บูราฮานูดิน อุเซ็ง แปล-เรียบเรียง
ฮาดียะฮฺ ทาจิก (Hadia Tajik) มุสลีมะฮฺวัย 29 ปีเชื้อสาย ปากีสถาน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway) นับเป็นรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดและเป็นมุสลิมคนแรกในคณะรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2555 สำนักข่าว Ahram Online รายงานข่าวว่า นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศนอร์เวย์ ฯพณฯ เจนส์ สโตลเตนเบิร์ก ( Jans Stoltenberg ) นายกรัฐมนตรี นอร์เวย์แต่งตั้ง ฮาดียะฮฺ ทาจิก (Hadia Tajik) หญิงมุสลิม วัย 29 ปีเชื้อสาย ปากีสถาน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ราชอาณาจักรนอร์เวย์ นับว่า ฮาดียะฮฺ ทาจิกเป็นรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในคณะรัฐมนตรี ประเทศนอร์เวย์และเป็นมุสลิมคนแรกในคณะรัฐมนตรีประเทศนอรเวย์
ฮาดียะฮฺ ทาจิก ผู้มีเชื้อสายปากีสถาน ได้แถลงว่า เธอมีนโยบายที่มุ่งจะเน้นหนักในเรื่องของ วัฒนธรรมที่หลากหลาย (Focus on cultural diversity) ที่เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวนอร์เวย์ และจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมของชาวนอร์เวย์ให้เป็นภาพรวมทั้งหมด นโยบายและแผนการดำเนินการ มุ่งให้การคุ้มครอง ปกป้องสิทธิของชนกลุ่มน้อย วัฒนธรรมและเชื้อชาติ รวมถึงสิทธิของมุสลิมในการคลุมฮิญาบในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นประเด็นที่ปรากฏทั่วไป ขณะเดียวกันก็จะไม่เป็นการต่อต้าน กลุ่มปีกขวาจัดที่คัดค้าน การเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้ และคำนึงถึงการขยายในความหลากหลายของสังคมที่ท้าทายวัฒนธรรมชาวยุโรป
เหตุการณ์เมื่อ เดือนกรกฎาคม 2554 เมื่อนายแอนเดอร์ส เบรยวิค (Anders Brelvik ) หนุ่มหัวเอียงขวาจัดตกขอบ วัย 33 ปีผู้อ้างต่อศาลว่าตนเป็นคนสุภาพ ก่อเหตุกราดยิงและขว้างระเบิดฆ่าหมู่เยาวชนบนเกาะ อูเทยา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 77 ราย บาดเจ็บกว่า 240 คน ที่ค่ายฤดูร้อน ซึ่งจัดโดย สหพันธ์กรรมกรเยาวชน ( Worker Youth League (AUF) ชองพรรคกรรมกร (The Labour Party) หลังจากได้ไปกราดยิงอาคารรัฐบาลนอร์เวย์ นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงและเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์นอร์เวย์นับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
ในระหว่างการสอบสวนพิจารณาคดี ของตำรวจนอร์เวย์ นายเบรยวิค .ให้การว่า เขาเป็นผู้ก่อเหตุดังกล่าว และกล่าวว่า เขาไม่พอใจในนโยบายพหุวัฒนธรรม (Multi-Cultural) ซึ่งทำร้ายประเทศนอร์เวย์ และกล่าวว่า อิสลามเป็นศัตรูของเขา และกล่าวว่าการก่อเหตุดังกล่าวเพื่อขับไล่ชาวมุสลิมออกจากประเทศของเขา โดยอ้างว่าตนเองเป็นอัศวินผู้รักชาติ ผู้ปกป้องนอร์เวย์จากการรุกรานของมุสลิม อันเป็นผลจากนโยบายการเปิดรับผู้อพยพของรัฐบาลพรรคแรงงานและกล่าวโทษสื่อของนอร์เวย์ และยุโรป ตรวจสอบ เข้มงวดพวกคลั่งชาติอย่างตัวเขาและกีดกันพ้นจากประชาธิปไตย รวมทั้งทำข่าวไม่เป็นธรรมต่อพรรค “Progress Party” ที่ชูนโยบายประชานิยม และต่อต้านผู้อพยพ ช่วงก่อนการเลือกตั้งปี 2552 ทำให้ต้องก่อเหตุ” นายเบรยวิค ระบุว่า “เขาต้องการกำจัดคณะรัฐมนตรีนอร์เวย์ทั้งคณะ และเหยื่อบนเกาะ อูเทยาทั้ง 569 คน และต้องการฆ่าตัดคออดีตนายกรัฐมนตรี นางโกร ฮาเล็ม บรุนต์แลนด์ (Gro Harlem Brundtland) และทำเป็นคลิป วีดีโอ โพสต์ลงบนอินเตอร์เน็ท คล้ายฝีมือ อัลกออิดะฮฺ แต่นางบรุนต์แลนด์ออกจากเกาะอูเทยา ก่อน (ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์ ประจำวันที่ 11 ตุลาคม 2555 )
ผลกระทบจากกรณีดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับหลักขันติธรรม ความอดทน อดกลั้น และการยอมรับในการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนอร์เวย์ นายเจนส์ สโตลเตนเบิร์ก นายกรัฐมนตรี นอร์เวย์กล่าวในพิธีวางพวงมาลารำลึกในกรุงออสโล เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีเหตุวางระเบิดอาคารที่ทำการของรัฐ และการกราดยิงสังหารหมู่ที่เกาะ อูเทยา ว่า“กระสุนและระเบิดที่นายเบรยวิก ใช้ก่อเหตุ ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะทำลายชีวิตผู้บริสุทธิ์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องการทำลาย ความเปิดกว้างทางวัฒนธรรมและหลักความอดทน อดกลั้น ขันติธรรมตามระบอบประชาธิปไตยของนอร์เวย์ แต่ความตั้งใจของนายเบรยวิกไม่สามารถบรรลุผลได้”เนื่องจากเหตุสังหารหมู่ดังกล่าวยิ่งทำให้ประชาชนนอร์เวย์ตระหนักถึงตวามสำคัญการยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ( voice Tv 22 กรกฎาคม, 2555)
ประเทศนอร์เวย์ มีประชากรประมาณ 4.9 ล้านเศษ มีเมืองหลวงชื่อ กรุงออสโลว มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับประเทศไทย มีพระมหากษัตริย์ปัจจุบัน สมเด็จพระราชาธิบดี เฮอรัลด์ที่ 5 (His Majsesty King Harald V)
การนับถือศาสนาในนอร์เวย์ คริสต์นิกาย Church of Norway 82.7 % คริสต์นิกายอื่นๆ 4.8 % ศาสนาอิสลาม 1.7 % อื่นๆ 10.8 %
ระบบรัฐสภา ใช้ระบบสภาเดียว คือ สภาสตอร์ทติงเกท (Strotinget) สภาชิกสภาทั้งหมด 169 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจากประชาชนโดยตรง มีวาระ คราวละ 4 ปี คณะรัฐมนตรี ได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อ 14 กันยายน 2552 การจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคร่วมรัฐบาล กลุ่มพันธมิตรสังคมนิยม (Red-Green Alliance) ประกอบด้วย พรรค Labour พรรค Socialist Left พรรค Centre ครอง 86 ที่นั่ง
พรรคฝ่ายค้าน อนุรักษ์นิยม (Non Socialst) ประกอบด้วย พรรค Conservative พรรค Christian Democratic พรรค Liberal ’ 83 ที่นั่ง
คณะรัฐมนตรีนอร์เวย์ชุดปัจจุบันนำโดย นายเจนส์ สโตลเตนเบิร์ก นายกรัฐมนตรีประกอบด้วยรัฐมนตรีชาย 10 คน และรัฐมนตรีหญิง 10 คน จากทุกภูมิภาคของนอร์เวย์ ซึ่งไม่เคยปรากฏว่ามีจำนวนรัฐมนตรีหญิงในคณะรัฐมนตรีมากเช่นนี้มาก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลนอร์เวย์ชุดปัจจุบันมีนโยบายต่อต้านการแบ่งแยกทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเพศ แนวโน้มทางเพศ ศาสนา หรือชาติพันธุ์
นโยบายให้ความสนใจเป็นอย่างมากต่อกระบวนการประชาธิปไตย กระบวนการเจรจาสันติภาพ ให้ความสำคัญมากในเรื่องสิทธิมนุษยชนและความมั่นคงของมนุษย์ โดยชาวนอร์เวย์มีใจเปิดกว้างสำหรับคนเชื้อชาติอื่น และพร้อมให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ด้อยโอกาสกว่า ปัจจุบันมีชาวต่างประเทศอยู่ในนอร์เวย์ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน
-
เชื้อชาติประชากร/คนร้อยละนอร์เวย์4.306.88686-2สวีเดน78.8301.6ขั้วโลก65.2941.3เดนมาร์ค53.6301.0เยอร์มัน40.8470.8อังกฤษ36.3120.7ปากีสถาน35.7220.7
ที่มา :วิกิพิเดีย
ฮาดียะฮฺ ทาจิก เกิดที่เมือง สเตรนด์ (Strand) ประเทศ นอร์เวย์ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม1983 (พ.ศ.2526) สำเร็จการศึกษา สาขาวิชา สิทธิมนุษยชน จากมหาวิทยาลัย คิงส์ตัน ประเทศอังกฤษและได้รับปริญญาตรีสาขาวิชาการสื่อสารมวลชน และปริญญาโท สาขาวิขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยออสโลว
ฮาดียะฮฺ ทาจิก เป็นนักกิจกรรม ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเยาว์ เคลื่อนไหวในกลุ่มกรรมกรหนุ่มสาวตั้งแต่ปี พ.ศ..2542 –ปี พ.ศ.2546 เช้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมระหว่างปี 2พ.ศ.2551-2552 ในช่วงที่ตำรวจสตรีมุสลิมนอร์เวย์เรียกร้องสิทธิในการสวมฮิญาบในที่ทำงาน การตัดสินใจถูกระงับเนื่องจากกระแสต่อต้าน การวิพากษ์วิจารณ์จากพรรคอนุรักษ์นิยมรุนแรงมาก
มัสยิด Bait-un-Nasr_mosque เมือง ออสโลว นอร์เวย์
ปี พ.ศ.2552 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ในนามพรรคแรงงาน เขตเลือกตั้งออสโลว และต่อมาได้รับการจัดอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 6 และในที่สุดได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง วัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์