For English, please scoll down.
กรุงเทพฯ ประเทศไทย และกรุงมนิลา ฟิลิปปินส์: มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ(Justice for Peace Foundation- JPF) และสมาพันธ์ผู้สูญหายแห่งเอเซีย(Asian Federation Against Involuntary Disappearances - AFAD) เรียกร้องรัฐบาลไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ(International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance)
กรุงเทพฯ - 30 สิงหาคม 2555: เนื่องในโอกาสวันรำลึกถึงผู้สูญหายสากล มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพและสมาพันธ์ผู้สูญหายแห่งเอเซียขอชื่นชมรัฐบาลไทยการลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา ทั้งมูลนิธิฯและสมาพันธ์ผู้สูญหายฯยังขอแสดงความชื่นชมที่รัฐบาลที่ได้ให้การเยียวยาแก่ผู้ถูกบังคับสูญหายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับแต่ปี 2547 ซึ่งความรับผิดชอบครั้งนี้เป็นเสมือนส่วนหนึ่งในกระบวนการทั้งหมดของรัฐบาลในการรับผิดชอบต่อครอบครัวของเหยื่อรวมถึงสิทธิของการเข้าถึงความจริงและความยุติธรรม
การบังคับบุคคลสูญหายในประเทศไทยมิได้เกิดขึ้นเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี 2554 มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพได้เก็บรวบรวมข้อมูลการบังคับบุคคลให้สูญหาย 40 กรณี ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชน 59 คน จากการวิเคราะห์กรณีปัญหาเหล่านี้ทำให้พบว่า ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อการบังคับบุคคลให้สูญหายมักจะเป็นผู้ชายที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อย อย่างเช่น ชาวมาเลย์หรือชุมชนชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ประมาณ 94% ของผู้เสียหายเป็นผู้ชาย และ 86% เป็นผู้ที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อย มูลนิธิยุติฯพบว่านโยบายของรัฐอย่างน้อยสองประการส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของปัญหาการบังคับบุคคลให้สูญหาย ประการแรกได้แก่ การต่อต้านการก่อความไม่สงบด้วยกำลังทหารในภาคใต้ของไทย และนโยบายการปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลเมื่อปี 2546 มูลนิธิฯพบว่ามีกลุ่มบุคคลอย่างน้อยสี่กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการถูกบังคับให้สูญหายทั่วประเทศไทยอันได้แก่ i) คนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่/ตำรวจ/ทหารและ/หรือคนที่มีความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่เหล่านี้ ii) นักกิจกรรมซึ่งทำงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การเมือง หรือการต่อต้านการทุจริต iii) พยานในคดีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และ iv) แรงงานข้ามชาติ
ในกรณีทั้งหมด สิทธิที่จะได้ทราบความจริง และสิทธิที่จะเข้าถึงความยุติธรรมมักถูกปฏิเสธอย่างเป็นระบบจากรัฐบาลไทย และการที่ประเทศไทยไม่กำหนดให้ “การบังคับบุคคลให้สูญหาย”เป็นความผิดทางอาญากลายเป็นอุปสรรคต่อการฟ้องคดี ปัญหาอื่น ๆ ยังเกิดขึ้นจากหน่วยงานสืบสวนสอบสวนและฟ้องคดีที่ขาดความเป็นอิสระและอ่อนแอ ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการฟ้องคดีอย่างเป็นผลต่อกรณีการบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทยเลย สิทธิที่จะได้ทราบความจริงมักถูกปฏิเสธอย่างเป็นระบบ เนื่องจากหน่วยงานของรัฐพยายามปกปิดความจริง มากกว่าจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการบังคับบุคคลให้สูญหาย อีกทั้งการให้การเยียวยาเหยื่อของการบังคับสูญหายในประเทศไทยก็ยังคงถูกจำกัดเพียงบางกรณี
อังคณา นีละไพจิตร กล่าวว่า “นับเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้รับการปกป้องจากการรับผิดชอบต่อการกระทำความผิด โดยที่แทบจะไม่เคยมีเจ้าหน้าที่รัฐคนใดต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น ... สิ่งนี้ทำให้ครอบครัวของผู้สูญหาย รวมทั้งครอบครัวของดิฉันเองไม่สามารถเข้าถึงสิทธิการรับทราบความจริงและความยุติธรรมในกรณีคนในครอบครัวของเรา”
แมรี่ ไอรีน ดี. บาคาลโซ, เลขาธิการของสมาพันธ์ผู้สูญหายแห่งเอเชีย ให้ความเห็นว่า “การลงนามในอนุสัญญาฯ นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประเทศในภูมิภาคอาเซียน และการให้สัตยาบัน รวมทั้งการให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการแห่งด้านการต่อต้านการบังคับบุคคลสูญหายแห่งสหประชาชาติจะเป็นก้าวที่สำคัญในการเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งจะเป็นตัวอย่างให้แก่ประเทศในภูมิภาคได้ปฏิบัติตาม”
สมาพันธ์ผู้สูญหายแห่งเอเซีย และมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทยเนื่องในวันรำลึกถึงผู้สูญหายสากล ดังนี้
1. รัฐบาลควรให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ โดยถูกบังคับ(International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance)
2. รัฐบาลควรกำหนดให้การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นความผิดทางอาญากำหนดกลไกสืบสวนสอบสวนที่เหมาะสมและประกันสิทธิอย่างเต็มที่ของผู้เสียหายและญาติ
3. ควรมีการปรับปรุงขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนและการฟ้องคดี รวมทั้งขั้นตอนการแจ้งความ การสืบสวนสอบสวนในเบื้องต้น การส่งต่อคดีอย่างรวดเร็วให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ บทบาทของผู้ชำนาญการด้านนิติเวชที่เป็นอิสระ การกำหนดให้มีการคุ้มครองพยาน และการเคารพสิทธิของญาติ
4. หากจำเป็นควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการไต่สวนสำหรับปัญหาการบังคับบุคคลให้สูญหายและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ(i)การสูญหายอย่างต่อเนื่องของผู้ที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติด(ii) การละเมิดสิทธิมนุษยชนในค่ายทหารพรานที่จังหวัดทางภาคเหนือเมื่อปี2546และ (iii)การสังหารและการหายตัวไปของนักกิจกรรม
5. ควรมีการกำหนดกลไกชดเชยระดับประเทศ แต่ระหว่างรอให้มีกลไกดังกล่าว ควรดูแลให้ญาติของผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายได้รับค่าชดเชยเป็นการชั่วคราว
มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2549 เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมเพื่อยุติการลอยนวลผู้กระทำผิดในประเทศไทย
สมาพันธ์ผู้สูญหายแห่งเอเซีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2541 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นระหว่างองค์กรที่ทำงานเรื่องการบังคับสูญหายในภูมิภาคเอเซีย และเพื่อพัฒนาเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งในการค้นหาความจริง ความยุติธรรม และเยียวยาความทรงจำแห่งการบังคับสูญหาย
ลงนามโดย
นางอังคณา นีละไพจิตร
ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
นายมุกกิยันโต
ประธานสมาพันธ์ผู้สูญหายแห่งเอเชีย
Bangkok, Thailand and Manila, Philippines: JPF and AFAD call on the government to ensure remedies for victims of Enforced Disappearances and ratify the UN Convention for the Protection of all Persons from Enforced Disappearance
Bangkok, 30 August, 2012 : On the occasion of International Day of the Disappeared, the Justice for Peace Foundation (JPF) and the Asian Federation Against Involuntary Disappearances (AFAD) commend the Thai government for signing the International Convention for the Protection of all Persons from Enforced Disappearance in January this year. Both the JPF and the AFAD further express appreciation to the Thai government for committing to provide reparation to victims of enforced disappearances by the end of this year to victims from the southern boarding provinces from 2004. This commitment is seen as an integral part in the whole process of the government’s commitment to respond to the victims’ families’ need for truth and justice.
Enforced disappearance is not only a problem in Southern Thailand. In the year 2011, JPF has documented40 incidents of enforced disappearances involving 59 people. 12 people were from northern Thailand, five from the west, seven from Isaan (north east) and 33 from the Deep south. JPF found out that men from minority ethnic groups, such as Malayu, Hill Tribe communities or migrant workers are disproportionately more vulnerable to enforced disappearances. In the cases documented by JPF, 94% of the victims were male, 86% of whom -are from ethnic minorities. JPF believes that two government policies directly contributed to increasing enforced disappearances in Thailand such as the highly militarized counter-insurgency approach adopted in southern Thailand by various governments and the War on Narcotic Drugs beginning in 2003. In addition to these two policies, JPF concludes from its investigation that particular categories of people are vulnerable to enforced disappearances throughout Thailand. These are: (i) people with close relationships with officials and /or come into conflict with officials; (ii) activists engaged in human rights, political or corruption activism; (iii) witnesses of crimes or human rights violations; and (iv) migrants.
In all of the cases, the right to truth and the right to justice for enforced disappearances remain largely denied by the state in Thailand. The failure to define enforced disappearance as a crime in Thailand blocks prosecutions. Compounding this are weak investigatory and prosecutorial bodies that lack independence. The right to truth is systematically denied as government agencies seek to hide, rather than reveal the truth about enforced disappearances. Provision of reparations to relatives of the disappearances has been extremely limited in Thailand.
“Decades of impunity have created a context in which administrative and security officials know that their illegal actions are condoned by the state and that the likelihood of legal action against them is extremely low”, said Angkhana Neelapaijit, President of JPF. “Families, including myself, have even been denied the right to know the truth and justice about our loved ones”.
“The government of Thailand is to be commended for its act of signing the Convention, which is indeed, a good example of the Thai government to other ASEAN countries. Its ratification of the treaty and its recognition of the competence of the UN Committee Against Enforced Disappearances will be a breakthrough in Southeast Asia, making Thailand to be the first Southeast Asian country to have acceded to the treaty, thus making itself a model for other countries in the region to imitate.“ said Mary Aileen D. Bacalso, AFAD Secretary-General.
JPF and AFAD today, made the following recommendations:
- The Government to ratify the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearances and to recognize the competence of the UN Committee -Against Enforced Disappearances.
- The Government to adopt a piece of legislation that criminalizes the act of enforced -disappearance, creates appropriate investigation mechanisms and ensures the full rights of the victims and their relatives.
- The Government to institute improvement of investigation and prosecution procedures, including immediate filing of first information reports, immediate investigation, rapid referral to Department of Special Investigation (DSI), involvement of independent forensic experts, provision of witness protection, and respect for the rights of the relatives.
- Where necessary commissions of inquiry be established into particular categories of enforced disappearances and other human rights violations such as (i) ongoing disappearances related to suspicion of involvement with drugs; (ii) human rights violations in northern Thailand in 2003; and(iii) killings and disappearances of activists.
- A national level reparations mechanism should be established. Until this is established in all cases of enforced disappearance relatives should receive interim compensation.
The Justice for Peace Foundation (JPF) was established in June 2006 to protect human rights, promote access to justice and to end impunity in Thailand.
AFAD was established on 4 June 1998 to forge solidarity among organizations working on the issue of enforced disappearances in Asia and to effect a strong impact in the search for truth, justice, redress and the reconstruction of the historical memory of the disappeared.
Signed and authenticated by:
ANGKHANA NEELAPHAIJIT
President, Justice for Peace Foundation
MUGIYANTO
Chairperson, AFAD