เผยแพร่วันที่ 7 กันยายน 2555
คณะกรรมการยูเอ็นด้านการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
เสนอให้รัฐประเมินความจำเป็นและทบทวนกฎหมายพิเศษในพื้นที่ จชต.
และเรียกร้องให้ กอรมน.ทำรายงานเสนอยูเอ็นในคราวต่อไป
ในรายงานข้อสังเกตเชิงสรุปของคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบของการประชุมทบทวนรายงานของประเทศสมาชิกครั้งที่81ระหว่างวันที่6-31สิงหาคม พ.ศ.2555 ที่กรุงเจนีวา รายงานข้อสังเกตุเชิงสรุปต่อประเทศไทยระบุว่า “แม้ว่ารัฐภาคีจะนำมาตรการต่าง ๆ มาใช้ อย่างเช่นการเผยแพร่คู่มือสิทธิมนุษยชนและการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในบางพื้นที่คณะกรรมการยังกังวลอย่างยิ่งต่อการเลือกปฏิบัติอันเป็นผลมาจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนใต้รวมทั้งรายงานว่ามีการตรวจลักษณะทางชาติพันธุ์และจับกุมบุคคลโดยอาศัยการคัดกรองจากลักษณะทางชาติพันธุ์ (racial profiling) รวมทั้งรายงานว่ามีการซ้อมทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นกับคนไทยเชื้อสายมลายูคณะกรรมการกังวลต่อไปถึงความเสี่ยงของการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงอันเป็นผลมาจากการบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้รวมทั้งการขาดกลไกกำกับดูแลในการปฏิบัติ นอกจากการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในการปราบปรามการก่อความไม่สงบแล้ว” คณะกรรมการเรียกร้องให้รัฐ (ก) ประเมินความจำเป็นของกฎหมายพิเศษและกำหนดให้มีกลไกอิสระที่กำกับดูแลการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง (ข) ทบทวนกฎหมายพิเศษโดยมีเจตจำนงเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศโดยเฉพาะกฎบัตรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการซ้อมทรมาน และ(ค)ให้สอบสวนข้อกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ และให้นำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษด้วย
ข้อเสนอในเกี่ยวกับความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้รายงานในย่อหน้าที่20และ21ในรายงานข้อสังเกตเชิงสรุปของคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบที่เผยแพร่ในเวปไซด์ขององค์การสหประชาชาติที่http://www2.ohchr.org/english/bodies/cerd/docs/CERD.C.THA.CO.1-3.pdf ทั้งนี้ทางคณะกรรมการขอให้รัฐภาคีแจ้งในรายงานตามวาระฉบับต่อไปเกี่ยวกับผลกระทบของยุทธศาสตร์ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) นำมาใช้ รวมทั้งแผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2552 – 2555 ที่ครอบคลุมการหาแนวทางออกที่เหมาะสมสำหรับความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
นอกจากนี้คณะกรรมการกังวลต่อรายงานที่ว่าผู้หญิงเชื้อสายมลายูกำลังเผชิญการเลือกปฏิบัติซ้ำซ้อนทั้งในพื้นที่การเมืองและชีวิตทางสังคม ว่าเมือคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำของชาติพันธุ์และศาสนาในบางสถานการณ์และเมื่อพิจารณาถึงข้อเสนอแนะทั่วไปที่ 25 (2543) ของคณะกรรมการ คณะกรรมการเรียกร้องให้รัฐภาคีให้ดำเนินมาตรการที่จำเป็นรวมทั้งมาตรการด้านกฎหมายเพื่อประกันให้มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและไม่ให้ปฏิบัติอย่างแยกแยะต่อผู้หญิงเชื้อสายมลายูทั้งนี้ให้สอดคล้องกับอนุสัญญา