งหมู่ชาวคริสต์และมุสลิมในฐานะผู้นำและขุนศึกที่ทรงคุณธรรมที่เปี่ยมด้วยเมตตา ในตำนานของสงครามครูเสด

 

สงครามครูเสด เกิดขึ้นย่อยๆอีกรวมเก้าครั้ง จนในที่สุดตกอยู่ในการยึดครองของจักรวรรดิอิสลามเติร์ก ผลกระทบของสงครามครูเสดมีอย่างมหาศาล ในหลายๆด้าน ทั้งต่อภาคพื้นยุโรป ต่อประชาคมชาวมุสลิม และประชาคมชาวยิว และสงครามครูเสดแบบฉบับกำลังได้รับการนำมากล่าวอ้างเพื่อการทำสงครามที่ชอบธรรมระหว่างมนุษยชาติได้อีกครั้ง

 

- สงครามศาสนาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

 

มนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่มีศาสนา สงครามของความเชื่อเกิดขึ้นมาหลายๆครั้งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างหลากหลาย ก่อให้เกิดวิถีปฏิบัติที่แตกต่าง แบ่งแยก และแปลกแยก โดยแต่ละศาสนามีอุดมการณ์มุ่งมั่นที่จะธำรงรักษาความบริสุทธิ์ ความมั่นคง ของศาสนาและหลักศรัทธา ทำให้เกิดภาวการณ์ยึดมั่นถือมั่น ที่นำไปสู่การไม่ลงรอยกันในที่สุดนอกเหนือจากความแตกต่างหลากหลายระหว่างชาติพันธ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม

 

ความแปลกแยก มีพื้นฐานที่ตั้งอยู่บนอคติทางศาสนา แฝงเร้นไว้ด้วยความรู้สึกต่อต้านกัน เป็นศัตรูกัน ถือเขา ถือเรา โอกาสที่จะเกิดความกระทบกระทั่งกันได้ง่าย แม้ในเรื่องเล็กน้อย ที่โน้มนำไปสู่ความรู้สึกดูหมิ่น ดูแคลน ขาดความเชื่อมั่นที่ดีต่อกัน การเอารัดเอาเปรียบและการกระทำที่รุนแรง ยิ่งยึดมั่นเท่าใด ปฏิกิริยาย่อมทวีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

 

เราลองมาสำรวจดูในประวัติศาสตร์โลกกันว่าโลกของ เรา ฆ่ากันตายหมู่เพราะความเชื่อมากี่ครั้งกี่หนแล้ว เริ่มต้นที่ทวีปเอเชีย แดนดินถิ่นตะวันออก อู่อารยธรรมบ่อเกิดศาสนาของโลก (แผนที่โลก-ไม่ได้ใส่มา)

 

ภูมิภาคแถบนี้ มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนหลายครั้งในดินแดนแถบชมพูทวีป คือ อินเดีย จีน และขณะนี้ การก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในแถบหมู่เกาะฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย และจังหวัดทางตอนใต้ของประเทศไทย จะเรียกได้ว่าเป็น สงครามศาสนาหรือไม่ แม้คำตอบที่ต้องการคือ ไม่เป็นและ เจ้าประคู้นอย่าเป็นเช่นนั้นเลยแต่ถ้ากำลังจะมีศาสนิกชนผู้เคร่งศรัทธาบางกลุ่มต้องการทำให้เกิด สงครามศาสนา”!!!

 

แผนที่ทวีปเอเชียตะวันออก

 

คนในประชามคมแถบนี้จะทำอย่างไร? เราจะมาหลงผิดฆ่ากันแล้วไม่บาปกระนั้นหรือ? ทั้งๆที่การฆ่าชีวิตถือเป็นบาปมหันต์ ในทุกศาสนา มีใครบางคนศรัทธาว่า ฆ่าคนนอกรีตหรือ ฆ่าคนนอกศาสนาไม่บาป ถ้าเช่นนั้นก็ต้องย้อนถามกลับไปว่า คำสอนและศรัทธาที่ป่าเถื่อนเช่นนี้เป็น หลักศรัทธาบริสุทธิ์ของศาสนาที่ท่านนับถือศรัทธาจริงหรือ? ถ้าท่านต้องการความผาสุก และ สวรรค์ ทำไมเราต้องมาเข่นฆ่ากัน ท่านทั้งหลายต้องนั่งลง หันมาช่วยหาคำตอบ

ที่ถูกต้องเที่ยงธรรม ไม่ใช่คำตอบแบบอคติผิดๆอีกต่อไป

ท่านทราบหรือไม่ว่าในดินแดนแถบนี้ เราฆ่ากันเพราะความเชื่อทางศาสนามากี่ครั้งกี่หนแล้ว ลองมาสืบค้นข้อมูลโลกกัน ณ บัดนี้

ชมพูทวีป หรือ อินเดีย เป็นอู่อารยธรรมที่ยิ่งใหญ่และบ่อเกิดศาสนาสำคัญของเอเชีย ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู พุทธ สิกข์ เชน และลัทธิต่างๆอีกมากมาย

เราลองมาดูสถิติศาสนิกชนศาสนาต่างๆในประเทศอินเดียว่า มีมากน้อยเพียงใด

 

 

ประชากรจำแนกตามศาสนา

Religious distribution of the Population

ศาสนาต่อร้อยละของประชากรทั้งหมด

ฮินดู-Hindus

81.3%,

มุสลิม-Muslims

12%

คริสเตียน-Christians

2.3%

สิกข์-Sikhs

1.9%,

พุทธศาสนิกชน-Buddhists

2.5%

เชน-Jains

2.5%

ยูดาห์-Judaists

0.005 %

อ้างอิงจากSource: 2004 census of India

ประชากรอินเดีย เมื่อเทียบจากสถิติโลก Population 2005-05-08

1. China 1,305,155,753

2. India 1,078,138,586

3. USA 295,324,586

4. Indonesia 241,480,259

5. Brazil 185,842,302

World 6,441,120,825

ประเทศอินเดียติดอันดับประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอันดับที่สอง จำนวน ๑,๐๗๘,๑๓๘,๕๘๖ คน กว่าหนึ่งพันล้านคน เป็นชาวฮินดูร้อยละ ๘๑ ของประชากรทั้งหมด ล่าสุดตอนนี้สถิติของ www.cia.gov/cia/publications/factbook/geos/in.html มีจำนวนประชากร อยู่ที่ 1,080,264,388 (July 2005 est.) จากรายงานความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ของ INTERPRETIVE REPORTS ON ETHNIC, RELIGIOUS AND INTER-NATIONAL CONFLICTS WORLDWIDE ในประเทศนี้ก็มีความขัดแย้งระหว่างศาสนาอยู่เป็นประจำ เหตุการณ์สำคัญเริ่มมาตั้งแต่การแยกประเทศเป็นอินเดีย ปากีสถาน ชาวมุสลิมประกาศสงครามศักดิ์สิทธิ์และเริ่มก่อความไม่สงบมาตั้งแต่ปี 1989 โดยปากีสถานใช้กำลังทหารเข้ายึดครองแคชเมียร์

 

นับตั้งแต่นั้นมาก็มีการกระทำรุนแรงต่อกันระหว่างศาสนิกชนทั้งสองศาสนา มาโดยตลอด ทำให้มีนักคิดมนุษยนิยมบางกลุ่มในประเทศอินเดียได้ก่อตัวขึ้นเป็นกลุ่มRationalist-กลุ่มนักเหตุผลนิยมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาที่นำไปสู่ความรุนแรงระหว่างศาสนาด้วยการคิดใหม่ ทำใหม่ และมีการตั้งกลุ่มรายงานและให้ความช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่อในการขัดแย้งเชิง ศาสนากับการเมือง เช่น ในบางประเทศมีการตัดสินประหารชีวิตบุคคลที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับความเชื่อทางศาสนาของผู้นำเป็นต้น

 

เหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำในกลุ่มศาสนิกชนที่เชื่อมั่นว่า ศรัทธาของตนเองนั้นบริสุทธิ์ที่สุดเหนืออื่นใดและไม่ได้เรียนรู้ความอดกลั้นอดทนต่อความหลากและความแตกต่างทางความคิดและความเชื่อ คนที่ยึดมั่นศรัทธาศาสนาทำนองนี้ จะทนไม่ได้ที่จะต้องอยู่ร่วมกับคนที่มีศาสนทรรศน์ที่ต่างไปจากตน เรียกว่า ไม่มี “religious tolerance” หมู่ชนใด สังคมในประเทศและประชาคมใดที่มีคนคิดแบบนี้ มีโอกาสแปลกแยกเป็นศัตรูกันสูง โอกาสทะเลาะกันง่ายมีมาก โอกาสที่จะเบียดเบียนบีฑาฆ่าฟันกันมีสูง เป็นสังคมที่ขาดความผาสุก ต้องมาคอยนั่งหวาดระแวงกันว่า ใครจะมาราวีใคร จะทำมาหากินก็ไม่สะดวก กลัวถูกลอบทำร้าย กลัวบอมบ์ ในที่สุดก็ต้องหยุดชีวิตปกติที่เคยได้ทำมาหากิน ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว ที่จะได้ไปเรียนหนังสือ ที่จะได้ไปเที่ยวเล่น ย่อมทำไม่ได้ ต้องหลบซ่อนหวาดกลัวอยู่ในที่ปลอดภัย เหมือนชีวิตที่หายใจได้ไม่เต็มปอด ขาดความมั่นคงไปทุกด้าน ในที่สุด ไม่ได้ทำกินนานวันเข้า ก็นำพาชีวิตไปสู่ความยากจน ไม่รู้วิชา สุขภาพเสื่อมโทรมทั้งร่างกาย จิตใจมีแต่ความทุกข์ ชีวิตเสื่อม สังคมเสื่อมถอย หันมาจับอาวุธต่อสู้กันให้ตายกันไปข้างหนึ่ง สังคมมีแต่แม่หม้าย เด็กกำพร้า และคนพิการ มองไปทางไหนก็มีแต่ซากปรักหักพัง คนไร้ที่อยู่อาศัย สารพิษจากอาวุธสงครามกลาดเกลื่อน ไม่รู้จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไร สิ้นหวัง รอคอยความตายที่เยือกเย็น

 

ในภูมิภาคแถบตะวันออกกลาง ถือว่า เป็นแหล่งกำเนิดของสงครามศาสนาฉบับคลาสสิก ที่เรียกว่า สงครามครูเสด-The Crusade War” แม้ในปัจจุบันความขัดแย้งระหว่างศาสนายูดาห์ คริสต์ อิสลาม ก็ยังคงมีอยู่ ทั้งๆที่นับถือศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกัน ข้อขัดแย้งเป็นผลมาจากการตีความหลักศีลวัตรที่แตกต่างกันไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าและเชื้อชาติ และการตีความหลักคำสอนบางเรื่องแตกต่างกันไปอย่างที่เรียกว่า ต้องบาดหมางกัน

 

นักปราชญ์กรีกโสกราตีสและเพลโต เคยให้ปรัชญาความรู้เตือนใจไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า คนเราจะต้องแยกแยะให้ออกว่า อะไร เป็นความรู้ ความศรัทธา ความเชื่อ และความคิดเห็น แต่มนุษย์เราก็มักจะตกไปอยู่ในวังวนของการยึดถือ ยึดมั่น ว่า ความเชื่อถือ ศรัทธาและความคิดเห็นของตนเอง ย่อมถูกต้องกว่าของใครอื่นเสมอ ความขัดแย้งระหว่างสามศาสนานี้ เป็นปัญหาความมั่นคงของโลกมาโดยตลอด แม้ว่า ปัญหาจะแปรรูปเป็น การแก่งแย่งทรัพยากรและดินแดนกันไปแล้วก็ตาม

 

สถิติจำนวนประชากรชาวยิว ชาวคริสต์ และชาวมุสลิม และศาสนาอื่นๆ รวมทั้งผู้ไม่นับถือศาสนาใดๆ ในประชาคมโลก ในขณะนี้ (แผนภาพ-ไม่ได้ใส่มา)

 

การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรศาสนิกชน และการเผยแผ่ศาสนา มีนัยที่น่าสนใจที่เชื่อมโยงไปถึง ความเป็นชนหมู่มากและความเป็นชนหมู่น้อย มนุษย์มีแนวโน้มที่มักจะคิดว่า ใครพวกมากกว่า ย่อมสำคัญกว่า ถ้าคิดอย่างนี้ก็ย่อมนำไปสู่การคิดแบ่งแยกกันเอารัดเอาเปรียบกันแล้ว ความขัดแย้งที่บานปลายย่อมเกิดได้ แต่นั่นไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของสงครามศาสนา

 

 

-สันติภาพกับระหว่างศาสนา

สงครามศาสนา เป็นจุดอ่อนของมนุษยชาติ แม้สงครามนั้นจะเรียกว่า สงครามเพื่อความชอบธรรม เพราะระหว่างทางเลือก ๒ ทางที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสบายใจ คือ สงคราม หรือ สันติภาพ คือ ความรุนแรง หรือ สันติ ทุกฝ่ายต้องฝึกฝนความอดกลั้นต่อกันและเรียนรู้หลักแห่งความปรองดองที่ศาสนาสั่งสอนไว้ ซาลาดิน เป็นแบบฉบับของนักปกครองที่ให้มีการเจรจา เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

 

 

ศาสนา...จึงเป็นกุญแจสำคัญที่สุดที่จะไขเข้าไปสู่ประตูชัยแห่งสันติภาพของมนุษยชาติ

 

จิตวิญญาณแห่งสันติภาพ ต้องได้รับการปลุกให้ตื่นขึ้นและกระทำปฏิบัติบูชา สันติสุข

นำทางศาสนา ต้องร่วมมือกันสนับสนุนสันติภาพ

ผู้นำประชาคม ชุมชน ต้องสนับสนุนสันติภาพ

ชาติมหาอำนาจในโลก ต้องเป็นผู้นำในการกระทำสันติภาพ

ทุกชาติ ทุกศาสนา ต้องไม่เบียดเบียนกันอีกต่อไป.

อะไรคือข้อเท็จจริงของการญิฮาดในอิสลาม?

 

 

1.  ในภาษาอังกฤษ  ได้แปลความหมายคำว่า ญิฮาด กันอย่างแพร่หลายว่า  สงครามศักดิ์สิทธิ์  ทั้งที่อิสลามไม่รู้จักคำว่า "สงครามศักดิ์สิทธิ์"  เพราะว่าอิสลามมีเพียงสงครามที่ถูกต้องตามบทบัญญัติและสงครามที่ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ  และบางครั้งความหมายของคำว่า ญิฮาด ถูกเข้าใจอย่างอคติ  ดังนั้น  การญิฮาด  หมายถึง  การทุ่มเทความพยายาม  ซึ่งใน ณ ที่นี้  ได้แบ่งออกเป็นสองประเภท

 

หนึ่ง  การญิฮาดทางจิตใจ

 

สอง   การญิฮาดที่อยู่ในความหมายของการสู้รบที่ถูกต้องตามบทบัญญัติ

 

เป็นที่ทราบกันดีในหลักของศาสนาอิสลามว่า  การญิฮาดประเภทแรก  ใช้เรียกว่า  การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่กว่า (อัลญิฮาดอัลอักบัร) ที่ถูกวางขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์ทำการต่อสู้กับสภาวะจิตใจอันชั่วร้าย  เอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำของตน  ขัดเกลาจากทุก ๆ คุณลักษณะที่น่าตำหนิ  ขจัดความอิจฉาริษา และความรังเกียจต่อผู้อื่น  ด้วยเหตุดังกล่าวนี้แหละ เขาก็จะเป็นผู้มีคุณสมบัติใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮุวะตะอาลา  สำหรับการญิฮาดประเภทที่สอง  จะใช้เรียกกับการต่อสู้ที่เล็กกว่า (อัลญิฮาดอัลอัศฆ๊อร)  ที่หมายถึง  สงครามที่ถูกต้องตามบทบัญญัติ

 

2. สงครามที่ถูกต้องตามบทบัญญัติในอิสลามหรือการญิฮาดนั้น  คือการทำสงครามเพื่อปกป้องตนเอง  เป้าหมายคือ  เพื่อปกป้องความเป็นศัตรูเท่านั้น  และบรรดาอายะฮ์ต่าง ๆ  ได้ระบุชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้   ดังนั้น  แท้จริงอัลเลาะฮ์ได้ทรงอนุมัติให้บรรดามุสลิมีนทำการสู้รบกับบรรดาศัตรูของพวกเขาที่ทำการล่วงละเมิด ในคำตรัสของพระองค์  ความว่า

 

  أُذِنَ لِلَّذِينَ يُقَاتَلُونَ بِأَنَّهُمْ ظُلِمُوا

 

"ได้รับอนุญาตแก่มวล(มุสลิม) ผู้ถูกรุกราน(ให้ทำการต่อสู้) ทั้งนี้เป็นเพราะพวกเขาถูกฉ้อฉล" (1)

 

 وَقَاتِلُواْ فِي سَبِيلِ اللّهِ الَّذِينَ يُقَاتِلُونَكُمْ وَلاَ تَعْتَدُواْ إِنَّ اللّهَ لاَ يُحِبِّ الْمُعْتَدِينَ

 

"และพวกเจ้าทั้งหลายจงต่อสู้ในทางของอัลเลาะฮ์กับบรรดาผู้ที่ทำการรบกับพวกเจ้า  แต่พวกเจ้าทั้งหลายจงอย่าละเมิด(พวกนั้นด้วยการรุกรานหรือไม่ทำตามสัญญา) แท้จริงอัลเลาะฮ์ไม่รักบรรดาผู้ละเมิด" (2)

 

ดังนี้  ได้ประจักษ์ชัดแก่เราว่า  ทั้งที่อนุญาตให้มีการสู้รบเพื่อปกป้องตนเอง  แต่อัลกุรอานได้ย้ำเตือนถึงเรื่องการละเมิดขอบเขตในสิ่งดังกล่าวที่จะชักนำไปสู่การล่วงละเมิด  ดังนั้น  อัลเลาะฮ์ทรงไม่รักบรรดาผู้ล่วงละเมิด

 

فَمَنِ اعْتَدَى عَلَيْكُمْ فَاعْتَدُواْ عَلَيْهِ بِمِثْلِ مَا اعْتَدَى عَلَيْكُمْ

 

"ดังนั้น  บุคคลใดก็ตามที่ละเมิดพวกเจ้า(ด้วยการรุกรานก่อน) พวกเจ้าก็จง(ตอบโต้การ) ละเมิดของพวกเขาเถิด  ให้เหมือนที่เขาได้ละเมิดพวกเจ้า" (3)

 

อิสลามรังเกียจสงครามและการนองเลือด  ซึ่งนับว่าเป็นอุดมการณ์หลัก  แต่กรณียกเว้นคือการรบเพื่อป้องกันศัตรู

 

كُتِبَ عَلَيْكُمُ الْقِتَالُ وَهُوَ كُرْهٌ لَّكُمْ

 

"การรบได้ถูกบัญญัติพวกเจ้าทั้งหลาย  ทั้ง ๆ สิ่งนั้นเป็นที่รังเกียจสำหรับพวกเจ้า" (4)

 

การเริ่มต้นเป็นศัตรูต่อผู้อื่นนั้น  เป็นสิ่งที่ถูกปฏิเสธและไม่มีหลักการใดในอิสลาม

 

3.  เมื่อการญิฮาดหมายถึงการรบเพื่อป้องกันตนเอง  ดังนั้น  สิ่งดังกล่าวก็ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การสู้รบเท่านั้น  แต่ยังหมายถึงการญิฮาดด้วยทรัพย์สิน , ชีวิต , ความคิด , และไม่ว่าสื่อใด ๆ ก็ตามที่สามารถสนับสนุนการป้องกันศัตรูในทุก ๆ รูปแบบและสภาพการณ์   จุดมุ่งหมาย ก็คือ เพื่อรักษาความสงบสุขและปกป้องสังคมอิสลาม และป้องกันอะกีดะฮ์ที่ให้การศัทธาเชื่อมั่น   ดังนี้  ย่อมเป็นสิทธิโดยชอบธรรมสำหรับทุกชนชาติ  และในยุคปัจจุบัน  การทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศได้ตอกย้ำในสิ่งดังกล่าวอีกด้วย

 

4.  เมื่อศัตรูของบรรดามุสลิมีนมีความปรารถนาที่จะสงบศึกและยุติเป็นรุกรานนั้น  อิสลามได้บัญญัติใช้ให้พวกเขาตอบรับในสิ่งดังกล่าว

 

 وَإِن جَنَحُواْ لِلسَّلْمِ فَاجْنَحْ لَهَا وَتَوَكَّلْ عَلَى اللّهِ

 

"และหากพวกเขามีแนวโน้มที่จะประนีประนอม  เจ้าก็จงโน้มเอียงไปทางนั้นเถิด (ด้วยการทำสัญญาสงบศึก) และจงมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์" (5)

 

และนอกเหนือจากสิ่งดังกล่าว  อิสลามยังเรียกร้องไปสู่การดำเนินชีวิตที่สงบสุขพร้อมกับบุคคลอื่น  สร้างความสัมพันธไมตรีอันดีกับพวกเขาตราบใดที่ไม่มีการละเมิดต่อบรรดามุสลิมีน   ณ ตรงนี้  เราจะพบว่าอัลกุรอานได้ส่งเสริมบรรดามุสลิมีนทำการคบค้าสมาคมกับพวกเขา  ที่อยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม  ความเป็นธรรม และปฏิบัติดีต่อกัน 

 

لَا يَنْهَاكُمُ اللَّهُ عَنِ الَّذِينَ لَمْ يُقَاتِلُوكُمْ فِي الدِّينِ وَلَمْ يُخْرِجُوكُم مِّن دِيَارِكُمْ أَن تَبَرُّوهُمْ وَتُقْسِطُوا إِلَيْهِمْ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُقْسِطِينَ

 

"อัลเลาะฮ์ไม่ห้ามพวกเจ้าที่จะกระทำดีและแสดงความยุติธรรม  กับพวกที่ไม่รบราพวกเจ้าในศาสนาและไม่ขับพวกเจ้าออกจากบ้านเมืองของพวกเจ้า  แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรงรักผู้ที่แสดงความยุติธรรม" (6)

 

ดังนี้  ได้อธิบายแก่เราว่า  เป้าหมายของอิสลามคือการแผ่ความสันติและความปรองดองระหว่างมนุษย์  และมีความเกลื้อกูลระหว่างพวกเขาเพื่อให้เป็นมนุษย์ที่ดี  มีความวาสนา และมั่นคง

 

แต่ ณ ที่นี้  สื่อระหว่างประเทศบางสื่อได้ทำการประโคมข่าวกันว่า  อิสลามเป็นศาสนาที่ยุยงให้เกิดความเป็นศัตรู  ความเลยเถิด  ความมานะทิฐิ  การฆ่า  และก่อการร้าย  ซึ่งเป็นความมุสาอย่างอธรรมที่ไม่มีรากฐานใด ๆ ในคำสอนต่าง ๆ ของอิสลาม  ดังนั้น  ศาสนาอิสลามย่อมตรงข้ามกับสิ่งดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง  เพราะอิสลามเป็นศาสนาแห่งความเมตตาและความสงบสุข

 

-----------------------------------

(1) อัลฮัจญ์ 39

(2) อัลบะกอเราะฮ์ 190

(3) อัลบะกอเราะฮ์ 193

(4) อัลบะกอเราะฮ์ 216

(5) อัลอันฟาล 61

(6) อัลมุมตะฮินะฮ์ 8

 

อ้างอิง จากหนังสือ حقائق إسلامية فى مواجهة حملات التشكيك "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอิสลาม ในการเผชิญต่อการสร้างความสงสัย" ของท่าน ศาสตราจารย์ มะหฺมูด หัมดีย์ ซักซูก หน้า 57 - 60  ตีพิมพ์โดย สภาสูง เกี่ยวกับกิจการอิสลาม  ประเทศอียิปต์  ปี ฮ.ศ. 1422 - ค.ศ. 2001     

 

 

 

บทสรุปของสัญญานความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้การพัฒนาสู่สงครามศาสนา

 

ถามว่าเกิดขึ้นหรือยัง  ตอบว่ามันเริมขึ้นแล้ว แต่ลักษณะและวงจำกัดยังไม่ใหญ่โตแต่สัญลักษณ์ต่างๆยังไม่ชัดเจนยังขาดผู้นำที่เข้มแข็ง  สงครามการต่อสู้ในแนวความคิดที่ประเทศไทยในสามจังหวัด  แปลงสภาพไปเรื่อยๆ แม้แต่สงครามทางความคิดในการฮุกม(ชี้ขาด)ในกรณีที่เกี่ยวข้องในสามจังหวัดภาคใต้ ก็ยังขัดแย้งกัน  ในหมู่มุสลิม ผู้นำ ผู้รู้ทั้งหลาย  แล้วสงครามศาสนาเกิดกับกลุ่มใด  ตอบว่า เป็นแค่ระดับหมู่บ้านครอบครัวแพร่ขยายใหญ่ไปเรื่อยตจามที่เคยนำเสนอ  ว่าสายน้ำที่คล้ายคลึงกันมารวมกัน พวกที่ท่านเหวี่ยงแหและกำหนดให้เค้าเป็นกลุ่มก่อความไม่สงบ  การแตกแยกทางความคิดในมุสลิม  เช่นเรื่องการตายชะฮีด(การตายในหนทางของอัลอฮ)  ก็ยังคลุมเครือเพราะอะไรเพราะยังขาดผู้นำที่ยังไม่ชัดเจน   ได้แต่ตอบว่ามันละเอียดอ่อน  และแนวโน้มหากรัฐบาลไทยยังใช้วิธีการเมืองควบคู่ไปกับการทหาร  การแจกอาวุธในคนไทยที่นับถือพุทธหรือมุสลิมที่มีแนวคิดแตกต่างกัน  ปืนกี่กระบอก  อาวุธกี่ประเภท  คงไม่ต่างอะไรกับอินโดนิเซียมันจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆๆ

 

การมาของอิหม่ามมะห์ดีจุดสิ้นสุดสงครามศาสนา  (สัญญานวันสิ้นโลกใกล้เฃ้ามาทุกทีพวกเรายังรื่นระเริงกันอีกหรือ)