วันเด็กแห่งชาติทุกปีจะมีความคักคัก แม้จะบ้านเมืองจะเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ แต่ไม่ได้ตึงเครียดขนาดจะไม่มีงานรื่นเริงเลย วันเด็กปีนี้ จะตรงกับวันที่ 12 มกราคม 2556 ด้วยคำขวัญที่ ฯพณฯนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในสมัยนั้น และปีนี้ เด็กๆได้รับพรวันของพวกเขา จากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกและคนปัจจุบัน คือ
“รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน”
แต่ไม่ใช่เด็กในพื้นที่สงครามทั้งเปิดหน้าและปิดหน้าอย่างจังหวัดชายแดนใต้ ท่ามกลางข้อพิพาทที่จัดการคู่ต่อสู้ด้วยอาวุธของคู่ขัดแย้งหลัก เด็กที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับความรุนแรงที่ชายแดนใต้ ถูกสังหาร บาดเจ็บ พิการ ไปพร้อมกับผู้ใหญ่ ทั้งๆที่ไม่ใช่เป้าหมายหลักของคู่ต่อสู้
เมื่อย้อนกลับไปดูสถิติเหตุที่เกิดกระทบร่างกายและชีวิตของแด็ก ที่แยกเฉพาะข้อมูลเหตุการณ์ รวบรวมและรายงานโดยศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ระบุสถิติเหตุความไม่สงบที่เกิดในระหว่าง ปี 2547 – 2555 มีข้อมูลเด็กที่มีอายุตำกว่า 15 ปีได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตไปทั้งหมด 397 ราย โดยจำแนกเป็นบาดเจ็บ 345 ราย เสียชีวิต 52 ราย โดยปี 2550 มียอดพุ่งทั้งสองกรณีสูงที่สุด คือ บาดเจ็บ 56 ราย และเสียชีวิต 23 ราย
รายชื่อเด็กที่เสียชีวิตในระหว่างปี 2555
ส่วนสถิติที่ชี้เฉพาะ ปี 2555 ที่หยุดเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 นั้น มีความรุนแรงกระทบโดยต่อเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ดังนี้ กรณีได้รับบาดเจ็บ 48 รายและเสียชีวิต 5 ราย
เฉพาะในรอบปี 2555 เหตุการณ์ที่สังหารเด็กในสามจังหวัดทั้ง 5 ราย มีดังนี้
-
วันที่ 19 เมษายน 2555 อ.กรงปินัง จ.ยะลานายอิสมาแอ แปเตาะ อายุ 17 ปี
-
วันที่ 31 ตุลาคม 2555 เหตุยิงนายดอรอแม สาอุ เหตุเกิดบนถนนสายชนบท ท้องที่บ้านบูเกะบือราแง หมู่ 3 ต.อาซ่อง อ.รามัน จ.ยะลา เสียชีวิตพร้อมลูกชาย ชื่อด.ช.อัคมาล สะอุ อายุ 11 ปี
-
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 กรณีเหตุระเบิดสองจุดกลางเมืองรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย หนึ่งในนั้นคือ ด.ญ.ศศิกานต์ สูเริง อายุ 3 ปี
-
วันที่ 11 ธันวาคม 2555 กรณีกราดยิงร้านน้ำชา ที่ตันหยงลิมอ เลขที่ 60/2 บ้านดามาบูเวาะ หมู่ 1 ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เด็กหญิงอินฟานี สาเมาะอายุเพียง 11 เดือนเท่านั้น เด็กที่เสียชีวิตที่อายุน้อยที่สุด
-
ยังหารายชื่อไม่ได้
สถิตินี้ยังไม่ได้รวมถึงที่ยังอยู่ในระหว่างอายุ 15-18 ปี ซึ่งตามนิยามของ Convention on the Rights of the Child (CRC) หรือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ภายใต้กลไกสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human rights mechanism) ระบุไว้ว่า มนุษย์ทุกคนที่อายุต่ำกว่าสิบแปดปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้นตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่เด็กนั้น
ประเทศไทยได้ลงนามเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กนี้ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 และอนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535
แต่ 9 ปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง แต่มีเด็กที่อยู่ในพื้นที่ความขัดแย้งและใช้ความรุนแรงด้วยอาวุธ ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อที่ 6 ระบุไว้ว่า 1. รัฐภาคียอมรับว่า เด็กทุกคนมีสิทธิติดตัวที่จะมีชีวิต 2. รัฐภาคีจะประกันอย่างเต็มที่เท่าที่จะทาได้ ให้มีการอยู่รอด และการพัฒนาของเด็ก
“วันเด็กชายแดนใต้” ต่างจากที่อื่น
จึงเป็นที่มาของการ action ในวันเด็กปีนี้ของภาคประชาสังคมบางกลุ่มที่เรียกร้องให้ป้องกันการสังหารเด็ก ให้เท่ากับ 0 กล่าวคือ ต้องไม่มีเด็กที่ได้รับผลกระทบทางร่างกายและชีวิตอีก เริ่มตั้งแต่ มกราคม 2556 เป็นต้นไป ภายใต้โครงการ Children voice for peace 2013
กลุ่มภาคประชาสังคมดังกล่าว ประกอบด้วย กลุ่มด้วยใจ สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ(Deep Peace) สำนักพิมพ์โพรงกระต่าย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม HAP ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) และภาคีร่วม เลือกวันที่ พุธ ที่ 9 มกราคม 2556
นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ หัวหน้ากลุ่มด้วยใจ เป็นผู้ประสานงานในกิจกรรมครั้งนี้ ได้ให้เหตุผลคร่าวๆว่า เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าว DSJ ว่า กิจกรรมวันที่ 9 เป็นกิจกรรมเริ่มต้น ที่จะชวนสังคมได้คบคิดว่า ทุกวันนี้สถานการณ์เด็กในชายแดนใต้ แย่ลงมาก เด็กกลายเป็นเหยื่อความรุนแรง สังคมจะร่วมกันป้องกันอย่างไร งานดังกล่าว ไม่ได้เชิญแค่เด็กมาร่วมสนุกภายในงาน แต่ยังมีผู้ใหญ่ทางสังคมต้องมาถกเถียงเพื่อวางมาตรการร่วมกันด้วย
ผู้ที่ถูกรับเชิญในงานวันนั้น ประกอบด้วย เด็กในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้และสี่อำเภอในจังหวัดสงขลา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการรักษาความมั่นคง ปลอดภัย อาทิเช่น ทหาร ตำรวจ ศอบต ฝ่ายปกครอง NGO สื่อ และ ครู อุซตาส ประชาชน และผู้นำศาสนา ซึ่งล้วนมีความสำคัญในการร่างนโยบายเพื่อป้องกันการกระทำที่รุนแรงต่อเด็ก โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบ ที่เด็กไม่ใช่คู่ขัดแย้งของฝ่ายใดแน่นอน
โดยประเด็นที่น่าสนใจ สำหรับแขกผู้ใหญ่ที่ต้องมาคุยเพื่อหาแนวทางร่วมในการผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามและวางนโยบายเพื่อปกป้องสิทธิเด็กในครั้งนี้คือ
เวลา 10:15-12:00 ความท้าทายและอุปสรรคในการปกป้องคุ้มครองเด็กภายใต้สถานการณ์ความรุนแรง เวลา 13:30-15:00 กลไกการปกป้องเด็กจากบ้านถึงโรงเรียน และเวลา15:15-16:00 แถลงการณ์ร่วม “ขอตัวเลขเด็กเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นศูนย์ในปี 2556”
“อายุของเด็กที่ถูกสังหารจากเหตุการณ์ลดน้อยลงทุกวัน ล่าสุดจากเหตุการณ์กราดยิงร้านน้ำชาที่ตันหยงลิมอ อายุเพียง 11 เดือน และเคยมีเหตุระเบิดรถไฟที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ที่เป็นเหตุให้มีเด็ก 3 ขวบเสียชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง...เกมีสิทธิที่จะมีชีวิตบนโลกใบนี้ ใครก็ไม่สามารถละเมิดสิทธิข้อนี้ของเด็กได้” นางสาวอัญชนา แสดงความกังวล
“กิจกรรมต่อไปคือการขับเคลื่อนเชิงป้องกัน รัฐต้องยอมรับในหลักการที่ได้เสนอจากภาคประชาสังคม และต้องมีปรับเชิงนโยบายและปฏิบัติเพื่อเป็นพันธสัญญา ว่าภาคประชาสังคมและรัฐจะเดินร่วมกันในเรื่องนี้อย่างไร เป็นการสร้างเจตจำนงร่วม แล้วขยับต่อและหาแนวทางเพื่อการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
หลังจากนี้จะเป็นการหาแนวร่วมทางสังคม ที่พร้อมจะร่วมขับเคลื่อนประเด็นนี้ มาทำงานด้วยกัน ให้ขยายไปทุกระดับของสังคม อาจจะมีการจัดทีม warning เฝ้าระวังสถานการณ์เด็กโดยเฉพาะ หากเป็นกรณีที่เป็นข้อพิพาทกับหน่วยงานหรือองค์กร จะเป็นการส่งหนังสือเตือนเพื่อให้มีความระมัดระวังมากกว่านี้ หน่วยงานละเมิดสิทธิใดของเด็กบ้าง หากเป็นเรื่องของเหตุการณ์ที่เกิดกับเด็ก จะเป็นการส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องมีการทำงานต่อเรื่องนั้นอย่างชัดเจน และจะมีการประเมินสถานการณ์สิทธิของเด็กทุกๆ 3 เดือน เพื่อการเขียนรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ”
“สังคมควรเป็นขบวนใหญ่ในการปกป้องเด็กเหล่านี้ ให้มีความปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น” ผู้ประสานงานโครงการอธิบายความคาดหวังต่อโครงการนี้
งานดังกล่าว ไม่ได้มีไฮท์ไลท์แค่วงผู้ใหญ่ แต่ยังมีสีสันจากกิจกรรมเด็กนอกห้อง ซึ่งเป็นกิจกรรมout door ที่เป็นพื้นที่สนุกสนานของเด็กๆ เฉกเช่นงานวันเด็กทั่วๆไป แต่ความน่าสนใจของเวทีเด็ก คือ
10:30 – 12:00 เด็กเล่าเรื่อง /ละครเด็ก 13:30 – 15:00 เสวนาโดยเด็ก เรื่อง “เมืองสันติภาพที่อยากเห็น”15:00 – 15:30 อ่านแถลงการณ์ร่วมขอตัวเลขเด็กเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นศูนย์ในปี 2556 และถ่ายภาพหมู่ “Children voices for peace “เพื่อใช้ในการรณรงค์ต่อไป
“ต้องทำการสื่อสารกับคนทุกกลุ่มในสังคมให้มีความตระหนักร่วมกัน สื่อสารถึงกลุ่มที่เห็นต่างจากสังคม กลุ่มคนที่มีอำนาจตัดสินใจ รวมถึงกลุ่มคนที่ไม่ค่อยได้รับรู้ปัญหาเด็กเองก็ตาม เพราะเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม สื่อสารทั้งระดับบนและล่าง และหาจุดร่วมของการทำงานเพื่อให้เป็นปึกแผ่นให้ได้” นางสาวอัญชนา ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ในการสัมภาษณ์